การจัดการการสื่อสารเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมคลองแสนแสบกับการรับรู้ของประชาชนชุมชนมัสยิดกมาลุลอิสลาม
Publisher
Issued Date
2014
Issued Date (B.E.)
2557
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
253 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
ba187855
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ธัญวรรณ แก้วชะฎา (2014). การจัดการการสื่อสารเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมคลองแสนแสบกับการรับรู้ของประชาชนชุมชนมัสยิดกมาลุลอิสลาม. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3509.
Title
การจัดการการสื่อสารเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมคลองแสนแสบกับการรับรู้ของประชาชนชุมชนมัสยิดกมาลุลอิสลาม
Alternative Title(s)
Communication management for eliminating environmental problem in Khlong Saen Saep and perceiving's masjid Kamalulislam community
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการการสื่อสารเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมคลองแสนแสบ การรับรู้และทัศนคติของประชาชนชุมชนมัสยิด กมาลุลอิสลามต่อการจัดการการสื่อสารเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมคลองแสนแสบ รวมทั้งเปรียบเทียบและหาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการจัดการการสื่อสารเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของคนในชุมชนที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน
การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับอิหม่ามประจำมัสยิดกมาลุลอิสลาม ผู้ช่วยอิหม่าม ตลอดจนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกลุ่มกับเยาวชนในชุมชนที่อยู่ในฐานะผู้รับสาร จำนวน 15 คน สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 200 ชุด เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้และทัศนคติของประชาชนชุมชนมัสยิด กมาลุลอิสลามเกี่ยวกับการจัดการการสื่อสารเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมคลองแสนแสบ
ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า ชุมชนมีผู้นำที่เข้มแข็ง มีความรู้ความสามารถ และมีทักษะการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจคนในชุมชนโดยยึดการนำหลักศาสนาอิสลามมาสอนควบคู่กับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบกับมีการเลือกใช้สื่อที่ผสมผสาน ไม่ว่าจะเป็น สื่อบุคคล สื่อกระจายเสียง สื่อเฉพาะกิจ สื่อพื้นบ้าน สื่ออินเทอร์เน็ต และสื่อมวลชน แสดงให้เห็นว่า ชุมชนมีการใช้สื่อแบบบูรณาการ ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมแรงกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น ส่วนด้านทัศนคติ ความรู้และพฤติกรรมของผู้รับสาร พบว่า ผลจากการใช้สื่อที่หลากหลายก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านทัศนคติ อีกทั้งทำให้คนในชุมชนเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ให้ความร่วมมือในการฟื้นฟูและพัฒนาสภาพแวดล้อมของชุมชนมากยิ่งขึ้น
ผลการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่า ส่วนใหญ่ประชาชนมีการรับรู้สูงมากเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมคลองแสนแสบ และในส่วนของทัศนคติ พบว่า ประชาชนมีทัศนคติที่เห็นด้วยในระดับมากเกี่ยวกับการจัดการการสื่อสารเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชน ทั้งนี้ จากผลการศึกษา ทำให้ทราบว่า ชุมชนมัสยิดกมาลุลอิสลามประสบความสำเร็จและเป็นชุมชนต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อมได้ด้วยการบริหารจัดการการสื่อสารของชุมชนที่เหมาะสม นอกจากนี้ชุมชนอื่นยังสามารถนำข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการการสื่อสารครั้งนี้ไปปรับใช้หรือนำไปเป็นข้อมูลในการวางแผนการพัฒนาชุมชนต่อไปได้อีกด้วย
การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับอิหม่ามประจำมัสยิดกมาลุลอิสลาม ผู้ช่วยอิหม่าม ตลอดจนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกลุ่มกับเยาวชนในชุมชนที่อยู่ในฐานะผู้รับสาร จำนวน 15 คน สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 200 ชุด เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้และทัศนคติของประชาชนชุมชนมัสยิด กมาลุลอิสลามเกี่ยวกับการจัดการการสื่อสารเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมคลองแสนแสบ
ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า ชุมชนมีผู้นำที่เข้มแข็ง มีความรู้ความสามารถ และมีทักษะการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจคนในชุมชนโดยยึดการนำหลักศาสนาอิสลามมาสอนควบคู่กับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบกับมีการเลือกใช้สื่อที่ผสมผสาน ไม่ว่าจะเป็น สื่อบุคคล สื่อกระจายเสียง สื่อเฉพาะกิจ สื่อพื้นบ้าน สื่ออินเทอร์เน็ต และสื่อมวลชน แสดงให้เห็นว่า ชุมชนมีการใช้สื่อแบบบูรณาการ ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมแรงกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น ส่วนด้านทัศนคติ ความรู้และพฤติกรรมของผู้รับสาร พบว่า ผลจากการใช้สื่อที่หลากหลายก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านทัศนคติ อีกทั้งทำให้คนในชุมชนเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ให้ความร่วมมือในการฟื้นฟูและพัฒนาสภาพแวดล้อมของชุมชนมากยิ่งขึ้น
ผลการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่า ส่วนใหญ่ประชาชนมีการรับรู้สูงมากเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมคลองแสนแสบ และในส่วนของทัศนคติ พบว่า ประชาชนมีทัศนคติที่เห็นด้วยในระดับมากเกี่ยวกับการจัดการการสื่อสารเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชน ทั้งนี้ จากผลการศึกษา ทำให้ทราบว่า ชุมชนมัสยิดกมาลุลอิสลามประสบความสำเร็จและเป็นชุมชนต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อมได้ด้วยการบริหารจัดการการสื่อสารของชุมชนที่เหมาะสม นอกจากนี้ชุมชนอื่นยังสามารถนำข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการการสื่อสารครั้งนี้ไปปรับใช้หรือนำไปเป็นข้อมูลในการวางแผนการพัฒนาชุมชนต่อไปได้อีกด้วย
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557.