Browsing GSHRD: Theses by Author "กัลยาณี เสนาสุ"
Now showing items 1-3 of 3
-
ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างระหว่างความผูกพันต่อองค์กร การสร้างเสริมความสามารถของพนักงานและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักคณะกรรมการอาชีวศึกษา เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ปานกมล ทรัพย์สาร; กัลยาณี เสนาสุ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของความผูกพันต่อองค์กรการสร้างเสริมความสามารถของพนักงานและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน โดยใช้การเก็บแบบสอบถามจาก ครู อาจารย์และเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่เปิดสอนสายพาณิชยการ ในสาขาการบัญชี การตลาด คอมพิวเตอร์ธุรกิจและธุรกิจค้าปลีก จำนวนทั้งสิ้น296คน โดยใช้การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ด้วยโปรแกรม AMOS -
บทบาทของทุนมนุษย์ต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ: ศึกษาเปรียบเทียบไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
ธนพร เทียนประเสริฐ; กัลยาณี เสนาสุ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของทุนมนุษย์ของประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซียและเปรียบเทียบบทบาทของทุนมนุษย์ต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) ของประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย วิธีการศึกษาได้ใช้ สมการการผลิตที่สะท้อนถึงผลกระทบมูลภัณฑ์ทุน และทุนมนุษย์ต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) ข้อมูลเก็บรวบรวมมาจาก สํานักงานสถิติแห่งชาติของประเทศ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และธนาคารโลก แล้วนํามาวิเคราะห์ด้วยสมการ 2 ประเภท คือ สมการ เส้นตรงและสมการคอบบ์-ดักลาส -
อิทธิพลของช่วงอายุต่อความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนรวมและความผูกพันต่อองค์กรในวิชาชีพบัญชี
พิชชาภร จวงวาณิชย์; กัลยาณี เสนาสุ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนรวมและความผูกพันต่อองค์กร ตลอดจนบทบาทของช่วงอายุในการเป็นตัวแปรกำกับของความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนรวมและความผูกพันต่อองค์กรในวิชาชีพบัญชี ซึ่งในการศึกษาใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในประเทศไทยจำนวน 500 ชุด จากนั้นนำผลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอนุมานรวมทั้งการถดถอยแบบลำดับชั้น ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านค่าตอบแทน การรับรู้ความยุติธรรม และผลตอบแทนเชิงความสัมพันธ์ส่งผลกระทบต่อความผูกพันต่อองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ...