แนวทางการจัดการการท่องเที่ยว กรณีศึกษา : แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชุมชนคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
Files
Publisher
Issued Date
2015
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
136 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b189633
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
จินดาภา กลิ่นเมือง (2015). แนวทางการจัดการการท่องเที่ยว กรณีศึกษา : แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชุมชนคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3714.
Title
แนวทางการจัดการการท่องเที่ยว กรณีศึกษา : แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชุมชนคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
Alternative Title(s)
Guidelines for tourism management a case study : cultural attraction Klong Bang Luang community Phasi Charoen Bangkok
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของคนในชุมชน ที่มีต่อแนวทางการจัดการการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของชุมชนคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว ที่มีต่อแนวทางการจัดการการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของชุมชนคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร และเพื่อนําเสนอแนวทางการจัดการการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของชุมชนคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ มีจํานวน 400 คนแบ่งเป็นประชากรในชุมชนคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครจํานวน 250 คนและนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชุมชนคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร จํานวน 150 คนคัดเลือกโดยวิธีเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สําหรับการวิจัยเชิงคุณภาพได้ใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจํานวน 5 คน เพื่อสรุปเป็นแนวทางการจัดการการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชุมชนคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
ผลการศึกษาพบว่า
1) ประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนคลองบางหลวงส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 31-40 ปี มีระดับการศึกษาอยู่ในช่วงปริญญาตรี มีสถานะสมรส ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว มีรายได้ต่อเดือน 10,000-20,000 บาท
2) นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวคลองบางหลวงส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 31-40 ปี มีระดับการศึกษาในช่วงปริญญาตรี สถานะสมรส ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว มีระดับรายได้ต่อเดือน 10,000-20,000 บาท ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร
3) ความคิดเห็นของคนในชุมชนที่มีต่อแนวทางการจัดการการท่องเที่ยว ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชุมชนคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า องค์ประกอบทางการท่องเที่ยวการจัดการด้านสิ่งดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยวได้รับค่าเฉลี่ยมากที่สุด
4) ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว ที่มีต่อแนวทางการจัดการการท่องเที่ยว ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชุมชนคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า องค์ประกอบทางการท่องเที่ยว การจัดการด้านสิ่งดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยว ได้รับค่าเฉลี่ยมากที่สุด
5) แนวทางการจัดการการท่องเที่ยว กรณีศึกษา : แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้ง เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้อํานวยการเขตภาษีเจริญ ประธานชุมชนกําแพงทองพัฒนา ประธานชุมชนวัดคูหาสวรรค์ ผู้ประกอบการที่พักแรม และร้านขายสินค้าพบว่า 1) ควรปรับปรุงป้ายสื่อความหมาย ป้ายอธิบายข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว หรือป้ายบอกทางให้มีความทันสมัย เข้าใจง่าย และมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 2) ควรจัดทําแผนเชิงกลยุทธ์การท่องเที่ยวของชุมชนคลองบางหลวงประจําปี 3) ควรจัดทําคู่มือสําหรับนักท่องเที่ยวของชุมชนคลองบางหลวง 4) ควรมีการจัดเวทีสัมมนาเพื่อประชุม สรุป และทําการประเมินผลงานอย่างจริงจังจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการดําเนินงานด้านการท่องเที่ยว 5) ควรมีการวางแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างสมํ่าเสมอ 6) ควรมีการสนับสนุนและส่งเสริมงานในด้านการประชาสัมพันธ์และการตลาดให้มีความชัดเจน 7) ควรพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว และจัดรูปแบบการท่องเที่ยวให้มีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์มากขึ้น โดยมุ่งเน้นการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์และควรให้ความสําคัญกับปราชญ์ท้องถิ่นในการถ่ายทอดภูมิปัญหาสู่คนรุ่นหลัง 8) ควรทําแผนผังแสดงเส้นทางของการเดินทางท่องเที่ยวในชุมชนคลองบางหลวง ตามตรอก ซอกซอยต่างๆ 9) ควรสร้างจิตสํานึกและความรับผิดชอบต่อการรักษาวัฒนธรรมและคุณค่าของสภาพแวดล้อม โดยที่คนในชุมชนมีส่วนร่วมต่อการบริหารจัดการท่องเที่ยวของชุมชนคลองบางหลวง 10) รักษาความสะอาดนํ้าในคลองบางหลวงและรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของบ้านเรือนที่อยู่ริมสองฝั่งคลองบางหลวง
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558