Browsing GSHRD: Theses by Title
Now showing items 142-158 of 158
-
ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนคาทอลิกในกรุงเทพมหานคร
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพโดยทั่วไปของการบริหารผลปฏิบัติงานในโรงเรียนคาทอลิก 2) เพื่อสร้างตัวแบบระบบการบริหารผลปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนคาทอลิก 3) เพื่อประเมินตัวแบบระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนคาทอลิกในด้านความเหมาะสมความเป็นไปได้ และประโยชน์ในการนำไปใช้การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากโรงเรียนคาทอลิกในกรุงเทพมหานครจำนวน 10 แห่ง ด้วยการสัมภาษณ์ผู้บริหารและหัวหน้าฝ่ายจำนวน 20 คน และแจกแบบสอบถามความคิดเห็นครูและบุคลากรจำนวน 60 คน แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสถิติพรรณนา ... -
ระบบค่าตอบแทนในธุรกิจไทย : ผลกระทบต่อผลลัพธ์ระดับบุคคล
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2007);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการออกแบบระบบค่าตอบแทนใน ธุรกจไทยที่มีต่อผลลัพธ์ระดับบุคคล และความพึงพอใจในค่าตอบแทน ตลอดจนศึกษา ผลกระทบของความพึงพอใจในค่าตอบแทนที่มีต่อผลลัพธ์ระดับบุคคล โดยเก็บข้อมูลด้วย แบบสอบถามที่จัดส่งให้แก่ผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ขององค์การที่จดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 527 องค์การมีอัตราการตอบกลับแบบสอบถามที่ใช้ได้ คิดเป็นร้อยละ 20.68 ผลการศึกษาพบว่าการออกแบบระบบค่าตอบแทนที่คำนึงถึงความเสมอภาคภายใน ความเสมอภาคภายนอก และความเสมอภาคระหว่างบุคคลมีผลต่อผลลัพธ์ระดบบุคคล ความพึงพอใจในงาน ... -
รูปแบบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างระหว่างพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของ องค์การกับการแลกเปลี่ยนความรู้ของพนักงานซ่อมบารุงอากาศยาน บริษัทมหาชน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013);
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง และทดสอบ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และพฤติกรรมย่อยของ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ 5 พฤติกรรม ได้แก่ พฤติกรรมการช่วยเหลือผู้อื่น พฤติกรรมการคา นึงถึงผู้อื่น พฤติกรรมการอดทนอดกลั้น พฤติกรรมการให้ความร่วมมือ และ พฤติกรรมการสานึกในหน้าที่ ที่ส่งผลต่อการแลกเปลี่ยนความรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานซ่อม บา รุงอากาศยานบริษัทมหาชนแห่งหนึ่ง จา นวน 336 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 3 ฉบับ ได้แก่ ... -
รูปแบบและประสิทธิผลการสื่อสารของผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาตามหลักโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัส
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2011);
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและประสิทธิผลการสื่อสารระหว่างบุคคลของ พยาบาลวิชาชีพในระดับหัวหน้าแผนกและผู้ใต้บังคับบัญชาโรงพยาบาลภัทรธนบุรี จํานวน 122 คน โดยจําแนกรูปแบบการสื่อสารตามระบบประสาทสัมผัส ตามแนวคิดของหลักโปรแกรมภาษา ประสาทสัมผัส (Neuro Linguistic Programming: NLP) ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบได้แก่ การมอง (Visual) การฟัง (Auditory) การสัมผัส (Kinesthetic) และการใช้เหตุผล (Rational) โดยใช้ แบบสอบถามร่วมกับการสัมภาษณ์เพื่อรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการหาค่าเฉลีย ค่าร้อยละ ส่วนเบียงเบนมาตรฐานของข้อมูล ... -
ลักษณะส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อมองค์การที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน : กรณีศึกษาบริษัทเงินทุนในเขตกรุงเทพมหานคร
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1997);
การศึกษาเรื่อง ลักษณะส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อมองค์การที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน : กรณีศึกษาบริษัทเงินทุนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างลักษณะส่วนบุคคลกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัทเงินทุนในเขตกรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ลักษณะงาน ลักษณะองค์การ ประสบการณ์ขณะปฏิบัติงาน กับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัทเงินทุนในเขตกรุงเทพมหานคร และ (3) ศึกษาว่าตัวแปรใดระหว่างลักษณะงาน ลักษณะองค์การ และประสบการณ์ขณะปฏิบัติงานกับองค์การที่สามารถทำนายความผูกพันต่อ ... -
