แนวทางการพัฒนาการจัดการท่าเรือสำหรับการท่องเที่ยวเรือสำราญของประเทศไทย กรณีศึกษาท่าเรือแหลมฉบัง
Publisher
Issued Date
2017
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
312 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b199713
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สุรพร มุลกุณี (2017). แนวทางการพัฒนาการจัดการท่าเรือสำหรับการท่องเที่ยวเรือสำราญของประเทศไทย กรณีศึกษาท่าเรือแหลมฉบัง. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3770.
Title
แนวทางการพัฒนาการจัดการท่าเรือสำหรับการท่องเที่ยวเรือสำราญของประเทศไทย กรณีศึกษาท่าเรือแหลมฉบัง
Alternative Title(s)
The guidelines for developing cruise port management of cruise tourism in Thailand : A case study of Laem Chabang Port
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเรือสำราญ 2) เพื่อประเมินศักยภาพของการจัดการท่าเรือแหลมฉบังในปัจจุบัน 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาท่าเรือการจัดการท่าเรือแหลมฉบังของประเทศไทย ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Research Methodology) ร่วมกันระหว่างการวิจัยแบบปริมาณ ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมากับเรือสำราญที่ใช้บริการท่าเรือแหลมฉบังจำนวน 400 คน และระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเรือสำราญจำนวน 36 คน โดยศึกษาตามแนวคิดและทฤษฎีวัดระดับความสำคัญผ่านความคาดหวัง (Expectation) และประสิทธิพลการปฏิบัติงานผ่านความพึงพอใจ (Satisfaction) ประกอบด้วยองค์ประกอบการจัดการท่าเรือสำราญจำนวน 32 ตัวแปรจาก 8 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ คุณลักษณะของท่าเรือ (Port characteristic) โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าเรือ (Port infrastructure and Port facilities) การให้บริการ (Services) นโยบายและกฎระเบียบ (Cruise Tourism Policy and regulations) แหล่งท่องเที่ยว (Tourism Attraction) กิจกรรมการท่องเที่ยว (Tourism activities) การเข้าถึงและการเชื่อมต่อ (Accessibility and connection) และสิ่งอำนวยความสะดวกบนฝั่ง (Amenity on shore) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์สถิติทางสังคมศาสตร์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เพื่อหาค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Divination) ใช้สถิติ T-test เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มและหาความแตกต่างระหว่างความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมากับเรือสำราญที่ใช้บริการท่าเรือแหลมฉบัง ใช้สถิติ F-test (One-way ANOVA) ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป และใช้การวัดประสิทธิภาพและประเมินศักยภาพจัดการท่าเรือด้วยเทคนิค Important-Performance Analysis (IPA) และเชิงคุณภาพใช้วิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic Analysis)
ผลการศึกษาในครั้งนี้ พบว่า 11 ตัวแปรอยู่ในระดับความสำคัญต่ำและมีผลการปฏิบัติงานดีได้แก่ ตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ การเดินทางเชื่อมต่อกับท่าเรืออื่นๆ สภาพอากาศและทะเล การบริการของมัคคุเทศก์ ทักษะและความสามารถของผู้ให้บริการ ความมีเอกลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว ความหลากหลายของกิจกรรมการท่องเที่ยว ความน่าสนใจของกิจกรรมการท่องเที่ยว ความคุ้มค่าของกิจกรรม ภัตตาคารและแหล่งช้อปปิ้ง มีจำนวน 6 ตัวแปรที่อยู่ในกลุ่มที่มีระดับความสำคัญต่ำแต่มีผลการปฏิบัติงานต่ำ ได้แก่ ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว การบริการกระเป๋าสัมภาระ การบริการแลกเปลี่ยนเงินตรา ร้านขายของที่ระลึกและที่พักบนฝั่ง ขณะที่ 6 ตัวแปรอยู่ในกลุ่มที่มีระดับความสำคัญสูงแต่มีผลการปฏิบัติงานดี ได้แก่ การบริการจัดนำเที่ยวบนฝั่ง พิธีการตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากร การจัดการความปลอดภัย ความสะอาดและสุขอนามัย ความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยว และความน่าสนใจของแหล่งท่องเที่ยว และมี 10 ตัวแปรที่อยู่ในกลุ่มระดับความสำคัญสูงแต่มีผลการปฏิบัติงานต่ำ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานของท่าเรือ ระบบสาธารณูปโภคของท่าเรือ สิ่งอำนวยความสะดวกของท่าเรือ ความสามารถในการรองรับผู้โดยสารและเรือสำราญขนาดใหญ่ การให้ข้อมูลแผนฉุกเฉิน การเข้าถึงและเชื่อมต่อจากท่าเรือสู่เมือง การเข้าถึงและเชื่อมต่อจากท่าเรือสู่แหล่งท่องเที่ยว การเชื่อมต่อระหว่างแหล่งท่องเที่ยว และแท็กซี่/รถประจำทาง/บริการขนส่งสาธารณะ จากผลการศึกษาข้างต้นนำข้อมูลไปประยุกต์เป็นข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการจัดการท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยวเรือสำราญ ได้แก่ 1) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก 2) ปรับปรุงและพัฒนาการเข้าถึงและการเชื่อมต่อ 3) เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ 4) เสริมสร้างศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยว 5) พัฒนาทักษะและศักยภาพของผู้ให้บริการ 6) บูรณาการบริหารจัดการท่าเรือ 7) ส่งเสริมการท่องเที่ยวเรือสำราญของประเทศ
