dc.contributor.advisor | เทิดชาย ช่วยบำรุง | th |
dc.contributor.author | อธิป นนทกะตระกูล | th |
dc.date.accessioned | 2018-07-03T03:44:52Z | |
dc.date.available | 2018-07-03T03:44:52Z | |
dc.date.issued | 2014 | th |
dc.identifier.other | b189627 | th |
dc.identifier.uri | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3712 | th |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557 | th |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทการจัดการความปลอดภัยของเกสต์เฮ้าส์โดยผู้ประกอบการย่านถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน 2) ศึกษาข้อจำกัดด้านบุคลากรที่รับผิดชอบด้านการจัดการความปลอดภัยของเกสต์เฮ้าส์ ย่านถนนข้าวสารกรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาความพึงพอใจและความต้องการของผู้เข้าพักชาวต่างชาติต่อการจัดการความปลอดภัยในเกสต์เฮ้าส์ ย่านถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร และ 4)เสนอแนวทางการจัดการความปลอดภัยในเกสต์เฮ้าส์ ย่านถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ คือ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ และผู้ประกอบการและบุคลากรของเกสต์เฮ้าส์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกับผู้เข้าพักชาวต่างชาติวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาหาค่าความถี่ ร้อยละ และข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจและความต้องการในการจัดการความปลอดภัยของเกสต์เฮ้าส์ ย่านถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานครวิเคราะห์โดยใช้สถิติหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนโดยใช้สถิติ F-test (One Way ANOVA)
ผลการศึกษา พบว่า บริบทการจัดการความปลอดภัยในปัจจุบันสำหรับเกสต์เฮ้าส์ ย่านถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร มีการดำเนินการที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและผู้ประกอบการเกสต์เฮ้าส์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เนื่องจากภาครัฐและผู้ประกอบการเกสต์เฮ้าส์มีเป้าหมายเดียวกัน คือ การเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพและมีชื่อเสียงระดับโลก ดังนั้น ภาพลักษณ์ที่ดีของด้านต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านทัศนคติอยู่พอสมควร อีกทั้งศักยภาพของบุคลากรมีความแตกต่างซึ่งภาครัฐและผู้ประกอบการเกสต์เฮ้าส์ก็ให้ความสำคัญในการหาแนวทางในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวและผู้ที่เคยมาเยือนถนนข้าวสารให้กลับมาใช้บริการอีกครั้ง ผู้เข้าพักชาวต่างชาติมีความพึงพอใจต่อการจัดการความปลอดภัยของเกสต์เฮ้าส์ย่านถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร 6 ด้านอยู่ในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจด้านการเตือนภัยมากกว่าด้านอื่น รองลงมาคือ ด้านโครงสร้างและสถานที่ ด้านรักษาความปลอดภัย ด้านบริเวณทางเข้าของเกสต์เฮ้าส์ ด้านชีวิตและทรัพย์สิน และด้านห้องพักและห้องน้ำ ตามลำดับ ผู้เข้าพักชาวต่างชาติมีความต้องการในการจัดการความปลอดภัยของเกสต์เฮ้าส์ย่านถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร เรียงตามความต้องการ 6 ด้าน คือ ด้านการเตือนภัยซึ่งเป็นด้านที่ผู้เข้าพักพึงพอใจมากกว่าด้านอื่น และผู้เข้าพักก็ยังมีความต้องการให้มีการจัดการความปลอดภัยมากเป็นอันดับแรกอีกด้วย รองลงมาคือ ด้านบริเวณทางเข้าของเกสต์เฮ้าส์ ด้านชีวิตและทรัพย์สิน ด้านโครงสร้างและสถานที่ ด้านการรักษาความปลอดภัยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับบ้านห้องพักและห้องน้ำ ตามลำดับ
ผลการวิจัยมีแนวทางให้ผู้ประกอบการเกสต์เฮ้าส์ย่านถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานครและภาครัฐนำไปพัฒนาการจัดการด้านความปลอดภัย ดังนี้ 1) ให้ความสำคัญต่อจำนวนบุคลากรที่เหมาะสมกับปริมาณงาน พัฒนาเพิ่มทักษะด้านการจัดการความปลอดภัยให้กับพนักงานได้เรียนรู้และปฏิบัติงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุด 2) ควรมีการวางกฎระเบียบให้เป็นลายลักษณ์อักษรที่มีมาตรฐานเดียวกัน สามารถนำไปใช้ร่วมกันได้ในหมู่ผู้ประกอบการเกสต์เฮ้าส์ 3) ควรมีการเร่งรัด สำรวจ จัดระเบียบขึ้นทะเบียนเกสต์เฮ้าส์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย 4) ควรมีการปลูกจิตสำนึกให้ผู้ประกอบการเห็นความสำคัญของการจัดการความปลอดภัย 5) ควรมีการส่งจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อให้ความรู้กับผู้ประกอบการหรืออาจทำคู่มือ เอกสารแจกจ่ายอย่างทั่วถึง 6) จัดให้มีผู้มีประสบการณ์ในการรับมือกับเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยไปอบรมให้ความรู้กับบุคลากรในเกสต์เฮ้าส์ 7) สร้างความรู้ความเข้าใจปรับทัศนคติให้บุคลากรมีความพร้อมในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพด้วยความปลอดภัย 8) ผู้ประกอบการควรปรับปรุงห้องพักห้องน้ำให้อยู่ในสภาพที่ดี เพิ่มระดับความพึงพอใจให้ผู้เข้าพักมากยิ่งขึ้น 9) ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญหรือปรับปรุงการแสดงป้ายบอกชื่อหรือสัญลักษณ์ให้ชัดเจน 10) ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญหรือปรับปรุง จัดให้มีอุปกรณ์ล็อคประตูทางเข้าออกให้อยู่ในสภาพดี 11) ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ ปรับปรุง จัดให้มีแผนหรือคู่มือเตือนภัย เส้นทางหนีไฟให้อยู่ในสภาพที่ดี พร้อมใช้งาน 12) ผู้ประกอบการควรเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบและคัดกรองลูกค้าที่เข้าพักอย่างเป็นระบบ 13) ผู้ประกอบการและภาครัฐควรมีความร่วมมือในการตรวจสอบปรับปรุงพัฒนามาตรฐานการให้บริการของเกสต์เฮ้าส์เพื่อตอบสนองความพึงพอใจและความต้องการของผู้เข้าพักอย่างสม่ำเสมอโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานการจัดการด้านความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพสูงสุดภายใต้ระเบียบ กฎหมาย ที่ใช้ร่วมกันอย่างเคร่งครัด | th |
dc.description.provenance | Submitted by นักศึกษาฝึกงานมหาวิทยาลัยศิลปากร_2561 (บุษกร แก้วพิทักษ์คุณ) (budsak.a@nida.ac.th) on 2018-07-03T03:44:52Z
No. of bitstreams: 1
b189627.pdf: 4042132 bytes, checksum: 3aa52b774a1cc17cfbc5c65f52222cc7 (MD5) | th |
dc.description.provenance | Made available in DSpace on 2018-07-03T03:44:52Z (GMT). No. of bitstreams: 1
b189627.pdf: 4042132 bytes, checksum: 3aa52b774a1cc17cfbc5c65f52222cc7 (MD5)
Previous issue date: 2014 | th |
dc.format.extent | 234 แผ่น | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.language.iso | tha | th |
dc.publisher | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | th |
dc.subject | การวิจัยเชิงคุณภาพ | th |
dc.subject | การวิจัยเชิงปริมาณ | th |
dc.subject | เกสต์เฮ้าส์ | th |
dc.subject | การจัดการความปลอดภัย | th |
dc.subject.other | อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- ไทย | th |
dc.subject.other | การจัดการโรงแรม -- กรุงเทพ | th |
dc.title | แนวทางการจัดการความปลอดภัยของเกสต์เฮ้าส์ในย่านถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร | th |
dc.title.alternative | Guideline for safety management of guest houses in Khao Sarn area, Bangkok | th |
dc.type | Text | th |
mods.genre | วิทยานิพนธ์ | th |
mods.physicalLocation | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา | th |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | th |
thesis.degree.level | Master's | th |
thesis.degree.discipline | การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ | th |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
thesis.degree.department | คณะการจัดการการท่องเที่ยว | th |