ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญาหลักประกันทางธุรกิจตามร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. ....
Publisher
Issued Date
2014
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
323 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b185727
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
นิรมล นพสิทธิ์ (2014). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญาหลักประกันทางธุรกิจตามร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. ..... Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3657.
Title
ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญาหลักประกันทางธุรกิจตามร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. ....
Alternative Title(s)
Legal issue in term of commercial collateral in according to the draft of commercial collateral Act BE. ...
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การประกันการชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินเป็นมาตรการหนึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการประกอบธุรกิจในการหาเงินทุนหมุนเวียนมาใช้ในการประกอบธุรกิจ การประกันการชำระหนี้ด้วยทรัพย์จึงเป็นส่วนสำคัญต่อการส่งเสริมการลงทุนในการประกอบธุรกิจและพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมให้มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้นย่อมมีความมั่นใจว่าแม้ลูกหนี้หรือผู้ขอสินเชื่อจะไม่ชำระหนี้ ธนาคารหรือสถาบันการเงินก็ยังสามารถที่จะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันได้
ส่วนลักษณะของกฎหมายหลักประกันการชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมีผลบังคับใช้ในปัจจุบันมีเพียงการจำนอง จำนำ สิทธิยึดหน่วงและบุริมสิทธิเท่านั้น และบทบาทบัญญัติไม่เอื้อต่อการใช้ประโยชน์จากหลักทรัพย์บางประเภทที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่น โครงการหรือกิจการ (Project) สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods) ทรัพย์สินไม่มีรูปร่าง (General Intangibles) ซึ่งองค์กรธุรกิจนั้นมีอยู่เพื่อใช้ประกันการชำระหนี้ ทั้งนี่เพราะว่าการประกันการชำระหนี้ด้วยการจำนองกฎหมายได้กำหนดทรัพย์สินที่อาจจำนองไว้ได้แต่เพียงอสังหาริมทรัพย์แลพสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษเท่านั้น ส่วนการประกันการชำระหนี้ด้วยจำนำนั้นกฎหมายได้กำหนดให้ลูกหนี้ผู้ให้หลักประกันจะต้องส่งมอบทรัพย์สินหลักประกันให้อยู่ในความครอบครองของเจ้าหนี้ผู้รับหลักประกัน ลูกหนี้จึงไม่สามารถใช้หลักทรัพย์ดังกล่าวใน การผลิต จำหน่าย หรือประกอบธุรกิจเพื่อหารายได้มาชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ผู้ประกอบการจึงไม่สามารถใช้ทรัพย์สินดังกล่าวให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Maximize Profit) ได้อย่างแท้จริง
ดังนั้นจึงได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. ... ขึ้นเพิ่มเติมจากบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับหลักประกันที่มีอยู่ตามประชมวลประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือตามกฎหมายอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน โดยมีแนวคิดพื้นฐานเพิ่มประเภททรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจให้สามารถนำมาเป็นหลักประกันการชำระหนี้ได้และลูกหนี้ไม่ต้องส่งมอบการครอบครองทรัพย์หลักประกันให้แก่เจ้าหนี้ เพื่อประโชยน์ แก่ลูกหนี้ในการที่จะใช้สอยหาประโยชน์จากทรัพย์หลักประกันในการประกอบธุรกิจต่อไป
ส่วนลักษณะของกฎหมายหลักประกันการชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมีผลบังคับใช้ในปัจจุบันมีเพียงการจำนอง จำนำ สิทธิยึดหน่วงและบุริมสิทธิเท่านั้น และบทบาทบัญญัติไม่เอื้อต่อการใช้ประโยชน์จากหลักทรัพย์บางประเภทที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่น โครงการหรือกิจการ (Project) สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods) ทรัพย์สินไม่มีรูปร่าง (General Intangibles) ซึ่งองค์กรธุรกิจนั้นมีอยู่เพื่อใช้ประกันการชำระหนี้ ทั้งนี่เพราะว่าการประกันการชำระหนี้ด้วยการจำนองกฎหมายได้กำหนดทรัพย์สินที่อาจจำนองไว้ได้แต่เพียงอสังหาริมทรัพย์แลพสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษเท่านั้น ส่วนการประกันการชำระหนี้ด้วยจำนำนั้นกฎหมายได้กำหนดให้ลูกหนี้ผู้ให้หลักประกันจะต้องส่งมอบทรัพย์สินหลักประกันให้อยู่ในความครอบครองของเจ้าหนี้ผู้รับหลักประกัน ลูกหนี้จึงไม่สามารถใช้หลักทรัพย์ดังกล่าวใน การผลิต จำหน่าย หรือประกอบธุรกิจเพื่อหารายได้มาชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ผู้ประกอบการจึงไม่สามารถใช้ทรัพย์สินดังกล่าวให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Maximize Profit) ได้อย่างแท้จริง
ดังนั้นจึงได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. ... ขึ้นเพิ่มเติมจากบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับหลักประกันที่มีอยู่ตามประชมวลประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือตามกฎหมายอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน โดยมีแนวคิดพื้นฐานเพิ่มประเภททรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจให้สามารถนำมาเป็นหลักประกันการชำระหนี้ได้และลูกหนี้ไม่ต้องส่งมอบการครอบครองทรัพย์หลักประกันให้แก่เจ้าหนี้ เพื่อประโชยน์ แก่ลูกหนี้ในการที่จะใช้สอยหาประโยชน์จากทรัพย์หลักประกันในการประกอบธุรกิจต่อไป