การสื่อสารการตลาด และตราสินค้าผลิตภัณฑ์ชุดกีฬาแกรนด์สปอร์ตในทัศนะของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร
Publisher
Issued Date
2014
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
163 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
ba187877
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
รัตประภา เหมจินดา (2014). การสื่อสารการตลาด และตราสินค้าผลิตภัณฑ์ชุดกีฬาแกรนด์สปอร์ตในทัศนะของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3604.
Title
การสื่อสารการตลาด และตราสินค้าผลิตภัณฑ์ชุดกีฬาแกรนด์สปอร์ตในทัศนะของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร
Alternative Title(s)
Marketing communications and grand sport's brand toward attitude of population in Bangkok
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะทางประชากรของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ชุดกีฬา 2) ทัศนคติของประชากรต่อผลิตภัณฑ์ชุดกีฬาแกรนด์สปอร์ต 3) การเปิดรับด้านการสื่อสารการตลาดของผลิตภัณฑ์ชุดกีฬาแกรนด์สปอร์ต 4) ความสัมพันธ์ของการเปิดรับ และการรับรู้ด้านการสื่อสารการตลาดของผลิตภัณฑ์ชุดกีฬาแกรนด์สปอร์ต และความสัมพันธ์ของการรับรู้ด้านการสื่อสารการตลาด และทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์ชุดกีฬาแกรนด์สปอร์ตของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร
การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญในสถานที่ต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 5 แห่ง สถานที่ละ 80 ตัวอย่าง จากสาขาของแกรนด์สปอร์ต และห้างสรรพสินค้าที่จาหน่ายผลิตภัณฑ์ชุดกีฬาของแกรนด์สปอร์ต ใช้ค่าสถิติ ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-test ค่า F-test และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง อยู่ในกลุ่มอายุ 21-30 ปี เป็นโสด มีรายได้ต่อเดือน 10,000-20,000 บาท 2. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี นิยมออกกำลังกายด้วยการวิ่ง และมีความถี่ในการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายต่อเดือน 3-4 ครั้ง 3. ผู้ตอบแบบสอบถามมีการเปิดรับข่าวสารด้านการสื่อสารการตลาด เช่น การเป็นผู้สนับสนุนทางการตลาด การส่งเสริมการขาย และการโฆษณา ในระดับมาก 4. ผู้ตอบแบบสอบถามมีการรับรู้ด้านการสื่อสารการตลาดในระดับมาก 5. ผู้ตอบแบบสอบถามมีทัศนคติเห็นด้วยต่อปัจจัยต่าง ๆ โดยรวมของผลิตภัณฑ์ชุดกีฬาแกรนด์สปอร์ต เช่น ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการสื่อสารการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและด้านการสื่อสารตราสินค้า 6. ลักษณะทางประชากรที่แตกต่างกัน เช่น อายุ สถานภาพ มีการเปิดรับข่าวสารด้านการสื่อสารการตลาดที่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 7. ลักษณะทางประชากรที่แตกต่างกัน เช่น เพศ อายุ มีการรับรู้ข่าวสารด้านการสื่อสารการตลาดที่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 8. การเปิดรับด้านการสื่อสารการตลาด เช่น การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย การขายโดยบุคคล การตลาดทางตรง การจัดกิจกรรมทางการตลาด การเป็นผู้สนับสนุนทางการตลาด การตลาดเพื่อสังคม และการตลาดออนไลน์ มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ด้านการสื่อสารการตลาดของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครระดับปานกลาง 9. การรับรู้ด้านการสื่อสารการตลาด มีความสัมพันธ์กับทัศนคติด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านช่องทางการจัดจำหน่ายในระดับปานกลาง 10. การรับรู้ด้านการสื่อสารการตลาด มีความสัมพันธ์กับทัศนคติด้านการสื่อสารการตลาด และด้านการสื่อสารตราสินค้าในระดับต่ำ
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง อยู่ในกลุ่มอายุ 21-30 ปี เป็นโสด มีรายได้ต่อเดือน 10,000-20,000 บาท 2. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี นิยมออกกำลังกายด้วยการวิ่ง และมีความถี่ในการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายต่อเดือน 3-4 ครั้ง 3. ผู้ตอบแบบสอบถามมีการเปิดรับข่าวสารด้านการสื่อสารการตลาด เช่น การเป็นผู้สนับสนุนทางการตลาด การส่งเสริมการขาย และการโฆษณา ในระดับมาก 4. ผู้ตอบแบบสอบถามมีการรับรู้ด้านการสื่อสารการตลาดในระดับมาก 5. ผู้ตอบแบบสอบถามมีทัศนคติเห็นด้วยต่อปัจจัยต่าง ๆ โดยรวมของผลิตภัณฑ์ชุดกีฬาแกรนด์สปอร์ต เช่น ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการสื่อสารการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและด้านการสื่อสารตราสินค้า 6. ลักษณะทางประชากรที่แตกต่างกัน เช่น อายุ สถานภาพ มีการเปิดรับข่าวสารด้านการสื่อสารการตลาดที่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 7. ลักษณะทางประชากรที่แตกต่างกัน เช่น เพศ อายุ มีการรับรู้ข่าวสารด้านการสื่อสารการตลาดที่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 8. การเปิดรับด้านการสื่อสารการตลาด เช่น การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย การขายโดยบุคคล การตลาดทางตรง การจัดกิจกรรมทางการตลาด การเป็นผู้สนับสนุนทางการตลาด การตลาดเพื่อสังคม และการตลาดออนไลน์ มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ด้านการสื่อสารการตลาดของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครระดับปานกลาง 9. การรับรู้ด้านการสื่อสารการตลาด มีความสัมพันธ์กับทัศนคติด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านช่องทางการจัดจำหน่ายในระดับปานกลาง 10. การรับรู้ด้านการสื่อสารการตลาด มีความสัมพันธ์กับทัศนคติด้านการสื่อสารการตลาด และด้านการสื่อสารตราสินค้าในระดับต่ำ
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557.