• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ลักษณะบ่งเฉพาะในภาพลักษณ์โดยรวมประเภทบรรจุภัณฑ์

by ณัฐิญา ศิลปอนันต์

Title:

ลักษณะบ่งเฉพาะในภาพลักษณ์โดยรวมประเภทบรรจุภัณฑ์

Other title(s):

The distinctive of package trade dress

Author(s):

ณัฐิญา ศิลปอนันต์

Advisor:

วริยา ล้ำเลิศ

Degree name:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2014

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

ปัจจุบันห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่หลายแห่ง มีการวางจำหน่ายสินค้าโดยบรรจุภัณฑ์มีความ คล้ายกับสินค้าประเภทเดียวกันของผู้ผลิตรายอื่น แม้จะใช้เครื่องหมายการค้าที่แตกต่างกันก็ตาม ทั้งนี้โดยทั่วไปผู้บริโภคมีพฤติกรรมการเลือกซื้อและตัดสินใจซื้อสินค้าโดยการจดจำลักษณะภายนอกในแบบโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้บริโภคที่ไม่รู้หนังสือ ไม่อาจแยกแยะความแตกต่างจากการอ่านชื่อทางการค้า ก็จะอาศัยการจดจำลักษณะที่เห็นได้ชัดเจน เช่น รูปลักษณะ กลุ่มของสี เป็นต้น สิ่งที่ง่ายที่สุดที่ผู้บริโภคจะจำ ก็คือ บรรจุภัณฑ์ เมื่อบรรจุภัณฑ์มีความคล้ายกันแล้ว ย่อมสร้างความสับสนหลงผิดในการแยกแยะความแตกต่างแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือผู้ผลิตสินค้าได้
ภาพลักษณ์โดยรวม (Trade Dress) เป็นลักษณะภายนอกทั้งหมดที่สร้างความจดจำให้กับ ผู้บริโภค และไม่ใช่สินค้าโดยตรง โดยบรรจุภัณฑ์เป็นหนึ่งในแปดประเภทของภาพลักษณ์โดยรวม ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ไม่ได้บัญญัติให้ ภาพลักษณ์โดยรวม ประเภทบรรจุภัณฑ์ เป็นเครื่องหมายอันอาจขอยื่นจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าได้ ผลทาง กฎหมายคือ เจ้าของภาพลักษณ์โดยรวมประเภทบรรจุภัณฑ์มีสิทธิในการฟ้องคดีกับผู้กระทำการไม่ สุจริตได้ตามหลักการลวงขาย ซึ่งจะมีภาระการพิสูจน์ที่ยุ่งยากกว่าเครื่องหมายที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าแล้ว เช่น ต้องพิสูจน์ว่ามีการใช้มาเป็นระยะเวลานาน แสดงหลักฐานการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เสนอพยานบุคคล เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยังคงมีข้อพิพาทเกี่ยวกับภาพลักษณ์โดยรวมประเภทบรรจุภัณฑ์ขึ้นสู่การพิจารณาคดีต่อศาล ผู้ศึกษาจึงได้ศึกษาการพิจารณาถึงลักษณะบ่งเฉพาะในภาพลักษณ์โดยรวมประเภทบรรจุภัณฑ์ของศาล และศึกษาว่าในกรณีที่ประเทศไทยบัญญัติให้ภาพลักษณ์โดยรวมประเภทบรรจุภัณฑ์เป็นเครื่องหมายแล้ว จะต้องมีขอบเขตของลักษณะบ่งเฉพาะทั้งลักษณะบ่งเฉพาะที่เกิดจากตัวเองและเกิดจากการใช้เพียงใด
ผู้ศึกษาจึงได้ทำการศึกษาลักษณะบ่งเฉพาะคุ้มครองภาพลักษณ์โดยรวมประเภทบรรจุภัณฑ์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสิงคโปร์ และนำมาเปรียบเทียบกับประเทศไทย เกิดเป็นข้อเสนอให้ แก้ไขพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ให้ครอบคลุมถึงภาพลักษณ์โดยรวม ประเภทบรรจุภัณฑ์ และกำหนดขอบเขตของลักษณะบ่งเฉพาะที่เกิดจากตัวเองและเกิดจากการใช้ อันจะทำให้เกิดความชัดเจนในการคุ้มครองและพิสูจน์ภาพลักษณ์โดยรวมประเภทบรรจุภัณฑ์ต่อไป.

Description:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557

Subject(s):

การบรรจุหีบห่อ
บรรจุภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์ -- ไทย

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

117 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3670
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • ba187005.pdf ( 1,678.27 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [163]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×