ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพึ่งตนเองของชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนคลองลัดมะยม แขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร
Publisher
Issued Date
2013
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
125 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
ba185736
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
อัยรวี วีระพันธ์พงศ์ (2013). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพึ่งตนเองของชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนคลองลัดมะยม แขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3647.
Title
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพึ่งตนเองของชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนคลองลัดมะยม แขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร
Alternative Title(s)
Factors influencing self-reliance community : The case of Klongladmayom Community, Talingchan District, Bangkok
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษามีวัตถุประสงค์การศึกษา 2 ประการ ได้แก่ 1) การพึ่งตนเองของชุมชน
ท้องถิ่นมีลักษณะสำคัญอย่างไร 2) มีปัจจัยอะไรบ้างทีมีอิทธิพลต่อการพึ่งตนเองของชุมชน
ท้องถิ่นไทย
วิธีการศึกษา ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดให้ชุมชมคลองลัดมะยม แแขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร เป็นหน่วยตัวอย่างทีใช้ในการศึกษา โดยนำมาศึกษาวิจัย เชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสำรวจเชิงเอกสาร (Documentary Research), การสังเกตการณ์ (Observation) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้วิจัยได้แบ่งผู้ให้ข้อมูลเป็น 3 กลุ่มหลัก โดยเลือกผู้ทีมีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholders) ซึงจะเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) เกี่ยวกับปัจจัยทีมีอิทธิพลต่อการพึ่งตนเองของชุมชน ดังนี้ 1) แกนนำชุมชน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชนและสมาชิกคณะกรรมการชุมชนทีมบทบาทหลัก จำนวน 2 คน 2) ชาว ชุมชน ซึงเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินการพึงตนเองของชุมชน จำนวน 10 คน 3) เจ้าหน้าที่จากองค์กรภายนอกชุมชนที่เกี่ยวข้อง จำนวน 4 คน
ผลการศึกษา พบว่า ลักษณะการพึ่งตนเองของชุมชนคลองลัดมะยมจำแนกได้ 3 ด้าน ดังนี้ 1) สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตัวของชุมชนเอง ได้แก่ ปัญหาการรุกคืบของหมู่บ้านจัดสรร, ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม, ปัญหาด้านการเงินชุมชน และปัญหาด้านประเพณีและวัฒนธรรมของ ชุมชน 2) ความสามารถในการตัดสินใจกระทำหรือไม่กระทำเกี่ยวกับกิจการต่าง ๆ ภายในชุมชนได้แก่ ความเป็นอิสระในการตัดสินใจดำเนินโครงการต่าง ๆ ด้วยตนเอง และความเป็นอิสระทางด้านการคลัง และ 3) ความยัง ยืนของการพึ่งตนเอง
ปัจจัยทีมีอิทธิพลต่อการพึ่งตนเองของชุมชนคลองลัดมะยม คือ 1) ปัจจัยภายใน ได้แก่ ผู้นำชุมชน ทุนทางเทคโนโลยี ทรัพยากรชุมชน การรวมกลุ่ม และ ความเชื่อมัน ในค่านิยมศาสนา วัฒนธรรม และเอกลักษณ์ของชุมชน 2) ปัจจัยภายนอก คือ หน่วยงานภาครัฐ และ หน่วยงานอื่น ๆ ส่วนอุปสรรคในการพึ่งตนเองของชุมชนคลองลัดมะยม คือ กฎหมาย ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ 1) หน่วยงานทีเกี่ยวข้อง เช่น รัฐบาล องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นควรมีการออกข้อบัญญัติหรือกฎหมายให้สอดคล้องกับเรื่อง สิทธิชุมชน ตามที่ได้ บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 เพื่อเอื้อให้ชุมชนต่าง ๆ สามารถ พึ่ง ตนเองได้ 2) ภาครัฐควรทำความเข้าใจกับหน่วยงานราชการในทุก ๆ ระดับ ให้มีความรู้ความเข้าใจและปรับมุมมองทีมต่อชุมชนว่าเป็นหน่วยทางสังคมหน่วยหนึ่งทีมีความสำคัญในฐานะที่เป็นรากฐานของประเทศ และมีสิทธิตามที่รัฐธรรมนูญได้ให้การรับรองไว้ 