Title:
| แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสนับสนุนการกลับมาเที่ยว |
Other title(s):
| Guidelines for tourism development to support revisit of Sakaeo Province |
Author(s):
| กัลย์ลัญญา ปลั่งกมลดิษ์ |
Advisor:
| แสงแข บุญศิริ |
Degree name:
| ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level:
| Master's |
Degree discipline:
| การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ |
Degree department:
| คณะการจัดการการท่องเที่ยว |
Degree grantor:
| สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date:
| 2015 |
Publisher:
| สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract:
|
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว องค์ประกอบทางการท่องเที่ยว และการกลับมาเที่ยวของนักท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้ว เพื่อเปรียบเทียบการกลับมาเที่ยวจังหวัดสระแก้วจําแนกตามพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวมีผลต่อการกลับมาเที่ยวจังหวัดสระแก้ว เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทางการท่องเที่ยวกับการกลับมาเที่ยวจังหวัดสระแก้ว และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสนับสนุนการกลับมาเที่ยวจังหวัดสระแก้วกลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาเที่ยวจังหวัดสระแก้วจํานวน 400 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Independent t-test One-Way ANOVA และ การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันส่วนสําหรับการวิจัยเชิงคุณภาพได้ใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง5 คน เพื่อสรุปเป็นแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสนับสนุนการกลับมาเที่ยวจังหวัดสระแก้ว ผลการศึกษาพบว่า 1) นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวในจังหวัดสระแก้วส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 26-35 ปี มีสถานภาพโสด มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มีอาชีพรับราชการ/พนักงาน/รัฐวิสาหกิจ คิด และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 10,000-20,000 บาทต่อเดือน 2) นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมที่เป็นนักท่องเที่ยวเองที่เป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว สื่ออินเตอร์เน็ตเว็บไซต์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว มีบุคคลที่เดินทางมาด้วยเป็นครอบครัว วิธีการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว ระยะเวลาในการท่องเที่ยวแบบเช้าเย็นกลับ มีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อคนอยู่ในช่วง 1,000-3,000 บาท มีวัตถุประสงค์ในการกลับมาเที่ยวเพื่อพักผ่อนในวันหยุด และเลือกแหล่งท่องเที่ยวเชิงนันทนาการ (ตลาดโรงเกลือ) 3) องค์ประกอบทางการท่องเที่ยว ของแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้วโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า องค์ประกอบทางการท่องเที่ยว ด้านสิ่งดึงดูดทางการทางท่องเที่ยวได้รับค่าเฉลี่ยมากที่สุด 4) การกลับมาเที่ยวจังหวัดสระแก้ว โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักท่องเที่ยวจะกลับมาเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดสระแก้ว ได้รับค่าเฉลี่ยมากที่สุด 5) ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวที่มีข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล ที่มีเพศ อายุ และสถานภาพที่แตกต่างกัน มีผลต่อการกลับมาเที่ยวจังหวัดสระแก้วไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ส่วนระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีผลต่อการกลับมาเที่ยวจังหวัดสระแก้วแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ 6) จากผลการวิจัยพบว่า สื่อที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว บุคคลที่เดินทางมาด้วย วัตถุประสงค์ในการมาเที่ยวในจังหวัดสระแก้วและแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสระแก้วที่ท่านเลือกมาท่องเที่ยวที่แตกต่างกันมีผลต่อการกลับมาเที่ยวจังหวัดสระแก้วไม่แตกแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว วิธีการเดินทาง ระยะเวลาในการท่องเที่ยว และค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อคนที่แตกต่างกันมีผลต่อการกลับมาเที่ยวจังหวัดสระแก้วแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ 7) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านองค์ประกอบทางการท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับการกลับมาเที่ยวจังหวัดสระแก้วอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ 8) แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสนับสนุนการกลับมาเที่ยวจังหวัดสระแก้ว จากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข่องทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐ และภาคเอกชนพบว่า 1) จังหวัดสระแก้วมีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายจึงจําเป็นต้องมีการพัฒนาสิ่งดึงดูดทางการท่องเที่ยวให้มากกว่านี้ 2) ควรมีการส่งเสริมการประชาสัมพันธ์เทศกาลต่างๆ ให้ทั่วถึง 3) ควรพัฒนาที่พักและโรงแรมให้มีมาตรฐาน เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวมากขึ้น 4) ควรพัฒนาเส้นทางในการเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆให้มีความปลอดภัยมากกว่านี้ 5) ควรพัฒนาห้องน้ำให้มีจํานวนเพียงพอปริมาณนักท่องเที่ยว
|
Description:
|
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558
|
Subject(s):
| การท่องเที่ยว -- การพัฒนา |
Resource type:
| วิทยานิพนธ์ |
Extent:
| 177 แผ่น |
Type:
| Text |
File type:
| application/pdf |
Language:
| tha |
Rights:
| ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Rights holder(s):
| สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI:
| http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3719 |