• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
  • GSCM: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
  • GSCM: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การสื่อสารการตลาด ความผูกพัน และปัจจัยในการเปลี่ยนตรา สินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่

by ชโรฌา กนกประจักษ์

Title:

การสื่อสารการตลาด ความผูกพัน และปัจจัยในการเปลี่ยนตรา สินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่

Other title(s):

Marketing communication, engagement and factors influencing brand switching of smartphones

Author(s):

ชโรฌา กนกประจักษ์

Advisor:

วรัชญ์ ครุจิต

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม

Degree department:

คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2015

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้การสื่อสารการตลาดของโทรศัพท์เคลื่อนที่ไอโฟนและซัมซุงในประเทศไทย 2) ศึกษาระดับความผูกพันของลูกค้าผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อการเปลี่ยนตราสินค้า 3) ศึกษาถึงปัจจัยในการเปลี่ยนตราสินค้าของผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ไอโฟนและซัมซุงโดยระเบียบวิธีวิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาด และส่วนที่ 2 ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดของโทรศัพท์เคลื่อนที่ตราสินค้าซัมซุงและจากแหล่งข้อมูลที่เป็นผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่เปลี่ยนตราสินค้าภายในระยะเวลา 6 เดือน โดยจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คนตามระดับความผูกพัน กล่าวคือ 1) ลูกค้าที่มีความผูกพันต่อตราสินค้าสูง 2) ลูกค้าที่มีความผูกพันต่อตราสินค้าในระดับปานกลาง และ 3) ลูกค้าที่มีความผูกพันต่อตราสินค้าในระดับตํ่า เกี่ยวกับปัจจัยในการเปลี่ยนตราสินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่
ผลการวิจัย มีดังนี้ ส่วนที่ 1 ของผลการศึกษาพบว่า การใช้การสื่อสารการตลาดของ โทรศัพท์เคลื่อนที่ไอโฟนและซัมซุงในประเทศไทยที่สามารถสืบค้นได้จากอินเทอร์เน็ตในช่วงเวลา ตัง้ แต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2552 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เท่านัน้ มีดังนี้คือ 1) การ โฆษณาผ่านสื่อหลัก ได้แก่ โทรทัศน์ 2) สื่อออนไลน์ ได้แก่ เว็บไซต์ที่เป็นทางการของตราสินค้า การทำการตลาดแบบไวรัล 3) สื่อภายนอกได้แก่ ป้ายโฆษณาตามสถานที่ต่างๆ 4) การ ประชาสัมพันธ์ ได้แก่ การจัดงานเปิดตัวสินค้า 5) การส่งเสริมการขายได้แก่ การผ่อนชำระแบบไม่ เสียดอกเบี้ย การลดราคาเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ การแจกของแถมเมื่อซื้อ โทรศัพท์เคลื่อนที่ นอกจากนี้ซัมซุงยังใช้สื่อออนไลน์ประเภทเฟซบุ๊ค แฟนเพจ โฆษณาแฝงผ่านการนำสินค้าไปแทรก อยู่ในรายการโทรทัศน์หรือละครการประชาสัมพันธ์ ผ่านกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมและกิจกรรม สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ผลจากการสัมภาษณ์ของผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการสื่อสาร การตลาดของโทรศัพท์เคลื่อนที่ตราสินค้าซัมซุง สรุปได้ว่า ซัมซุงใช้สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ทั้ง ฟรี ทีวีและทีวีดิจิทัล คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 50% รองลงมาคือสื่อออนไลน์ คิดเป็น 40% ที่เหลือ 10% จะเป็นสื่ออื่นๆ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร กล่าวคือ ยังคงใช้ทุกสื่อแต่ในสัดส่วนที่น้อยลงส่วนผล จากบทสัมภาษณ์ของอดีตรองประธานฝ่ายการตลาดของบริษัทแอปเปิ้ล สามารถสรุปได้ว่าบริษัท แอปเปิ้ลใช้กลยุทธ์การให้ข้อมูลกับผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์โดยพยายามเน้นว่าทำไมต้องมี อุปกรณ์นี้และอุปกรณ์นี้ช่วยพัฒนาชีวิตของผู้บริโภคได้อย่างไร และการแถลงข่าวเปิดตัวสินค้า ส่วนที่ 2 ของผลการศึกษาพบว่า ผู้ให้ข้อมูลที่มีระดับความผูกพันต่อตราสินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่ เปลี่ยนมาใช้ในปัจจุบันที่แตกต่างกันจะมีผลต่อการเปลี่ยนตราสินค้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่ แตกต่างกันกล่าวคือระดับความผูกพันต่อตราสินค้าในปัจจุบันในระดับที่มากกว่าจะทำให้มีความ จงรักภักดีและความพึงพอใจต่อตราสินค้ามากกว่า และทำให้เปลี่ยนตราสินค้าน้อยและมีแนวโน้ม ที่จะซื้อซ้ำ 3) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนตราสินค้าของทั้งผู้ใช้ โทรศัพท์เคลื่อนที่ไอโฟนและซัมซุง คือ 1) ปัจจัยด้านราคา 2) ปัจจัยด้านคุณภาพของ โทรศัพท์เคลื่อนที่ 3) ปัจจัยด้านการที่โทรศัพท์เคลื่อนที่มีรุ่นใหม่ๆที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย 4) ปัจจัย ทางด้านตราสินค้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่มีจุดเด่นกว่าคู่แข่ง 5) ปัจจัยทางด้านภาพลักษณ์ของ ตราสินค้า 6) ข้อมูลจากการวิจารณ์ของผู้ใช้จริงหรือการแนะนำสินค้าส่วนปัจจัยที่ไม่มีผลต่อการ ตัดสินใจเปลี่ยนตราสินค้าของทัง้ ผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ไอโฟนและซัมซุง คือ 1) ปัจจัยที่เกี่ยวกับ การเสียสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ตราสินค้าเดิม 2) ปัจจัยที่เกี่ยวกับเพื่อน คนรู้จัก หรือคนในครอบครัว 3) การที่ผู้มีชื่อเสียง เช่น นักแสดง ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ 4) ตราสินค้าของ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่มีสินค้าให้เลือกหลากหลายรุ่น

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558.

Subject(s):

การตลาด

Keyword(s):

การสื่อสารการตลาด

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

298 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3609
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • ba187881.pdf ( 6,930.15 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSCM: Theses [175]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×