3) ควรมีการร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นกับหน่วยงานที่มีฐานะเป็นองค์การมหาชนทีมขอบข่ายการทำงานใกล้เคียงกันให้ควรทำงานส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน ซึ่งจะทำให้ได้ผลสัมฤทธิ์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการทำโดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 4) สำหรับการบริหารงานของกรุงเทพมหานคร ควรดำเนินการกระจายอำนาจให้แก่สำนักงานเขต เนื่องจากกรุงเทพมหานครมีพื้นที่ขนาดใหญ่ การกระจายอำนาจให้แก่สำนักงานเขตจะส่งผลให้ กรุงเทพมหานครสามารถดำเนินการภารกิจต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึง
วิธีการศึกษา ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดให้ชุมชมคลองลัดมะยม แแขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร เป็นหน่วยตัวอย่างทีใช้ในการศึกษา โดยนำมาศึกษาวิจัย เชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสำรวจเชิงเอกสาร (Documentary Research), การสังเกตการณ์ (Observation) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้วิจัยได้แบ่งผู้ให้ข้อมูลเป็น 3 กลุ่มหลัก โดยเลือกผู้ทีมีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholders) ซึงจะเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) เกี่ยวกับปัจจัยทีมีอิทธิพลต่อการพึ่งตนเองของชุมชน ดังนี้ 1) แกนนำชุมชน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชนและสมาชิกคณะกรรมการชุมชนทีมบทบาทหลัก จำนวน 2 คน 2) ชาว ชุมชน ซึงเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินการพึงตนเองของชุมชน จำนวน 10 คน 3) เจ้าหน้าที่จากองค์กรภายนอกชุมชนที่เกี่ยวข้อง จำนวน 4 คน
ผลการศึกษา พบว่า ลักษณะการพึ่งตนเองของชุมชนคลองลัดมะยมจำแนกได้ 3 ด้าน ดังนี้ 1) สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตัวของชุมชนเอง ได้แก่ ปัญหาการรุกคืบของหมู่บ้านจัดสรร, ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม, ปัญหาด้านการเงินชุมชน และปัญหาด้านประเพณีและวัฒนธรรมของ ชุมชน 2) ความสามารถในการตัดสินใจกระทำหรือไม่กระทำเกี่ยวกับกิจการต่าง ๆ ภายในชุมชนได้แก่ ความเป็นอิสระในการตัดสินใจดำเนินโครงการต่าง ๆ ด้วยตนเอง และความเป็นอิสระทางด้านการคลัง และ 3) ความยัง ยืนของการพึ่งตนเอง
ปัจจัยทีมีอิทธิพลต่อการพึ่งตนเองของชุมชนคลองลัดมะยม คือ 1) ปัจจัยภายใน ได้แก่ ผู้นำชุมชน ทุนทางเทคโนโลยี ทรัพยากรชุมชน การรวมกลุ่ม และ ความเชื่อมัน ในค่านิยมศาสนา วัฒนธรรม และเอกลักษณ์ของชุมชน 2) ปัจจัยภายนอก คือ หน่วยงานภาครัฐ และ หน่วยงานอื่น ๆ ส่วนอุปสรรคในการพึ่งตนเองของชุมชนคลองลัดมะยม คือ กฎหมาย ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ 1) หน่วยงานทีเกี่ยวข้อง เช่น รัฐบาล องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นควรมีการออกข้อบัญญัติหรือกฎหมายให้สอดคล้องกับเรื่อง สิทธิชุมชน ตามที่ได้ บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 เพื่อเอื้อให้ชุมชนต่าง ๆ สามารถ พึ่ง ตนเองได้ 2) ภาครัฐควรทำความเข้าใจกับหน่วยงานราชการในทุก ๆ ระดับ ให้มีความรู้ความเข้าใจและปรับมุมมองทีมต่อชุมชนว่าเป็นหน่วยทางสังคมหน่วยหนึ่งทีมีความสำคัญในฐานะที่เป็นรากฐานของประเทศ และมีสิทธิตามที่รัฐธรรมนูญได้ให้การรับรองไว้ 3) ควรมีการร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นกับหน่วยงานที่มีฐานะเป็นองค์การมหาชนทีมขอบข่ายการทำงานใกล้เคียงกันให้ควรทำงานส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน ซึ่งจะทำให้ได้ผลสัมฤทธิ์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการทำโดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 4) สำหรับการบริหารงานของกรุงเทพมหานคร ควรดำเนินการกระจายอำนาจให้แก่สำนักงานเขต เนื่องจากกรุงเทพมหานครมีพื้นที่ขนาดใหญ่ การกระจายอำนาจให้แก่สำนักงานเขตจะส่งผลให้ กรุงเทพมหานครสามารถดำเนินการภารกิจต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึง
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556