• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การศึกษาความพยายามในการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบล กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี

by สิริฤกษ์ ทองกลม

Title:

การศึกษาความพยายามในการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบล กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี

Other title(s):

A study on tax effort of subdistrict administration organizations a case study of Phathum Thani Province

Author(s):

สิริฤกษ์ ทองกลม

Advisor:

อัญชนา ณ ระนอง

Degree name:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2014

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพยายามในการจัดเก็บภาษีโดย เปรียบเทียบภาษีที่จัดเก็บได้จริงกับภาษีที่ควรจะเก็บได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล 2) เพื่อศึกษา เปรียบเทียบความพยายามในการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบลที่มีขนาดเท่ากันและ แตกต่างกัน และอธิบายสาเหตุของความแตกต่าง
การศึกษานี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิและการสัมภาษณ์ในการศึกษาได้แก่ ข้อมูลงบประมาณของ องค์การบริหารส่วนตำบล ย้อนหลัง 3 ปี ตั้งแต่ปี งบประมาณ 2554-2556 ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์คือ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล หัวหน้าฝ่ายการคลัง และเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างตามขนาดขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามการแบ่งขนาดของสำนักงานการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สกถ.) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ขนาด 1) องค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก ได้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงินและองค์การบริหารส่วนตำบลบางพูด 2) องค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลางได้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองสามและองค์การบริหารส่วนตำบลคลองห้า และ 3) องค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลบึงคำพร้อยและองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสี่ โดยภาษีที่นำมาหาค่าความพยายามคือ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่และภาษีบำรุง ผลการศึกษาพบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็กมีความพยายามในการจัดเก็บภาษี ทุกประเภทสูงกว่าองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลางและขนาดใหญ่ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลง ในฐานภาษีในแต่ละปี น้อยและมีพื้นที่รับผิดชอบน้อยการลงสำรวจฐานภาษีจึงทา ได้ง่ายและตรง ตามความเป็นจริง แตกต่างจากองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลางและขนาดใหญ่ ที่มีการ เปลี่ยนแปลงของฐานภาษีในแต่ละปี มาก การสำรวจพื้นที่จึงทา ได้ไม่ทั่วถึง
ปัญหาที่ส่งผลต่อความพยายามในการจัดเก็บภาษี ภาษีโรงเรือนและที่ดิน เป็นภาษีที่มีความ พยายามในการจัดเก็บสูงในองค์การบริหารส่วนตำบลทุกขนาด เนื่องจากผู้เสียภาษีเป็นบุคคลที่อยู่ ในพื้นที่สามารถติดตาม ทวงถามได้ง่าย ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลส่วนใหญ่มีการทำความเข้าใจ กับผู้เสียภาษี แต่ก็มีปัญหาการจัดเก็บในองค์การบริหารส่วนตำบลบางแห่งที่มีการเลี่ยงภาษี โดย อาศัยความใกล้ชิดส่วนตัวกับนักการเมืองท้องถิ่นส่งผลให้การจัดเก็บภาษีต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ภาษีบำรุงท้องที่ เป็นภาษีที่มีปัญหาในการจัดเก็บมากที่สุดขององค์การบริหารส่วนตำบล ทุกขนาด เนื่องจากผู้เสียภาษีบางส่วนไม่ใช่บุคคลที่อยู่ในพื้นที่ การติดตามทวงถามจึงทำได้ยาก ประกอบกับการไม่ได้รับความร่วมมือด้านข้อมูลของผู้ถือครองที่ดินจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง จึงทาให้ความพยายามในการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุกขนาดมีค่า ความพยายามต่ำ
สำหรับภาษีป้าย ความพยายามในการจัดเก็บภาษีป้ายขององค์การบริหารส่วนตำบลทุก ขนาดมีความพยายามในการจัดเก็บใกล้เคียงกัน แต่ก็มียังมีองค์การบริหารส่วนตำบลบางแห่งที่มี ปัญหาในการจัดเก็บ เนื่องจากขาดการเร่งรัดติดตามอย่างจริงจัง เนื่องจากเกรงว่าจะมีผลกระทบต่อ คะแนนความนิยมในพื้นที่ของนักการเมืองท้องถิ่น

Description:

วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557

Subject(s):

ภาษี

Keyword(s):

การจัดเก็บภาษี
ภาษีป้าย
ภาษีบำรุงท้องที่

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

135 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3643
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • ba185735.pdf ( 2,487.11 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [297]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×