มาตรการทางกฎหมายในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาผ่านสื่อสังคมออนไลน์
Publisher
Issued Date
2014
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
120 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
ba185738
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
รชยา สิทธิสิน (2014). มาตรการทางกฎหมายในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาผ่านสื่อสังคมออนไลน์. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3649.
Title
มาตรการทางกฎหมายในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาผ่านสื่อสังคมออนไลน์
Alternative Title(s)
Legal measures for election campaign by social media
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
ในปัจจุบันความก้าวหน้าของสื่อสังคมการสื่อสารแบบเครือข่ายไร้สายมีความก้าวหน้าอย่างรวด
เร็ว แต่กฎหมายที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งยังไม่ได้รับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ทันกับกระแสสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่าใดนัก ทั้งในบริบทที่สามารถเข้าถึงง่ายและไม่จำกัดระยะเวลาการใช้งานของผู้ใช้บริการ ดังนั้น จึงควรมีการศึกษาเกี่ยวกับประเด็นการจัดการในการในการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ศึกษาภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้ควบคุมการหาเสียงเลือกตั้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ รวมทั้งระเบียบ ประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยศึกษาเปรียบเทียบกับมาตรการทางกฎหมาย และวิธีการแก้ไขปัญหาของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศแรก ๆ ที่ได้มีบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์อย่างอิสระ และในประเทศญี่ปุ่นได้มีการแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้ง ให้นักการเมืองสามารถหาเสียงเลือกตั้งผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ แนวคิดเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์อย่างถูกต้องและลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการหาเสียงเลือกตั้งดังกล่าว และเมื่อมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ก็ย่อมต้องมีค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายในกรณีนี้หากสามารถคำนวณได้อย่างถูกต้องก็ย่อมเกิดเสมอภาคกันระหว่างผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งในปัจจุบันของประเทศไทยไม่มีบทบัญญัติไว้ทั้งเรื่องของวิธีการป้องกันการกระทำความผิดกรณีการหาเสียงเลือกตั้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์และช่วงระยะเวลาที่กฎหมายห้ามไม่ให้กระทาการเช่นนั้น ส่วนของการคานวณค่าใช้จ่ายจากการหาเสียงเลือกตั้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์ อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมระหว่างผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ทั้งด้านโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและค่าใช้จ่ายของพรรคการเมือง
จากการศึกษาพบว่าบทบัญญัติของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งวุฒิสภา พ.ศ. 2550 ในส่วนของมาตรา 58 ที่บัญญัติไว้เกี่ยวกับระยะเวลาที่อนุญาตให้หาเสียงเลือกตั้ง และส่วนของมาตรา 52 ที่บัญญัติไว้เกี่ยวกับการคิดค่าใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพราะไม่มีมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายในส่วนของการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อวัตถุประสงค์ในการหาเสียงเลือกตั้งที่ชัดเจน ทั้งยังยากต่อการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายจ่ายกรณีดังกล่าว ในเรื่องของหน่วยงานที่ควบคุมการหาเสียงเลือกตั้งนั้น ปัจจุบันคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ขอความร่วมมือจาก กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร สานักงานตำรวจแห่งชาติกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เพื่อควบคุมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในช่วงระหว่างพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง เมื่อมีหลายหน่วยงานทำหน้าที่อย่างเดียวกัน การทางานก็ย่อมซ้ำซ้อนกัน และทาให้สิ้นเปลืองบุคลากรและงบประมาณแผ่นดินอีกด้วย
ดังนั้น เพื่อการแก้ไขกรณีปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนเห็นควรว่าต้องมีการแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สามารถหาเสียงเลือกตั้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์ได้โดย ให้มีข้อจากัดในส่วนของระยะเวลา และให้มีการแจ้งการซื้อหรือเช่าอีเมล์ที่พรรคการเมืองจะใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง และรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการใช้อีเมล์ให้โอนข้อมูลนั้นไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้งด้วย เช่นเดียวกับประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนของการติดตามการกระทาความผิดในสื่อสังคมออนไลน์ก็ให้มีหน่วยงานที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารมาโดยเฉพาะ เพียงหน่วยงานเดียวและควรขึ้นตรงต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อให้มีแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกันและมีประสิทธิภาพ
จากการศึกษาพบว่าบทบัญญัติของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งวุฒิสภา พ.ศ. 2550 ในส่วนของมาตรา 58 ที่บัญญัติไว้เกี่ยวกับระยะเวลาที่อนุญาตให้หาเสียงเลือกตั้ง และส่วนของมาตรา 52 ที่บัญญัติไว้เกี่ยวกับการคิดค่าใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพราะไม่มีมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายในส่วนของการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อวัตถุประสงค์ในการหาเสียงเลือกตั้งที่ชัดเจน ทั้งยังยากต่อการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายจ่ายกรณีดังกล่าว ในเรื่องของหน่วยงานที่ควบคุมการหาเสียงเลือกตั้งนั้น ปัจจุบันคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ขอความร่วมมือจาก กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร สานักงานตำรวจแห่งชาติกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เพื่อควบคุมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในช่วงระหว่างพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง เมื่อมีหลายหน่วยงานทำหน้าที่อย่างเดียวกัน การทางานก็ย่อมซ้ำซ้อนกัน และทาให้สิ้นเปลืองบุคลากรและงบประมาณแผ่นดินอีกด้วย
ดังนั้น เพื่อการแก้ไขกรณีปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนเห็นควรว่าต้องมีการแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สามารถหาเสียงเลือกตั้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์ได้โดย ให้มีข้อจากัดในส่วนของระยะเวลา และให้มีการแจ้งการซื้อหรือเช่าอีเมล์ที่พรรคการเมืองจะใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง และรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการใช้อีเมล์ให้โอนข้อมูลนั้นไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้งด้วย เช่นเดียวกับประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนของการติดตามการกระทาความผิดในสื่อสังคมออนไลน์ก็ให้มีหน่วยงานที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารมาโดยเฉพาะ เพียงหน่วยงานเดียวและควรขึ้นตรงต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อให้มีแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกันและมีประสิทธิภาพ
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557