การวิจัยเพื่อพัฒนาและประเมินเครื่องมือวัดพฤติกรรมความปลอดภัยระหว่างบุคคลใน Facebook และสถานการณ์จริงของนักศึกษาปริญญาตรีและความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัด
Publisher
Issued Date
2014
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
490 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
ba187607
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
อนันต์ แย้มเยื้อน (2014). การวิจัยเพื่อพัฒนาและประเมินเครื่องมือวัดพฤติกรรมความปลอดภัยระหว่างบุคคลใน Facebook และสถานการณ์จริงของนักศึกษาปริญญาตรีและความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัด. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3613.
Title
การวิจัยเพื่อพัฒนาและประเมินเครื่องมือวัดพฤติกรรมความปลอดภัยระหว่างบุคคลใน Facebook และสถานการณ์จริงของนักศึกษาปริญญาตรีและความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัด
Alternative Title(s)
Research for development and validation of Facebook interpersonal safety behavior and real situation scales of undergraduate students and measurement invariance
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
งานวิจัยนี้จึงเป็นงานวิจัยเพื่อพัฒนาแบบวัดพฤติกรรมความปลอดภัยระหว่างบุคคล โดยได้ทำการสร้างแบบวัดจำนวน 2 แบบวัด ได้แก่ 1) แบบวัดพฤติกรรมการใช้ Facebook อย่างปลอดภัยและ 2) แบบวัดพฤติกรรมการคบเพื่อนอย่างปลอดภัย โดยจะมีการสร้างและพัฒนาแบบวัดด้วยการการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสารวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การประเมินความตรง(Validity) ของแบบวัด และการวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยน (Measurement Invariance)
งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาและประเมินเครื่องมือวัดพฤติกรรมความปลอดภัยระหว่างบุคคลใน Facebook และสถานการณ์จริงของนักศึกษาปริญญาตรีและความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัด ทำการสุ่มแบบแบ่งขั้นกำหนดโควต้า (Multistage Quota Random Sampling) กลุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) โดยมีจำนวนของมหาวิทยาลัย 3 แห่ง เก็บข้อมูลมาได้ทั้งสิ้น 500 คน โดยแบ่งเป็น สายวิทยาศาสตร์จำนวน 243 คน (48.60%) สังคมศาสตร์ จำนวน 257 (51.40%) ชั้นปีที่ 3 จำนวน 272 คน (54.40%) ชั้นปีที่ 4 จำนวน 228 คน (45.60%) และเพศชาย จำนวน 181 คน (36.20%) เพศหญิง จำนวน 319 คน (63.80%) กลุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) และทำการศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดจำนวนมหาวิทยาลัย 3 แห่ง เก็บข้อมูลมาได้ทั้งสิ้น 600 คน สายวิทยาศาสตร์ จำนวน 300 คน (50.00%)สังคมศาสตร์ จำนวน 300 (50.00%) ชั้นปีที่ 3 จำนวน 320 คน (53.30%) ชั้นปีที่ 4 จำนวน 280 คน (46.70%) และเพศชาย จำนวน 171 คน (28.50%) เพศหญิง จำนวน 429 คน (71.50%) แบบวัดที่สร้างขึ้นมีทั้งสิ้น 2 แบบวัด ได้แก่ แบบวัดพฤติกรรมการใช้ Facebook อย่างปลอดภัย และพฤติกรรมการคบเพื่อนอย่างปลอดภัย
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ 4 ประการ ดังนี้ ประการแรก แบบวัดพฤติกรรมการใช้ Facebook อย่างปลอดภัย และแบบวัดพฤติกรรมการคบเพื่อนอย่างปลอดภัย ถูกสร้างขึ้นจำนวน 60 ข้อ และถูกคัดเลือกโดยผู้ทรงคุณวุฒิให้เลือก 46 ข้อ และ 52 ข้อ ตามลำดับ เมื่อทำการวิเคราะห์คุณภาพรายข้อในแต่ละแบบวัดด้วยการหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (t-ratio) และ ค่า Item-total Correlation ปรากฏว่า แบบวัดทั้งสองมีข้อที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 25 ข้อเท่ากัน ประการที่สอง สำหรับแบบวัดพฤติกรรมการใช้ Facebook อย่างปลอดภัยข้อที่ผ่านเกณฑ์ทั้ง 25 ข้อนี้ถูกนำไปวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ทำให้พบองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การป้องกันตัว จำนวน 3 ข้อ 2) การหลีกเลี่ยงการโพสต์ข่าวหรือเหตุการณ์ที่ไม่เหมาะสม จำนวน 3 ข้อ 3) การตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับคนที่ไม่รู้จัก จำนวน 3 ข้อ และ 4) ไม่ระมัดระวังว่าจะเกิดความเสียหายต่อตนเอง จำนวน 3 ข้อ รวม ทั้งสิ้น 12 ข้อ ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ 61.28% เมื่อทาการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ปรากฏว่าโมเดลกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และพบว่าแบบวัดนี้มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.812 ผลการวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดล ปรากฏโดยสรุปว่า ไม่พบว่าความแปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดพฤติกรรมการใช้ Facebook อย่างปลอดภัยในเชิงรูปแบบโมเดล(Form) ตามเกรดเฉลี่ย สายการเรียน การศึกษาบิดา และการศึกษามารดา ยกเว้น เพศของนักศึกษาที่มีความแปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดพฤติกรรมการใช้ Facebook อย่างปลอดภัย และพบว่ามีความแปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดพฤติกรรมการใช้ Facebook อย่างปลอดภัยในน้าหนักองค์ประกอบ(LY) ตามสายการเรียน และเพศของนักศึกษา ประการที่สาม สาหรับแบบวัดพฤติกรรมการคบเพื่อนอย่างปลอดภัยข้อที่ผ่านเกณฑ์ทั้ง 25 ข้อนี้ถูกนำไปวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ทาให้พบองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การกระทำตามเพื่อน จำนวน 4 ข้อ 2) การขับขี่อย่าง ปลอดภัย จำนวน 4 ข้อ 3) การตักเตือนซึ่งกันและกัน จำนวน 3 ข้อ และ 4) การรักษาความสะอาด จำนวน 3 ข้อ รวมทั้งสิ้น 14 ข้อ ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ 57.49% เมื่อทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ปรากฏว่าโมเดลกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และพบว่าแบบวัดนี้มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.835 ผลการวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดล ปรากฏโดยสรุปว่า ไม่พบความแปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดพฤติกรรมการคบเพื่อนอย่างปลอดภัยในเชิงรูปแบบโมเดล(Form) และน้าหนักองค์ประกอบ (LY) ตามเกรดเฉลี่ย สายการเรียน การศึกษามารดา เพศ และพบอีกว่ามีความแปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดพฤติกรรมการคบเพื่อนอย่างปลอดภัยในเชิงรูปแบบโมเดล(Form) และน้ำหนักองค์ประกอบ (LY) ตามการศึกษาของบิดา และประการที่สี่ แบบวัดพฤติกรรมการคบเพื่อนอย่างปลอดภัย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับแบบวัดพฤติกรรมการใช้ Facebook อย่างปลอดภัย (r=0.41) มากกว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกกับแบบวัดพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ต(r=0.33) ซึ่งสนับสนุนสมมติฐาน แต่มีความสัมพันธ์ทางบวกน้อยกว่าแบบวัดพฤติกรรมการสุขภาพ(r=0.61) ซึ่งปฏิเสธสมมติฐาน
ผลการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยชิ้นแรกๆ ทางด้านการสร้างเครื่องมือวัดพฤติกรรมความปลอดภัยระหว่างบุคคล ตลอดจนมีการวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดด้วย ทำให้นักวิจัยสามารถนำแบบวัดเหล่านี้ไปใช้ได้อย่างมั่นใจในอนาคตในเชิงวิจัย ความสัมพันธ์เปรียบเทียบ และการวิจัยเชิงทดลอง รวมทั้งยังสามารถนำไปใช้ในการคัดกรองนักศึกษาปริญญาตรีในการคัดเลือกเข้าสู่กลุ่มการจัดการพัฒนาได้อีกด้วย
งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาและประเมินเครื่องมือวัดพฤติกรรมความปลอดภัยระหว่างบุคคลใน Facebook และสถานการณ์จริงของนักศึกษาปริญญาตรีและความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัด ทำการสุ่มแบบแบ่งขั้นกำหนดโควต้า (Multistage Quota Random Sampling) กลุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) โดยมีจำนวนของมหาวิทยาลัย 3 แห่ง เก็บข้อมูลมาได้ทั้งสิ้น 500 คน โดยแบ่งเป็น สายวิทยาศาสตร์จำนวน 243 คน (48.60%) สังคมศาสตร์ จำนวน 257 (51.40%) ชั้นปีที่ 3 จำนวน 272 คน (54.40%) ชั้นปีที่ 4 จำนวน 228 คน (45.60%) และเพศชาย จำนวน 181 คน (36.20%) เพศหญิง จำนวน 319 คน (63.80%) กลุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) และทำการศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดจำนวนมหาวิทยาลัย 3 แห่ง เก็บข้อมูลมาได้ทั้งสิ้น 600 คน สายวิทยาศาสตร์ จำนวน 300 คน (50.00%)สังคมศาสตร์ จำนวน 300 (50.00%) ชั้นปีที่ 3 จำนวน 320 คน (53.30%) ชั้นปีที่ 4 จำนวน 280 คน (46.70%) และเพศชาย จำนวน 171 คน (28.50%) เพศหญิง จำนวน 429 คน (71.50%) แบบวัดที่สร้างขึ้นมีทั้งสิ้น 2 แบบวัด ได้แก่ แบบวัดพฤติกรรมการใช้ Facebook อย่างปลอดภัย และพฤติกรรมการคบเพื่อนอย่างปลอดภัย