วัฒนธรรมองค์การ ภาวะผู้นำแบบสร้างความเปลี่ยนแปลง และพฤติกรรมการทำงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารในองค์การเอกชน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013);
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การ ภาวะผู้นํา แบบสร้างความเปลี่ยนแปลง และพฤติกรรมการทํางานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งศึกษาความสามารถในการทํานายพฤติกรรมการทํางานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงโดยตัวแปรดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ ผู้บริหารระดับต้นและระดับกลางในองค์กร เอกชนแห่งหนึ่ง จํานวน 275 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 4 ชุด ประกอบด้วย แบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้วัฒนธรรมองค์การ (ใน 5 ด้าน คือ การปรับตัว การมีส่วนร่วม โครงสร้างและกฎระเบียบ พันธกิจ และความรับผิดชอบต่อสังคม) ... -
สมรรถนะของหัวหน้างานและผู้บริหารระดับกลางสายสนับสนุนที่จำเป็นต่อการพัฒนาหน่วยงานสู่มาตรฐานสากลตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
การศึกษาคร้ังนี้มีจุดประสงค์มุ่งเน้นที่จะระบุสมรรถนะที่จำเป็นของหัวหน้างานและ ผู้บริหารระดับกลางสายสนับสนุนในสถาบันการศึกษาที่ผ่านเกณฑ์โครงการนำเกณฑ์คุณภาพ การศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศมาใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในจากวิถีปฏิบัติที่ เป็นเลิศ (Best Practices) ที่เป็นข้อได้เปรียบในการพัฒนาองค์การของตนเองในสถาบันการศึกษา ประเทศไทย การศึกษาแบ่งออกได้เป็น 3ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 1) การสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรม โดยเก็บข้อมูลจากให้ผู้ข้อมูลจำนวน 17 ท่าน ตามเกณฑ์ที่ได้ระบุไว้ในระเบียบวิธี 2) การบูรณาการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาทบทวนวรร ... -
องค์ประกอบเชิงระบบและปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็งของชุมชน : กรณีศึกษาหมู่บ้านวัดเกาะ ตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี / พีรสุต ศรีธวัช ณ อยุธยา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1998); -
อิทธิพลของช่วงอายุต่อความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนรวมและความผูกพันต่อองค์กรในวิชาชีพบัญชี
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนรวมและความผูกพันต่อองค์กร ตลอดจนบทบาทของช่วงอายุในการเป็นตัวแปรกำกับของความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนรวมและความผูกพันต่อองค์กรในวิชาชีพบัญชี ซึ่งในการศึกษาใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในประเทศไทยจำนวน 500 ชุด จากนั้นนำผลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอนุมานรวมทั้งการถดถอยแบบลำดับชั้น ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านค่าตอบแทน การรับรู้ความยุติธรรม และผลตอบแทนเชิงความสัมพันธ์ส่งผลกระทบต่อความผูกพันต่อองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ... -
อิทธิพลของศาสนาต่อปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสุข: กรณีศึกษาของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความสุขของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี 2) ผลกระทบของปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านสุขภาพ ปัจจัยด้านงาน และปัจจัยด้านสังคมต่อ ความสุขของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี 3) บทบาทของความเชื่อในศาสนาในการเป็นตัวแปรกำกับ ระหว่างปัจจัยด้านงานกับความสุขของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีโดยใช้แบบสอบถามในการสำรวจ กลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในประเทศไทยจำนวน 420 ชุด ได้รับการตอบกลับจำนวน 401 ชุด และนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิตพรรณนาและสถิติอนุมานรวมทั้งการถดถอยแบบลำดับชั้น ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีระดับค่าเฉลี่ยความสุข ... -
