Title:
| นวัตกรรมการใช้สื่อเพื่อเข้าถึงพุทธธรรมของสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่องธรรมะทีวี |
Other title(s):
| Innovative media use for the buddhism propagate of dharma TV channel, satellite television |
Author(s):
| ปาณิสรา วัฒนพฤกษ์ |
Advisor:
| พัชนี เชยจรรยา |
Degree name:
| ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level:
| Master's |
Degree discipline:
| นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม |
Degree department:
| คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ |
Degree grantor:
| สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date:
| 2014 |
Publisher:
| สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract:
|
การวิจัยเรื่อง “นวัตกรรมการใช้สื่อเพื่อเข้าถึงพุทธธรรมของสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม
ช่องธรรมะทีวี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้นวัตกรรมการสื่อสารของสถานีโทรทัศน์ผ่าน
ดาวเทียมช่องธรรมะทีวี และศึกษาเครือข่ายการสื่อสารเพื่อการเผยแผ่พุทธธรรมของ
สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่องธรรมะทีวีไปยังพุทธศาสนิกชนกลุ่มเป้าหมาย การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ เอกสารวิชาการ
บทความ วารสาร นิตยสาร วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย บทสัมภาษณ์ และข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
เพื่อศึกษาความเป็นมาของสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อเผยแผ่ธรรมะ และศึกษาเฉพาะในส่วน
ของช่องธรรมะทีวี เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาจัดทา กรอบการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้และใช้
การสัมภาษณ์เชิงลึกประธานมูลนิธิรวมใจเผยแผ่ธรรมะ ผู้อา นวยการสถานีฯ รองผู้อำนวยการสถานีฯ หัวหน้าโปรดิวเซอร์ฝ่ายรายการ และผู้จัดการฝ่ายเทคนิคและออกอากาศ เกี่ยวกับการใช้
นวัตกรรมสื่อและเครือข่ายในการเผยแผ่พุทธธรรมของสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่องธรรมะทีวี
ไปยังพุทธศาสนิกชนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อนา ผลสัมภาษณ์ที่ได้มาทำสรุปวิเคราะห์และอภิปรายผล จากการวิจัยพบว่า สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่องธรรมะทีวีมีการใช้นวัตกรรมสื่อเพื่อ
การเผยแผ่ โดยจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ สื่อหลักและสื่อเสริม สื่อหลักคือ สื่อโทรทัศน์
ระบบผ่านดาวเทียม ในช่วงเริ่มต้นดำเนินการใช้ระบบอนาลอก โดยทาการออกอากาศผ่าน
ช่องสัญญาณต่าง ๆ ต่อมาได้เปลี่ยนจากระบบเดิมเป็นระบบดิจิตอล พร้อมกับเปลี่ยนช่องสัญญาณพี
เอสไอ ซึ่งมีความเสถียรในการส่งภาพและเสียงที่มีคุณภาพ ส่วนสื่อเสริมเป็นสื่อใหม่ที่มีการพัฒนา
ตามเทคโนโลยีสื่อตามช่วงเวลา คือ เว็บไซต์ ยูทูป เฟซบุ๊ค และโปรแกรมรับชมโทรทัศน์ออนไลน์
สื่อเหล่านี้เป็นช่องทางเพิ่มเติมในการรับชมรายการและเป็นสื่อกลางในการติดตามการดำเนินงานของสถานีฯ อีกทั้งยังเป็นส่วนช่วยเสริมในการออกอากาศของสถานีฯ เป็นประโยชน์แก่ผู้ชม คือ
สามารถที่จะเลือกรับชมเฉพาะรายการและสามารถเลือกรับชมซ้ำได้ สาหรับการใช้เครือข่ายการ
สื่อสารเพื่อเผยแผ่พุทธธรรมให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายนั้น สถานีฯ มีการใช้สื่อหลักร่วมกับสื่อเสริมใน
การสร้างเครือข่ายเพื่อการเผยแผ่ธรรมะ ส่งผลให้สถานีฯ สามารถจัดจำแนกกลุ่มผู้รับชมและพัฒนา
รายการธรรมะให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้รับชมเป้าหมายได้ ซึ่งการบูรณาการสื่อร่วมกันกับการสร้าง
เครือข่ายทำให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อสถานีฯในฐานะผู้ส่งสารและผู้รับชมในฐานะผู้รับสาร กล่าวคือ
สถานีฯ มีการปรับปรุง พัฒนา ผลิตรายการ และจัดเวลาที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้ชม ทำให้
กลุ่มเป้าหมายได้รับสาระประโยชน์จากรายการธรรมะมากขึ้นและส่งผลทางอ้อมในการแบ่งปัน
ความรู้และรายการธรรมะที่ชื่นชอบแก่บุคคลอื่น การสร้างเครือข่ายที่เป็นจุดเด่นของสถานีฯ คือ
การสร้างเครือข่ายร่วมกันระหว่างสถานีโทรทัศน์ด้วยกันโดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน คือ การเผยแผ่
ธรรมะ ซึ่งการร่วมมือกันนี้ไม่ได้เป็นการร่วมกันในเชิงพาณิชย์ ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ คือ สถานีฯควรมีการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครและจัด
กิจกรรมร่วมร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย สาหรับผู้ที่สนใจการทา วิจัยในโอกาสต่อไปสามารถศึกษาวิจัย
ในรายละเอียดเกี่ยวกับรายการธรรมะ (สาร) และพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย (ผู้รับสาร) ทั้งใน
ภาพรวมและตามกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มได้
|
Description:
|
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557.
|
Subject(s):
| สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม |
Keyword(s):
| เครือข่ายการสื่อสาร
นวัตกรรมการสื่อสาร |
Resource type:
| วิทยานิพนธ์ |
Extent:
| 111 แผ่น |
Type:
| Text |
File type:
| application/pdf |
Language:
| tha |
Rights:
| ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Rights holder(s):
| สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI:
| http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3602 |