The Objectives of this research are 1) To study cruise passenger’s behavior 2) To evaluate performance of Laem Chanbang’s port of call management for cruise tourism 3) To guidelines for Developing Cruise Port Management of Cruise Tourism in Thailand. The study using mixed research methodology. The quantitative data were collected by using the questionnaire from 400 cruise passenger. In term of qualitative data were collected by semi-structure interview from 36 relevant cruise stakeholders. This research applies Importance-Performance analysis (IPA) through cruise passenger’s expectation and satisfaction by 32 variables from 8 factors are 1) Port characteristic: port infrastructure and port facilities, services, cruise tourism policy and regulations, tourism attraction, tourism activities, accessibility and connection, amenity on shore. The statistical and data were analyzed by using descriptive statistics included frequency, percentage, mean and standard deviation (SD), t-test, ANOVA and measuring IPA of cruise port management by using GAP analysis and using thematic analysis for qualitative data. The result of this study founded data on the IPA grid presentation and plotted into four quadrants according to the mean scores. 11 variables in “Possible overkill” are port geographic, connectivity with other major ports, weather and sea condition, tourist guide, communication skills of other service providers, unique of tourist attractions, variety of tourism activities, attractiveness of tourism activities, value for money of tourism activities, restaurants and shopping. 6 variables into “Low Priority” tourist information, baggage services, currency exchange service, souvenir shop and accommodation. 6 variables in “Keep up the good work” shore excursion management, immigration formality and customs regulation process, safety and security management, hygiene and sanitation, attractive of tourism attractions, unique of tourist attractions and 10 variables in “Concentrate here” port infrastructure, public utility, port facilities, capacity for handing a number of cruise passenger and large cruise ships, emergency plan, accessibility from port to town, accessibility from port to major attraction, connection between tourist attraction and taxi/bus/public transportation services. According to the study lead to recommendations to improve guideline for developing cruise port management for cruise tourism in Thailand as follow 1) Develop infrastructure and facilities 2) Improve and develop accessibility and connectivity 3) Enhance services efficiency 4) Empower tourism attraction and tourism activities 5) Develop skills and capabilities of service provider 6) integrated port management 7) Promoting cruise tourism in Thailand.
The Objectives of this research are 1) To study cruise passenger’s behavior 2) To evaluate performance of Laem Chanbang’s port of call management for cruise tourism 3) To guidelines for Developing Cruise Port Management of Cruise Tourism in Thailand. The study using mixed research methodology. The quantitative data were collected by using the questionnaire from 400 cruise passenger. In term of qualitative data were collected by semi-structure interview from 36 relevant cruise stakeholders. This research applies Importance-Performance analysis (IPA) through cruise passenger’s expectation and satisfaction by 32 variables from 8 factors are 1) Port characteristic: port infrastructure and port facilities, services, cruise tourism policy and regulations, tourism attraction, tourism activities, accessibility and connection, amenity on shore. The statistical and data were analyzed by using descriptive statistics included frequency, percentage, mean and standard deviation (SD), t-test, ANOVA and measuring IPA of cruise port management by using GAP analysis and using thematic analysis for qualitative data. The result of this study founded data on the IPA grid presentation and plotted into four quadrants according to the mean scores. 11 variables in “Possible overkill” are port geographic, connectivity with other major ports, weather and sea condition, tourist guide, communication skills of other service providers, unique of tourist attractions, variety of tourism activities, attractiveness of tourism activities, value for money of tourism activities, restaurants and shopping. 6 variables into “Low Priority” tourist information, baggage services, currency exchange service, souvenir shop and accommodation. 6 variables in “Keep up the good work” shore excursion management, immigration formality and customs regulation process, safety and security management, hygiene and sanitation, attractive of tourism attractions, unique of tourist attractions and 10 variables in “Concentrate here” port infrastructure, public utility, port facilities, capacity for handing a number of cruise passenger and large cruise ships, emergency plan, accessibility from port to town, accessibility from port to major attraction, connection between tourist attraction and taxi/bus/public transportation services. According to the study lead to recommendations to improve guideline for developing cruise port management for cruise tourism in Thailand as follow 1) Develop infrastructure and facilities 2) Improve and develop accessibility and connectivity 3) Enhance services efficiency 4) Empower tourism attraction and tourism activities 5) Develop skills and capabilities of service provider 6) integrated port management 7) Promoting cruise tourism in Thailand.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560