เครือข่ายผู้ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อชุมชนในฐานะกลไกเสริมสร้างพลังกระบวนการประชาสังคม : ศึกษาเฉพาะกรณีเว็บไซต์จังหวัด
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2000);
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 5 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาความเป็นมา วัตถุประสงค์รูปแบบการบริหารองค์กรของเว็บไซต์จังหวัดต่างๆ ของไทยในด้านการจัดองค์การบุคลากร การเงินและเทคโนโลยี (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการและชุมชนของเว็บไซต์จังหวัดต่างๆ (3) เพื่อศึกษารูปแบบการให้บริการและกิจกรรมต่างๆ ที่จัดทำโดยเว็บไซต์จังหวัด (4) เพื่อศึกษาลักษณะของผู้ใช้บริการเว็บไซต์จังหวัด (5) เพื่อศึกษาผลการจัดทำเว็บไซต์จังหวัดต่อการเสริมสร้างพลังกระบวนการประชาสังคม โดยเน้นถึงผลที่ต่อการเสริมสร้างกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ใช้บริการเว็บไซต์จังหวัดต่อกิจกร ... -
แนวทางการจัดโครงการพัฒนาอาชีพสำหรับทหารผ่านศึกพิการ : กรณีศึกษา องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2000); -
แนวทางการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับประถมศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2001); -
แนวทางการพัฒนาองค์การประเภทธุรกิจธนาคารสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษา ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ 2) ศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สู่องค์การแห่งการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ บุคลากรธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จำนวน 379 คน โดยใช้แบบสอบถามการวัดระดับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการศึ ... -
แนวทางพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม สาขาอุตสาหการ ระดับภาคีวิศวกร เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012);
งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะในปัจจุบัน ของผู้ประกอบวิชาชีพ วิศวกรรม สาขาอตสาหการ ระดับภาค วิศวกร 2) ศึกษาสมรรถนะที่ต้องการเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปีพ.ศ. 2558 3) นําเสนอแนวทางพฒนาสมรรถนะ ให้พร้อม รองรับการเข้าสประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการทอดแบบสอบถาม ผู้ ประกอบวิชาชีพ และผู้บริหารองค์กรจํานวน 530 ชุด อัตราการตอบกลับคิดเป็นร้อยละ 46.79 2) สนทนากลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ จํานวน 3 ท่าน 3) สัมภาษณ์คณาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิทาง วิศวกรรมอุตสาหการ จํานวน 4 ท่าน ผลการศึกษาประกอบด้วย 1) สมรรถนะในปัจจุ ... -
แรงจูงใจในการทำงาน ความบ้างาน และความสุขในการทำงาน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013);
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเกี่ยวข้องกันในเชิงเหตุและผลของตัวแปร 3 ตัว คือ แรงจูงใจในการทํางาน ความบ้างาน และความสุขในการทํางาน และเพื่อศึกษาความแตกต่าง ของตัวแปรทั้ ง 3 ระหว่างพนักงานที่ทํางานขององค์กรไทย และองค์กรต่างประเทศที่อยู่ในประเทศ ไทย โดยทําการศึกษาพนักงานใน 3 องค์กร คือ องค์กรไทย องค์กรญี่ปุ่น และองค์กรอังกฤษ จํานวนตัวอย่างทั้งหมด 553 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วย การหาสถิติพรรณนาลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง และหาสถิติอนุมานเพื่อทดสอบความแตกต่างหรือ ความแปรปรวนของความสุขในการทํางานตามระดับแรงจ ... -
แรงจูงใจในการทำงาน พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและประสิทธิผลการทำงานของบุคลากรวัยทำงาน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงาน พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และประสิทธิผลการทำงานในองค์การของบุคลากรวัยทำงาน รวมทั้งศึกษาอำนาจในการทำนายประสิทธิผลการทำงานในองค์การของแรงจูงใจในการทำงานและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยบุคลากรวัยทำงาน ซึ่งเป็นพนักงานในองค์การต่างๆ ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาและอยู่ระหว่างการศึกษาจากคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และคณะรัฐประศาสนศาสตร์จำนวน 401 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัด ได้แก่ แบบวัดข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบวัด ...