ความรับผิดทางกฎหมายของผู้อำนวยความสะดวกเพื่อการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์
by นภภัสสร สอนคม
ชื่อเรื่อง: | ความรับผิดทางกฎหมายของผู้อำนวยความสะดวกเพื่อการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legal liability of medical tourism facilitator |
ผู้แต่ง: | นภภัสสร สอนคม |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | วริยา ล้ำเลิศ |
ชื่อปริญญา: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะนิติศาสตร์ |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
งานวิจัยฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาค้นคว้าเฉพาะเรื่องความรับผิดทางกฎหมายของผู้อำนวยความสะดวกเพื่อการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ในความเสียหายอันเกิดจากการปฏิบัติงาน เชื่อมโยงกับการรับรองมาตรฐานและคุณภาพของธุรกิจเพราะเป็นหลักการที่นำมาสู่การกำหนดขอบเขตความรับผิดทางกฎหมายของผู้อำนวยความสะดวกฯ อย่างสมเหตุสมผล ประกอบกับหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบในการควบคุมและกำกับดูแล โดยศึกษาบทกฎหมายไทยที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันประกอบกับแนวทางการกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานของประเทศสาธารณรัฐเกาหลี และประเทศอิสราเอล เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดการคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างเป็นรูปธรรม
จากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้เกิดธุรกิจผู้อำนวยความสะดวกฯ เพื่อให้บริการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์แก่คนไทย รวมไปถึงการให้บริการนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย โดยเข้ามาใช้บริการผ่านตัวกลางให้คำแนะนำประสานงาน คือ บริษัททัวร์ที่มีรายการส่งเสริมการขายหรือแพ็กเกจทัวร์ท่องเที่ยวทางการแพทย์ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงเงื่อนไข การให้บริการของธุรกิจดังกล่าวจะพบว่ามีลักษณะของการให้บริการทั้งในเชิงการท่องเที่ยวรวมกับการให้บริการคำแนะนำทางการแพทย์ ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและเฉพาะทางที่จำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานเข้ามาประกอบการดำเนินธุรกิจด้วย แต่กรอบของกฎหมายในการประกอบธุรกิจดังกล่าวนั้นยังเป็นการเปิดประกอบกิจการเป็นบริษัททัวร์ท่องเที่ยว ตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551 อีกทั้ง ยังไม่มีกฎหมายกำกับดูแลในเรื่องของมาตรฐานในการปฏิบัติงาน และการกำหนดสถานะความรับผิดทางสัญญาและละเมิดอย่างชัดเจน
ดังนั้น เพื่อให้เกิดกระบวนการปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ และคุ้มครองผู้ใช้บริการให้สามารถใช้สิทธิเรียกร้องจากการใช้บริการที่ไม่ได้มาตรฐานในการปฏิบัติงานของผู้อำนวยความสะดวกเพื่อ การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ จึงเห็นสมควรดำเนินการปรับปรุงกฎหมายในการกำกับดูแลกิจการทัวร์ท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพให้มีมิติทั้งทางด้านการให้บริการที่มีคุณภาพและคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย อนามัย และจิตใจของลูกค้าเป็นสำคัญ |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560 |
คำสำคัญ: | e-Thesis
การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ตัวแทน นายหน้า |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 195 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Thesis |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3766 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|