มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ในมุมมุงทางกฎหมายมหาชน
Publisher
Issued Date
2014
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
155 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
ba185730
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
บัณฑิต บุญกระเตื้อง (2014). มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ในมุมมุงทางกฎหมายมหาชน. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3654.
Title
มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ในมุมมุงทางกฎหมายมหาชน
Alternative Title(s)
Section 12 of the national health Act B.E. 2550 in aspect of public law
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่องนี้มีความมุ่งหมายที่จะวิเคราะห์และตอบปัญหาทางกฎหมายมหาชนที่เกิดจากการบังคับใช้ มาตรา 12 ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวเป็นสิทธิของบุคคลในการที่จะปฏิเสธการรักษาพยาบาลในขณะที่อยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต และแพทย์ได้วินิจฉัยตามมาตรฐานทางการแพทย์แล้วว่าไม่มีหนทางที่จะรักษาให้หายจากอาการ หรือโรคที่เป็นอยู่ได้โดยปฏิเสธที่จะรับกระบวนการรักษาจากเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เขาถือว่าไม่เป็นประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตของขา และอาจทำให้ต้องอยู่ในสภาพไร้ศศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และก่อให้เกิดปัญหาที่ตามมาต่อญาติพี่น้องและครอบครัว ที่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงมากจากเทคโนโลยีเหล่านั้น
ปัญหาที่ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการใช้สิทธิปฏิเสธการรักษาในประเทศไทย เกิดจากผู้เกี่ยวข้องโดยตรงต่อการใช้สิทธิของผู้ป่วย โดยเฉพาะแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ส่วนหนึ่งที่ยังไม่มีความเข้าใจในหลัการและเจตนารมณ์ซึ่งเป็นหลักการทางกฎหมายมหาชน อันได้แก่หลักการ สิทธิเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มาตรา 12 ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 จึงทำให้เกิดความกังวลว่าจะต้องรับผิด หากต้องปฏิบัติตามหนังสือแสดงเจตนาของผู้ป่วยที่ปฏิเสธการรักษาพยาบาล
จากการศึกษาและวิเคราะห์กฎหมายมาตรา 12 ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ในมุมมองทางกฎหมายมหาชน และปัญหาที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมาย ผู้ศึกษาขอเสนอว่ากฎหมายเกี่ยวกับสิทธิปฏิเสธการรักษาควรจะยกฐานะให้เป็นกฏหมายระดับพระราชบัญญัติโดยนำหลักเกณฑ์ในกฏกระทรวงมากำหนดเป็นมาตราที่สำคัญ ซึ่งกฎหมายปัจจุบันยังไม่มีบัญญัติไว้ชัดเจน เช่น บทบัญญัติที่กำหนดในเรื่องบทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้อง กำหนดให้มีบทลงโทษทั้งทางแพ่งและอาญากับบุคคลที่มีเจตนาทุจริต ฉ้อฉล และลงโทษแพทย์ที่ได้กระทำผิดจรรยาบรรณของแพทย์จนทำให้ผู้ป่วยเสียหายหรือได้รับอันตราย และเงื่อนไขอื่นๆ ที่จำเป็นในการคุ้มครองสิทธิของประชาชนบทบัญญัติที่เกี่ยวกับองค์กรและวิธีการในการตัดสินหรือไกล่เกลี่ยกรณีมีปัญหาการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สิทธิของประชาชนตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อป้องกันหรือลดการฟ้องร้องให้เป็นคดีต่อศาลและควรส่งเสริมให้มีหน่วยงานในการให้บริการกับประชาชน ในการใช้สิทธิปฏิเสธการรักษาพยาบาลในวาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องเป็นองค์กรของรัฐ ให้มีหน้าที่ในการให้บริการแก่ประชาชนและดำเนินการเกี่ยวกับการทำหนังสือแสดงเจตจำนงล่วงหน้าในการปฏิเสธ การรักษาพยาบาลและเป็นแหล่งรวมทั้งทางด้านกฎหมาย วิชาการ ศาสนาและด้านอื่นๆ เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนและผู้ต้องการใช้สิทธิปฎิเสธการรักษาอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ
ปัญหาที่ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการใช้สิทธิปฏิเสธการรักษาในประเทศไทย เกิดจากผู้เกี่ยวข้องโดยตรงต่อการใช้สิทธิของผู้ป่วย โดยเฉพาะแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ส่วนหนึ่งที่ยังไม่มีความเข้าใจในหลัการและเจตนารมณ์ซึ่งเป็นหลักการทางกฎหมายมหาชน อันได้แก่หลักการ สิทธิเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มาตรา 12 ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 จึงทำให้เกิดความกังวลว่าจะต้องรับผิด หากต้องปฏิบัติตามหนังสือแสดงเจตนาของผู้ป่วยที่ปฏิเสธการรักษาพยาบาล
จากการศึกษาและวิเคราะห์กฎหมายมาตรา 12 ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ในมุมมองทางกฎหมายมหาชน และปัญหาที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมาย ผู้ศึกษาขอเสนอว่ากฎหมายเกี่ยวกับสิทธิปฏิเสธการรักษาควรจะยกฐานะให้เป็นกฏหมายระดับพระราชบัญญัติโดยนำหลักเกณฑ์ในกฏกระทรวงมากำหนดเป็นมาตราที่สำคัญ ซึ่งกฎหมายปัจจุบันยังไม่มีบัญญัติไว้ชัดเจน เช่น บทบัญญัติที่กำหนดในเรื่องบทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้อง กำหนดให้มีบทลงโทษทั้งทางแพ่งและอาญากับบุคคลที่มีเจตนาทุจริต ฉ้อฉล และลงโทษแพทย์ที่ได้กระทำผิดจรรยาบรรณของแพทย์จนทำให้ผู้ป่วยเสียหายหรือได้รับอันตราย และเงื่อนไขอื่นๆ ที่จำเป็นในการคุ้มครองสิทธิของประชาชนบทบัญญัติที่เกี่ยวกับองค์กรและวิธีการในการตัดสินหรือไกล่เกลี่ยกรณีมีปัญหาการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สิทธิของประชาชนตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อป้องกันหรือลดการฟ้องร้องให้เป็นคดีต่อศาลและควรส่งเสริมให้มีหน่วยงานในการให้บริการกับประชาชน ในการใช้สิทธิปฏิเสธการรักษาพยาบาลในวาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องเป็นองค์กรของรัฐ ให้มีหน้าที่ในการให้บริการแก่ประชาชนและดำเนินการเกี่ยวกับการทำหนังสือแสดงเจตจำนงล่วงหน้าในการปฏิเสธ การรักษาพยาบาลและเป็นแหล่งรวมทั้งทางด้านกฎหมาย วิชาการ ศาสนาและด้านอื่นๆ เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนและผู้ต้องการใช้สิทธิปฎิเสธการรักษาอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557