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ 4 ประการ ดังนี้ ประการแรก แบบวัดพฤติกรรมการใช้ Facebook อย่างปลอดภัย และแบบวัดพฤติกรรมการคบเพื่อนอย่างปลอดภัย ถูกสร้างขึ้นจำนวน 60 ข้อ และถูกคัดเลือกโดยผู้ทรงคุณวุฒิให้เลือก 46 ข้อ และ 52 ข้อ ตามลำดับ เมื่อทำการวิเคราะห์คุณภาพรายข้อในแต่ละแบบวัดด้วยการหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (t-ratio) และ ค่า Item-total Correlation ปรากฏว่า แบบวัดทั้งสองมีข้อที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 25 ข้อเท่ากัน ประการที่สอง สำหรับแบบวัดพฤติกรรมการใช้ Facebook อย่างปลอดภัยข้อที่ผ่านเกณฑ์ทั้ง 25 ข้อนี้ถูกนำไปวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ทำให้พบองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การป้องกันตัว จำนวน 3 ข้อ 2) การหลีกเลี่ยงการโพสต์ข่าวหรือเหตุการณ์ที่ไม่เหมาะสม จำนวน 3 ข้อ 3) การตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับคนที่ไม่รู้จัก จำนวน 3 ข้อ และ 4) ไม่ระมัดระวังว่าจะเกิดความเสียหายต่อตนเอง จำนวน 3 ข้อ รวม ทั้งสิ้น 12 ข้อ ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ 61.28% เมื่อทาการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ปรากฏว่าโมเดลกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และพบว่าแบบวัดนี้มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.812 ผลการวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดล ปรากฏโดยสรุปว่า ไม่พบว่าความแปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดพฤติกรรมการใช้ Facebook อย่างปลอดภัยในเชิงรูปแบบโมเดล(Form) ตามเกรดเฉลี่ย สายการเรียน การศึกษาบิดา และการศึกษามารดา ยกเว้น เพศของนักศึกษาที่มีความแปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดพฤติกรรมการใช้ Facebook อย่างปลอดภัย และพบว่ามีความแปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดพฤติกรรมการใช้ Facebook อย่างปลอดภัยในน้าหนักองค์ประกอบ(LY) ตามสายการเรียน และเพศของนักศึกษา ประการที่สาม สาหรับแบบวัดพฤติกรรมการคบเพื่อนอย่างปลอดภัยข้อที่ผ่านเกณฑ์ทั้ง 25 ข้อนี้ถูกนำไปวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ทาให้พบองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การกระทำตามเพื่อน จำนวน 4 ข้อ 2) การขับขี่อย่าง ปลอดภัย จำนวน 4 ข้อ 3) การตักเตือนซึ่งกันและกัน จำนวน 3 ข้อ และ 4) การรักษาความสะอาด จำนวน 3 ข้อ รวมทั้งสิ้น 14 ข้อ ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ 57.49% เมื่อทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ปรากฏว่าโมเดลกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และพบว่าแบบวัดนี้มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.835 ผลการวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดล ปรากฏโดยสรุปว่า ไม่พบความแปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดพฤติกรรมการคบเพื่อนอย่างปลอดภัยในเชิงรูปแบบโมเดล(Form) และน้าหนักองค์ประกอบ (LY) ตามเกรดเฉลี่ย สายการเรียน การศึกษามารดา เพศ และพบอีกว่ามีความแปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดพฤติกรรมการคบเพื่อนอย่างปลอดภัยในเชิงรูปแบบโมเดล(Form) และน้ำหนักองค์ประกอบ (LY) ตามการศึกษาของบิดา และประการที่สี่ แบบวัดพฤติกรรมการคบเพื่อนอย่างปลอดภัย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับแบบวัดพฤติกรรมการใช้ Facebook อย่างปลอดภัย (r=0.41) มากกว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกกับแบบวัดพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ต(r=0.33) ซึ่งสนับสนุนสมมติฐาน แต่มีความสัมพันธ์ทางบวกน้อยกว่าแบบวัดพฤติกรรมการสุขภาพ(r=0.61) ซึ่งปฏิเสธสมมติฐาน
ผลการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยชิ้นแรกๆ ทางด้านการสร้างเครื่องมือวัดพฤติกรรมความปลอดภัยระหว่างบุคคล ตลอดจนมีการวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดด้วย ทำให้นักวิจัยสามารถนำแบบวัดเหล่านี้ไปใช้ได้อย่างมั่นใจในอนาคตในเชิงวิจัย ความสัมพันธ์เปรียบเทียบ และการวิจัยเชิงทดลอง รวมทั้งยังสามารถนำไปใช้ในการคัดกรองนักศึกษาปริญญาตรีในการคัดเลือกเข้าสู่กลุ่มการจัดการพัฒนาได้อีกด้วย
Table of contents
Description
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557