• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
  • GSCM: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
  • GSCM: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

แนวทางการนำเสนอเรื่องเพศ ภาษา ความรุนแรง และภาพตัวแทนในรายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์ดิจิทัล

by น้ำทิพย์ พรหมเพ็ชร

Title:

แนวทางการนำเสนอเรื่องเพศ ภาษา ความรุนแรง และภาพตัวแทนในรายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์ดิจิทัล

Other title(s):

Guideline to present sex, language, violence and representation in game show of Thai digital television programe

Author(s):

น้ำทิพย์ พรหมเพ็ชร

Advisor:

บุหงา ชัยสุวรรณ

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม

Degree department:

คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2016

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาการนำเสนอเรื่องเพศ ภาษา ความรุนแรง และภาพตัวแทนในรายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์ดิจิทัล โดยวิเคราะห์เนื้อหาจากรายการเกมโชว์ทั้งหมด 9 รายการ จากช่องโทรทัศน์ยอดนิยม 3 อันดับแรก (ช่อง 7 HD, ช่อง 3 HD และWorkpoint)และสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ผลิตรายการโทรทัศน์, กลุ่มนักวิชาการ/ประชาสังคม และผู้กำกับดูแลการจัดระดับความเหมาะสมและกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์ เพื่อหาแนวทางการนำเสนอเนื้อหารายการเกมโชว์ที่เหมาะสมกับผู้ชมทุกวัยซึ่งปรากฏผลการวิจัย ดังนี้ 1. เนื้อหาที่เข้าข่ายไม่เหมาะสมที่สุดในรายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์ดิจิทัล คือ เนื้อหาด้านความรุนแรง รองลงมาคือ ด้านภาษา ด้านภาพตัวแทน และด้านเพศ ตามลำดับ โดยช่อง 3 HD มีจำนวนเนื้อหาที่เข้าข่ายไม่เหมาะสมด้านเพศ (Sex) และด้านภาษา (Language) มากที่สุด ช่อง 7 HD มีเนื้อหาเข้าข่ายไม่เหมาะสมด้านความรุนแรง (Violence)  และด้านภาพตัวแทน (Representation) มากที่สุด และเมื่อสรุปผลรวมของจำนวนเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมทั้งหมดทางด้านเพศ ภาษา ความรุนแรง และภาพตัวแทนพบว่า ช่อง 3 HD มีจำนวนเนื้อหาที่เข้าข่ายไม่เหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ช่อง 7 HD และ Workpoint ตามลำดับ 2. ภาพรวมของการนำเสนอเนื้อหา และการกำกับดูแลการจัดระดับความเหมาะสมในรายการเกมโชว์ พบว่า รายการเกมโชว์ในปัจจุบันส่วนใหญ่จัดอยู่ในระดับความเหมาะสมสำหรับผู้ชมทุกวัย (ท) แต่ยังปรากฏเนื้อหาที่เข้าข่ายไม่เหมาะสมสำหรับผู้ชมทุกวัย ซึ่งไม่ตรงตามหลักจริยธรรมและแนวทางในการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์โดยเฉพาะเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมด้านภาษาและความรุนแรง ซึ่งได้ถูกนำออกอากาศในช่วงเวลาที่ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดช่วงเวลาในการออกอากาศเพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชน (Watershed Times) ทำให้เด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงเนื้อหาที่เข้าข่ายไม่เหมาะสมนี้ได้ 3. แนวทางการนำเสนอเรื่องเพศ ภาษา ความรุนแรง และภาพตัวแทน ในรายการเกมโชว์ พบว่า รายการเกมโชว์ไม่ควรจะนำเสนอความเชื่อ หรือค่านิยมเรื่องเพศที่ผิด ๆ ไม่ควรใช้ภาษาหยาบคาย เพื่อให้ดูสนิทสนมกับผู้เข้าร่วมรายการ หรือพูดจาสองแง่สองงาม ส่อเรื่องเพศในรายการ หรือการสร้างความขบขันโดยใช้ความรุนแรง ทำให้ผู้ร่วมรายการกลายเป็นตัวตลก สร้างความอับอายให้กับผู้ที่เข้าร่วมรายการ และไม่ควรแสดงให้เห็นถึงการดูถูก เหมารวม หรือยัดเยียดความเกลียดชังที่เกิดจากความแตกต่างของบุคคลไม่ว่าจะเป็นด้านชนชั้น เชื้อชาติ เพศ อายุ ความพิการ หรือรูปร่างหน้าตา โดยหากมีความจำเป็นต้องนำเสนอเนื้อหาเหล่านี้ ต้องใช้เทคนิคพิเศษ กราฟิกการ์ตูน การดูดเสียง การเบลอภาพ ซอยภาพ หรือตัดภาพออก เพื่อเซ็นเซอร์เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมในรายการ นอกจากนี้ สื่อหรือผู้ผลิตรายการจะต้องมีความรับผิดชอบ ทำหน้าที่ปกป้องผู้ชม และไม่สร้างความต้องการหรือค่านิยมที่ผิดให้กับผู้ชม โดยแต่ละช่องหรือสถานีควรต้องมีหน่วยงานกำกับดูแลความเหมาะสมของรายการที่ชัดเจน และมีผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ คอยควบคุมดูแล เพื่อตรวจสอบเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม อีกทั้งกสทช. ควรให้ความร่วมมือในการจัดอบรมการกำกับดูแลเนื้อหาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดมาตรฐานและความเข้าใจเดียวกันกับผู้ผลิตหรือผู้ที่กำกับดูแลความเหมาะสมของรายการอีกด้วย
This research aims to explore displayed contents of game shows on digital television channels, which are sex, language, violence and representation perspectives. By analyzing contents, on 9game shows from three channels such as 7HD, 3HD and Workpoint. In addition, in-depth interviews with show producers, scholars, people in society and people who in charge in television shows censorships and ratings. In order to find the appropriate ways to display the right contents that suits for many levels of audiences. The results of this research have shown 1. The other result showed that the most inappropriate contents were displayed is violent issue. Language, representation and sex are secondary issue. In addition, 3HD channel mostly showed inappropriate sexual and language contents. 7HD channel mainly presented inappropriate violence and representation content. It can be conclude collected inappropriate contents, which related sex, language, violence, and representation that 3HD channel is the highest who has been showing inappropriate contents on game shows. 7HD and Workpoint channel are respectively 2. Showed contents overview and television content rating system. These results indicate that must game shows. Nowadays were arranged in general type rating (General audience) on programs rated TV, never the less inappropriate contents in game shows, which is not according to television content rating ethics and principle model, still have presented to audiences of all ages. In particular, inappropriate contents in the language and violence were displayed on watershed times. That can lead young audience’s access the inappropriate contents easily. 3. This research indicate that games shows are not suppose to: Show wrong and inappropriate beliefs and values about sexuality, use inappropriate vulgar language to be closely with the participants, use two-sided words about sexual in the show, make fun from the violence, make fun from the participants, humiliate the participants by pointing out the differences (such as society class, gender, age, disability, appearances etc.) that can lead to hates. If the shows have to show these kind of inappropriate subjects it is better to use the special techniques (for example: cartoon graphics, mute some words, blur or censor some parts of the images or cut out some violence parts) to reduce the intenseness of these subject. The media and show producers should have responsibility, protect the audiences and not create the wrong and inappropriate beliefs and needed for the audiences. Each channels should have unit that strictly screen the appropriate subjects. And the National Broadcasting and telecommunications Commission should instruct and educate about these inappropriate subjects for setting the standards for all the show producers.

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559

Subject(s):

รายการโทรทัศน์ -- ไทย

Keyword(s):

e-Thesis
เพศ
ความรุนแรง

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

177 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3761
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b199690e.pdf ( 4,742.44 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSCM: Theses [175]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×