การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยจากการดักฟังทางโทรศัพท์และการได้มาซึ่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 14 จัตวา แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519
by นิทธันต์ ขันธรูจี
Title: | การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยจากการดักฟังทางโทรศัพท์และการได้มาซึ่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 14 จัตวา แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 |
Other title(s): | Protection of the rights of the accused or defendant intercepted telephone and data acquisition electronics knicks under section 14 of laws in pursuance to the narcotics control Act, B.E. 2519 (1976) |
Author(s): | นิทธันต์ ขันธรูจี |
Advisor: | บรรเจิด สิงคะเนติ |
Degree name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | นิติศาสตร์ |
Degree department: | คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2013 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
ในการก่ออาชญากรรมในคดียาเสพติดล้วนแล้วแต่มีผลประโยชน์มหาศาลมาเกี่ยวข้องทำให้การวางแผนการในการกระทำความผิดมีความซับซ้อนมีกิจกรรมในองค์กรหลายลักษณะ ฉะนั้นองค์กรในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาจึงจำเป็นต้องพัฒนารูปแบบในการแสวงหาข้อเท็จจริงตลอดจนพยานหลักฐานในการที่จะนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษให้ได้ มิเช่นนั้นสังคมก็จะดำรงอยู่ไม่ได้ เพราะเหตุนี้เองในพฤติการณ์พิเศษในบางกรณีเจ้าพนักงานของรัฐจำเป็นต้องนำมาตรการสืบสวนวิธีพิเศษสมัยใหม่ให้มีความทันสมัยต่อเทคโนโลยีและการพัฒนารูปแบบของการกระทำความผิด วิธีการสืบสวนสอบสสวนที่เคยใช้อยู่เดิมจึงไม่อาจนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ ดังนั้น การดักฟังทางโทรศัพท์และการได้มาซึ่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ในคดียาเสพติดนั้นตามมาตรา 14 จัตวาแห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2519 มีผลกระทบต่อสิทธิส่วนบุคคลเป็นอย่างมากผู้ที่บังคับใช้มาตรการดังกล่าวต้องมีความละเอียดอ่อนการบังคับใช้ เนื่องจากมาตรการดังกล่าวมีข้อจำกัด ในประเด็นปัญหานี้แม้ในปัจจุบันอาชญากรรมในความผิดบางประเภทที่รัฐมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เทคโนโลยีในการดักฟังโทรศัพท์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินคดี แต่ในขณะเดียวกัน หารการใช้อำนาจรัฐในการดักฟังโทรศัพท์เป็นไปโดยไม่มีหลักเกณฑ์หรือหลักประกันในการควบคุมการใช้อำนาจนั้นแล้ว สิ่งที่เป็นปัญหาซึ่งอาจตามมาก็คือ การใช้อำนาจรัฐก็จะเป็นไปตามอำเภอใจของเจ้าพนักงานผู้ใช้อำนาจนั้นเสียเอง อันอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประกอบอาชญากรรมให้ต้องได้รับความเสียหายได้ |
Keyword(s): | การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 69 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha eng |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Rights holder(s): | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3658 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ba185728.pdf ( 4,608.83 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
|