dc.contributor.advisor | บรรเจิด สิงคะเนติ | th |
dc.contributor.author | บัณฑิต บุญกระเตื้อง | th |
dc.date.accessioned | 2018-03-22T08:52:30Z | |
dc.date.available | 2018-03-22T08:52:30Z | |
dc.date.issued | 2014 | th |
dc.identifier.other | ba185730 | th |
dc.identifier.uri | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3654 | th |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557 | th |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่องนี้มีความมุ่งหมายที่จะวิเคราะห์และตอบปัญหาทางกฎหมายมหาชนที่เกิดจากการบังคับใช้ มาตรา 12 ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวเป็นสิทธิของบุคคลในการที่จะปฏิเสธการรักษาพยาบาลในขณะที่อยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต และแพทย์ได้วินิจฉัยตามมาตรฐานทางการแพทย์แล้วว่าไม่มีหนทางที่จะรักษาให้หายจากอาการ หรือโรคที่เป็นอยู่ได้โดยปฏิเสธที่จะรับกระบวนการรักษาจากเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เขาถือว่าไม่เป็นประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตของขา และอาจทำให้ต้องอยู่ในสภาพไร้ศศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และก่อให้เกิดปัญหาที่ตามมาต่อญาติพี่น้องและครอบครัว ที่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงมากจากเทคโนโลยีเหล่านั้น | th |
dc.description.abstract | ปัญหาที่ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการใช้สิทธิปฏิเสธการรักษาในประเทศไทย เกิดจากผู้เกี่ยวข้องโดยตรงต่อการใช้สิทธิของผู้ป่วย โดยเฉพาะแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ส่วนหนึ่งที่ยังไม่มีความเข้าใจในหลัการและเจตนารมณ์ซึ่งเป็นหลักการทางกฎหมายมหาชน อันได้แก่หลักการ สิทธิเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มาตรา 12 ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 จึงทำให้เกิดความกังวลว่าจะต้องรับผิด หากต้องปฏิบัติตามหนังสือแสดงเจตนาของผู้ป่วยที่ปฏิเสธการรักษาพยาบาล | th |
dc.description.abstract | จากการศึกษาและวิเคราะห์กฎหมายมาตรา 12 ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ในมุมมองทางกฎหมายมหาชน และปัญหาที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมาย ผู้ศึกษาขอเสนอว่ากฎหมายเกี่ยวกับสิทธิปฏิเสธการรักษาควรจะยกฐานะให้เป็นกฏหมายระดับพระราชบัญญัติโดยนำหลักเกณฑ์ในกฏกระทรวงมากำหนดเป็นมาตราที่สำคัญ ซึ่งกฎหมายปัจจุบันยังไม่มีบัญญัติไว้ชัดเจน เช่น บทบัญญัติที่กำหนดในเรื่องบทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้อง กำหนดให้มีบทลงโทษทั้งทางแพ่งและอาญากับบุคคลที่มีเจตนาทุจริต ฉ้อฉล และลงโทษแพทย์ที่ได้กระทำผิดจรรยาบรรณของแพทย์จนทำให้ผู้ป่วยเสียหายหรือได้รับอันตราย และเงื่อนไขอื่นๆ ที่จำเป็นในการคุ้มครองสิทธิของประชาชนบทบัญญัติที่เกี่ยวกับองค์กรและวิธีการในการตัดสินหรือไกล่เกลี่ยกรณีมีปัญหาการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สิทธิของประชาชนตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อป้องกันหรือลดการฟ้องร้องให้เป็นคดีต่อศาลและควรส่งเสริมให้มีหน่วยงานในการให้บริการกับประชาชน ในการใช้สิทธิปฏิเสธการรักษาพยาบาลในวาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องเป็นองค์กรของรัฐ ให้มีหน้าที่ในการให้บริการแก่ประชาชนและดำเนินการเกี่ยวกับการทำหนังสือแสดงเจตจำนงล่วงหน้าในการปฏิเสธ การรักษาพยาบาลและเป็นแหล่งรวมทั้งทางด้านกฎหมาย วิชาการ ศาสนาและด้านอื่นๆ เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนและผู้ต้องการใช้สิทธิปฎิเสธการรักษาอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ | th |
dc.description.provenance | Submitted by นักศึกษาฝึกงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์_2561 (บุษกร แก้วพิทักษ์คุณ) (budsak.a@nida.ac.th) on 2018-03-22T08:52:30Z
No. of bitstreams: 1
ba185730.pdf: 9163197 bytes, checksum: eabe19af6298ff3ba0b31db85240d9e0 (MD5) | th |
dc.description.provenance | Made available in DSpace on 2018-03-22T08:52:30Z (GMT). No. of bitstreams: 1
ba185730.pdf: 9163197 bytes, checksum: eabe19af6298ff3ba0b31db85240d9e0 (MD5)
Previous issue date: 2014 | th |
dc.format.extent | 155 แผ่น | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.language.iso | tha | th |
dc.publisher | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | th |
dc.subject.other | กฎหมาย | th |
dc.title | มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ในมุมมุงทางกฎหมายมหาชน | th |
dc.title.alternative | Section 12 of the national health Act B.E. 2550 in aspect of public law | th |
dc.type | Text | th |
mods.genre | วิทยานิพนธ์ | th |
mods.physicalLocation | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา | th |
thesis.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | th |
thesis.degree.level | Master's | th |
thesis.degree.discipline | นิติศาสตร์ | th |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
thesis.degree.department | คณะนิติศาสตร์ | th |