ปัจจัยที่มีผลต่อขีดความสามารถในการแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว กรณีศึกษา : ชุมชนสองแพรก จังหวัดพังงา
Files
Publisher
Issued Date
2015
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
188 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b189685
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ศิรตา ศิริธรรม (2015). ปัจจัยที่มีผลต่อขีดความสามารถในการแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว กรณีศึกษา : ชุมชนสองแพรก จังหวัดพังงา. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3720.
Title
ปัจจัยที่มีผลต่อขีดความสามารถในการแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว กรณีศึกษา : ชุมชนสองแพรก จังหวัดพังงา
Alternative Title(s)
Factor affecting the capability to capture tourism economic benefit : a case study of Songpreak Community, Phang-nga
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินขีดความสามารถในการแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคลต่อขีดความสามารถฯ และเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยความเป็นผู้ประกอบการ ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ และการรับรู้ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวที่มีความสัมพันธ์กับขีดความสามารถฯ กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้คือ ชุมชนสองแพรก จังหวัดพังงา จำนวน 244 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Independent t-Test One-Way ANOVA และการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า สมาชิกชุมชนส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย มีอายุเฉลี่ย 21-35 ปี สมรสแล้ว สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา มีอาชีพรับจ้าง/พนักงานบริษัทและมีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ยที่ 5,001-10,000 บาท ชุมชนมีความเป็นผู้ประกอบการและมีความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ในระดับดี มีการรับรู้ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวในระดับสูง และมีขีดความสามารถในการแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวในระดับดี
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ความเป็นผู้ประกอบการ ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และการรับรู้ผลกระทบทางเศรษฐกิจของชุมชนมีความสัมพันธ์กับขีดความสามารถในการแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวชุมชน และพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกชุมชนด้านอายุ สถานภาพสมรส และระดับการศึกษา มีผลต่อขีดความสามารถในการแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวของชุมชน
ผลการศึกษาพบว่า สมาชิกชุมชนส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย มีอายุเฉลี่ย 21-35 ปี สมรสแล้ว สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา มีอาชีพรับจ้าง/พนักงานบริษัทและมีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ยที่ 5,001-10,000 บาท ชุมชนมีความเป็นผู้ประกอบการและมีความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ในระดับดี มีการรับรู้ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวในระดับสูง และมีขีดความสามารถในการแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวในระดับดี
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ความเป็นผู้ประกอบการ ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และการรับรู้ผลกระทบทางเศรษฐกิจของชุมชนมีความสัมพันธ์กับขีดความสามารถในการแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวชุมชน และพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกชุมชนด้านอายุ สถานภาพสมรส และระดับการศึกษา มีผลต่อขีดความสามารถในการแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวของชุมชน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558