การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับทัศนคติและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
Publisher
Issued Date
2014
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
167 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
ba187880
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
เมษิยา ญาณจินดา (2014). การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับทัศนคติและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3642.
Title
การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับทัศนคติและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
Alternative Title(s)
Information perception concerning the election through social media on the attitudes and behaviors of political participation of citizens in Bangkok
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรของประชาชนในเขต
กรุงเทพมหานคร และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับทัศนคติและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม จานวน 400 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานเพื่อวิเคราะห์ค่าที (t - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One - Way ANOVA)และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า
1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความถี่ในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารฯ ผ่านเว็บไซต์บ่อยครั้ง (ร้อยละ 31.00) มีความถี่ในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารฯ ผ่านเฟซบุ๊กเป็นประจา (ร้อยละ 41.25) ไม่ค่อยมีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารฯ ผ่านทวิตเตอร์ (ร้อยละ 54.00) ไม่ค่อยมีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารฯ ผ่านอินสตาแกรม (ร้อยละ 44.50) มีการติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งฯ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในภาพรวม ในช่วงเวลา 18.01 - 24.00 น. มากที่สุด (ร้อยละ 62.25) และมีเหตุผลในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งฯ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อติดตามข้อมูลข่าวสารทั่วไปมากที่สุด(ร้อยละ 86.50)
2) การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.15) ทัศนคติ เกี่ยวกับการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย (ค่าเฉลี่ย 3.92) และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับบ่อยครั้ง (ค่าเฉลี่ย 3.44)
3) การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ สถานภาพ และอาชีพต่างกัน มีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับการเลือกตั้งแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประชาชนที่มีอายุต่างกัน มีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประชาชนที่มีพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่างกัน มีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ทัศนคติเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และทัศนคติของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้งมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความถี่ในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารฯ ผ่านเว็บไซต์บ่อยครั้ง (ร้อยละ 31.00) มีความถี่ในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารฯ ผ่านเฟซบุ๊กเป็นประจา (ร้อยละ 41.25) ไม่ค่อยมีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารฯ ผ่านทวิตเตอร์ (ร้อยละ 54.00) ไม่ค่อยมีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารฯ ผ่านอินสตาแกรม (ร้อยละ 44.50) มีการติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งฯ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในภาพรวม ในช่วงเวลา 18.01 - 24.00 น. มากที่สุด (ร้อยละ 62.25) และมีเหตุผลในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งฯ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อติดตามข้อมูลข่าวสารทั่วไปมากที่สุด(ร้อยละ 86.50)
2) การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.15) ทัศนคติ เกี่ยวกับการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย (ค่าเฉลี่ย 3.92) และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับบ่อยครั้ง (ค่าเฉลี่ย 3.44)
3) การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ สถานภาพ และอาชีพต่างกัน มีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับการเลือกตั้งแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประชาชนที่มีอายุต่างกัน มีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประชาชนที่มีพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่างกัน มีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ทัศนคติเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และทัศนคติของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้งมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557