กระบวนการในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอุทยานบูโด-สุไหงปาตี ประกาศเขตทับที่ดินทำกินราษฏร กรณีศึกษา อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
Files
Publisher
Issued Date
2015
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
114 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b188667
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สมภพ พร้อมพอชื่นบุญ (2015). กระบวนการในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอุทยานบูโด-สุไหงปาตี ประกาศเขตทับที่ดินทำกินราษฏร กรณีศึกษา อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3703.
Title
กระบวนการในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอุทยานบูโด-สุไหงปาตี ประกาศเขตทับที่ดินทำกินราษฏร กรณีศึกษา อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
Alternative Title(s)
The resolution process concerning land conflict caused by the declaration of Budo-Sungai Padi Nation Park : A case study in Bacho District, Narathiwat Province
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจบริบทของปัญหาความขัดแย้งเรื่องที่ดิน วิถีชีวิต
ของชาวมุสลิมที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต กระบวนการทำงานในรูปของเครือข่ายเพื่อแก้ไขปัญหา
ความขัดแย้งในที่ดินอันเนื่องจากการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดีทับที่ดินของ
ราษฎร รวมถึงวิเคราะห์บทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา การวิจัยนี้เป็นการวิจัย
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ทำการรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการ
สังเกตแบบมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา การจัดหมวดหมู่ข้อมูล การ
อธิบายเหตุผลเชิงตรรกะ และการสร้างข้อสรุปเชิงอุปนัย
ผลการศึกษา พบว่า ปัญหาความขัดแย้งเรื่องที่ดินอันเนื่องจาการประกาศเขตอุทยาน แห่งชาติบูโด-ปาดี เป็นปัญหาที่รัฐใช้กฎหมายและอำนาจในการจัดการกับทรัพยากรโดยไม่คำนึงถึง ลักษณะและรูปแบบการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและที่ดินในพื้นที่ตามวิถีของคนในท้องถิ่น ที่มี มาอย่างยาวนานก่อนการประกาศใช้กฎหมาย คนในท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิมชาติพันธุ์ มลายู มีวิถีชีวิตที่ตั้งอยู่บนหลักคำสอนของศาสนาอิสลามเป็ นสำคัญ บวกกับการปฏิบัติตาม ประเพณีและจารีตท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์มลายู มีการดำรงชีพที่พึ่งพาอย่างเกื้อกูลกันกับ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมากมาตั้งแต่อดีต ปัญหาเริ่มปรากฏขึ้นหลังจากได้มีการประกาศเขตป่ า สงวนปี พ.ศ. 2508 ตามด้วยการประกาศเขตอุทยานปี พ.ศ. 2542 อันเป็นผลให้รัฐนำเอาอำนาจทาง กฎหมายมาบังคับใช้เป็นหลัก ในการจัดการกับที่ดินทำกินของราษฎรที่ทับซ้อนกับเขตอุทยาน การ ที่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องขาดความเข้าใจบริบทด้านวิถีชีวิตและประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นทำให้เกิด ความขัดแย้งและความไม่ไว้วางใจ ระหว่างคนในพื้นที่กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ เมื่อหาทางออกที่ เหมาะสมไม่ได้ ชาวบ้านในพื้นที่จึงมีการรวมตัวกันในรูปของเครือข่ายเพื่อเพิ่มพลังของชุมชน โดยการทำงานร่วมกับผู้นำท้องถิ่น และประสานงานขอความร่วมมือจากหน่วยงานรัฐในท้องที่ ด้วยการ สนับสนุนของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ดำเนินการเคลื่อนไหวและปรึกษาหารือเพื่อหาทางออก มีการนำแนวทางศาสนาอิสลามและประเพณีท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการบริหารการทำงาน อีกทั้ง ยังใช้วิธีการที่เหมาะสม คือ การทำแผนที่ทำมือ ผสมผสานเทคโนโลยีที่ทันสมัย โปรแกรม GIS และ GPS มาใช้ในรวบรวม และตรวจสอบข้อมูล รวมทั้งการทำแผนที่และการปรับปรุงระบบการ ทำงาน กระบวนการทำงานแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ 1) ระดับหมู่บ้านและตำบล 2) ระดับอำเภอและ จังหวัด และ 3) ระดับนโยบาย ผลจากการเคลื่อนไหวนี้ นำไปสู่การสร้างความเข้าใจที่ดีขึ้นถึง ปัญหา ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ดินและวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น เกิดความโปร่งใสในการ ทำงาน มีการประสานงานกับหลายฝ่าย ตลอดจนมีการปรับระบบการทำงานระหว่างกันให้เหมาะ กับสถานการณ์ จนทำให้ทุกฝ่ายที่มาร่วมกันเป็นภาคีสามารถทำงานร่วมกันอย่างมีเหตุผลและมี ความสมดุล ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของชาวบ้านกับหน่วยงานท้องถิ่นและท้องที่ มีการขับเคลื่อนการการทำงานอย่างเป็นระบบ จนสามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม โดยมี หน่วยงานของรัฐระดับอำเภอเป็นศูนย์กลางในการประสานงานระหว่างภาคีต่างๆ อันส่งเสริมให้ เกิดความเข้าใจร่วมกันและไว้วางใจกันในการทำงาน
ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมควรนำบทเรียนที่ ได้จากกระบวนการดำเนินการในพื้นที่นี้ ไปใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาเพื่อจัดการ ความขัดแย้งในเรื่องที่ใกล้เคียงกัน ด้วยการเปิดพื้นที่ให้คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันเพื่อ สะท้อนความจริง และร่วมหาทางแก้ไขปัญหาให้ตรงกับความจริง ส่งเสริมให้มีการปฏิสัมพันธ์ อย่างสร้างสรรค์ พร้อมกับประสานหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ร่วมเป็นภาคีในการพัฒนา
ผลการศึกษา พบว่า ปัญหาความขัดแย้งเรื่องที่ดินอันเนื่องจาการประกาศเขตอุทยาน แห่งชาติบูโด-ปาดี เป็นปัญหาที่รัฐใช้กฎหมายและอำนาจในการจัดการกับทรัพยากรโดยไม่คำนึงถึง ลักษณะและรูปแบบการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและที่ดินในพื้นที่ตามวิถีของคนในท้องถิ่น ที่มี มาอย่างยาวนานก่อนการประกาศใช้กฎหมาย คนในท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิมชาติพันธุ์ มลายู มีวิถีชีวิตที่ตั้งอยู่บนหลักคำสอนของศาสนาอิสลามเป็ นสำคัญ บวกกับการปฏิบัติตาม ประเพณีและจารีตท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์มลายู มีการดำรงชีพที่พึ่งพาอย่างเกื้อกูลกันกับ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมากมาตั้งแต่อดีต ปัญหาเริ่มปรากฏขึ้นหลังจากได้มีการประกาศเขตป่ า สงวนปี พ.ศ. 2508 ตามด้วยการประกาศเขตอุทยานปี พ.ศ. 2542 อันเป็นผลให้รัฐนำเอาอำนาจทาง กฎหมายมาบังคับใช้เป็นหลัก ในการจัดการกับที่ดินทำกินของราษฎรที่ทับซ้อนกับเขตอุทยาน การ ที่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องขาดความเข้าใจบริบทด้านวิถีชีวิตและประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นทำให้เกิด ความขัดแย้งและความไม่ไว้วางใจ ระหว่างคนในพื้นที่กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ เมื่อหาทางออกที่ เหมาะสมไม่ได้ ชาวบ้านในพื้นที่จึงมีการรวมตัวกันในรูปของเครือข่ายเพื่อเพิ่มพลังของชุมชน โดยการทำงานร่วมกับผู้นำท้องถิ่น และประสานงานขอความร่วมมือจากหน่วยงานรัฐในท้องที่ ด้วยการ สนับสนุนของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ดำเนินการเคลื่อนไหวและปรึกษาหารือเพื่อหาทางออก มีการนำแนวทางศาสนาอิสลามและประเพณีท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการบริหารการทำงาน อีกทั้ง ยังใช้วิธีการที่เหมาะสม คือ การทำแผนที่ทำมือ ผสมผสานเทคโนโลยีที่ทันสมัย โปรแกรม GIS และ GPS มาใช้ในรวบรวม และตรวจสอบข้อมูล รวมทั้งการทำแผนที่และการปรับปรุงระบบการ ทำงาน กระบวนการทำงานแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ 1) ระดับหมู่บ้านและตำบล 2) ระดับอำเภอและ จังหวัด และ 3) ระดับนโยบาย ผลจากการเคลื่อนไหวนี้ นำไปสู่การสร้างความเข้าใจที่ดีขึ้นถึง ปัญหา ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ดินและวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น เกิดความโปร่งใสในการ ทำงาน มีการประสานงานกับหลายฝ่าย ตลอดจนมีการปรับระบบการทำงานระหว่างกันให้เหมาะ กับสถานการณ์ จนทำให้ทุกฝ่ายที่มาร่วมกันเป็นภาคีสามารถทำงานร่วมกันอย่างมีเหตุผลและมี ความสมดุล ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของชาวบ้านกับหน่วยงานท้องถิ่นและท้องที่ มีการขับเคลื่อนการการทำงานอย่างเป็นระบบ จนสามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม โดยมี หน่วยงานของรัฐระดับอำเภอเป็นศูนย์กลางในการประสานงานระหว่างภาคีต่างๆ อันส่งเสริมให้ เกิดความเข้าใจร่วมกันและไว้วางใจกันในการทำงาน
ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมควรนำบทเรียนที่ ได้จากกระบวนการดำเนินการในพื้นที่นี้ ไปใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาเพื่อจัดการ ความขัดแย้งในเรื่องที่ใกล้เคียงกัน ด้วยการเปิดพื้นที่ให้คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันเพื่อ สะท้อนความจริง และร่วมหาทางแก้ไขปัญหาให้ตรงกับความจริง ส่งเสริมให้มีการปฏิสัมพันธ์ อย่างสร้างสรรค์ พร้อมกับประสานหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ร่วมเป็นภาคีในการพัฒนา
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558