• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Dissertations
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Dissertations
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การคาดการณ์ต้นทุนสิ่งแวดล้อมของการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศไทย

by เด่นศักดิ์ ยกยอน

Title:

การคาดการณ์ต้นทุนสิ่งแวดล้อมของการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศไทย

Other title(s):

Projections of the environmental cost of economic growth in Thailand

Author(s):

เด่นศักดิ์ ยกยอน

Advisor:

สมพจน์ กรรณนุช

Degree name:

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

Degree level:

Doctoral

Degree discipline:

การจัดการสิ่งแวดล้อม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2013

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การเติบโตทางเศรษฐกิจและการเพิ่มขึ้นของประชากรของประเทศไทยเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาในขณะที่จำ นวนประชากรเพิ่มขึ้นและผลผลิตมวลรวมในประเทศ ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากการบริโภคสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นทั้งสินค้าและบริการที่ตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์และสินค้าที่ตอบสนองความต้องการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้นตามวิธีชีวิตแบบบริโภคนิยม ผลกระทบทางตรงและทางอ้อมจากการบริโภคเพื่อการดำรงชีพที่เพิ่มขึ้นและรสนิยมที่เปลี่ยนไปทำให้ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมลง การเปลี่ยนแปลงที่ปรากฎอย่างชัดเจนได้แก่ พื้นที่ป่าไม้ที่ลดน้อยลงการขยายพื้นที่การเกษตรอย่างไม่ยั่งยืน การขุดทรัพยากรแร่ธาตุขึ้นมาใช้จนหมดไป และการปล่อยมลพิษของเสียจนทำให้เกิดปัญหามลพิษอากาศและน้ำเสียประเด็นเหล่านี้ล้วนเป็นต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่เคยมีการนำมาคิดคำนวณและแสดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน
การเติบโตทางเศรษฐกิจจะยังคงดำเนินต่อไป เนื่องจากการที่จำนวนประชากรและรายได้ต่อหัวประชากรเพิ่มขึ้น การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องเข้าใจถึงต้นทุนสิ่งแวดล้อมที่เกิดควบคู่กับการเติบโตทางเศรษฐกิจ วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้คือการคาดการณ์ต้นทุนสิ่งแวดล้อมที่เกิดควบคู่กับการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อฉายภาพในอนาคตที่มีความเป็นไปได้ เป็นข้อมูลที่สามารถนาไปพิจารณาทางเลือกในการตัดสินใจและการออกแบบยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ในการศึกษานี้ คือ แบบจำลองดุลยภาพทั่วไป และข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณ คือ ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตของประเทศไทย โดยทาการวิเคราะห์ภายในขอบเขตของตัวแปรที่ปรับตัวเชื่อมโยงตามความสัมพันธ์ที่กำหนดจากระบบสมการที่แสดงถึงกลไกการเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจและการปรับตัวของกลไกตลาด ซึ่งเกิดจากการแข่งขันของอุปสงค์ทรัพยากรที่ดินที่มีอยู่อย่างจำกัด ระหว่างกิจการสาขาสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมกับกิจการอื่นๆในระบบเศรษฐกิจ
การศึกษานี้จำลองสถานการณ์และคาดการณ์ในอนาคตพิสัย 30 ปี ผลการคำนวณแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจประเทศไทย และการเพิ่มขึ้นของต้นทุนสิ่งแวดล้อมในอนาคต โดยต้นทุนสิ่งแวดล้อมที่ได้จากการคำนวณผลผลิตของสาขาสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมในกรณีอุปทานที่ดินคงที่มีมูลค่า 20,000 ล้านบาทในปี ฐาน และมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น45,000 ล้านบาทในปี ที่ 30 ต่ำกว่ากรณีอุปทานที่ดินแปรผันอิสระซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 69,000 ล้านบาท ส่วนต่างระหว่าง 2 กรณีเป็นมูลค่า 24,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35
ต้นทุนสิ่งแวดล้อมที่ได้จากการคำนวณมูลค่าปัจจัยการผลิตขั้นปฐมของสาขาสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นจาก 15,000 ล้านบาทในปีฐาน เพิ่มขึ้นเป็น 33,000 ล้านบาท ในกรณีอุปทานที่ดินคงที่ ต่ำกว่าในกรณีอุปทานที่ดินแปรผันอิสระซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 50,000 ล้านบาทในปีที่ 30 หรือมีส่วนต่าง 17,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 34 วิถีการเติบโตของสาขาสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมในกรณีอุปทานที่ดินแปรผันอิสระ เติบโตในอัตราร้อยละ 344 สูงกว่าในกรณีอุปทานที่ดินคงที่ ซึ่งเติบโตในอัตราร้อยละ 223 หรือมีส่วนต่างร้อยละ 121
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของการศึกษานี้ สามารถนำมาพิจารณาใน 2 ประการ ได้แก่ประการแรก ต้นทุนสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น แสดงถึงความจำเป็นในการลงทุนของสาขาสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมที่ต้องเพิ่มขึ้น ประการที่ 2 อุปทานทรัพยากรที่ดินที่จำกัด ส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจมีขีดจำกัด ผลการศึกษานี้สามารถนา ไปเป็นข้อมูลในการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เนื่องจากราคาค่าบริการสุขาภิบาลและบริการสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นจะกดดันให้มีปัญหาการหลีกเลี่ยงภาระตามข้อบังคับและกฎหมายสิ่งแวดล้อม ซึ่งภาครัฐต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดมากขึ้น

Description:

ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556.

Subject(s):

สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม -- การจัดการ

Keyword(s):

สิ่งแวดล้อม
การคาดการณ์ต้นทุนสิ่งแวดล้อม

Resource type:

ดุษฎีนิพนธ์

Extent:

109 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3610
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • ba187561.pdf ( 2,850.42 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Dissertations [59]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×