แนวทางการจัดตั้ง และการบริหารจัดการธนาคารขยะรีไซเคิลในชุมชน สำหรับผู้สูงอายุ ตำบลราชสถิตย์ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
by นิชนันท์ ปฏิทัศน์
Title: | แนวทางการจัดตั้ง และการบริหารจัดการธนาคารขยะรีไซเคิลในชุมชน สำหรับผู้สูงอายุ ตำบลราชสถิตย์ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง |
Other title(s): | Guideline for community waste bank establishment and management by elderly: Case study of Rachsathite Sub-District, Chaiyo district Angthong province |
Author(s): | นิชนันท์ ปฏิทัศน์ |
Advisor: | วิสาขา ภู่จินดา |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2017 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้สูงอายุ และปัจจัยที่มีผลต่อการจัดตั้ง และการบริหารจัดการธนาคารขยะรีไซเคิลของชุมชน สำหรับผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การถอดบทเรียนจากกรณีศึกษา การลงพื้นที่ในการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลราชสถิตย์ และเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตัวแทนผู้สูงอายุ และผู้นำชุมขน และการสังเกตการณ์ เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพและประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการธนาคารขยะรีไซเคิลชุมชน สำหรับผู้สูงอายุ (Feasibility Study) 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม การบริหารจัดการ และสิ่งแวดล้อม และเพื่อเสนอแนวทางการจัดตั้ง และการบริหารจัดการธนาคารขยะรีไซเคิลของชุมชนที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลราชสถิตย์ อำเภอ ไชโย จังหวัดอ่างทอง โดยการวิเคราะห์ TOWS Matrix จากข้อมูล SWOT Analysis
ผลการศึกษาความคิดเห็นจากการสัมภาษณ์ พบว่า ผู้สูงอายุและคนชุมชนส่วนใหญ่มีการคัดแยกขยะเพื่อไว้จำหน่ายให้กับซาเล้งรับซื้อเพื่อหารายได้เสริมอยู่เป็นประจำ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้การจัดตั้งธนาคารขยะมีโอกาสประสบความสำเร็จ ปัจจัยที่มีผลในการจัดตั้งธนาคารขยะ คือการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ความรู้ความสามารถของประชาชนในชุมชน และหน่วยงานผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การบริหารจัดการโครงการธนาคารขยะ และการสร้างแรงจูงใจให้กับประชาชน และผลจากการวิเคราะห์ความเหมาะสม การจัดตั้ง และการบริหารจัดการธนาคารขยะรีไซเคิลในชุมชน สำหรับผู้อายุ ตำบลราชสถิตย์ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง มีความเหมาะสม และเป็นไปได้
แนวทางการจัดตั้ง และการบริหารจัดการธนาคารขยะรีไซเคิลในชุมชน สำหรับผู้สูงอายุในชุมชน ประกอบด้วย การให้ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุเป็นกลุ่มผู้นำในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกธนาคารขยะ การสร้างเครือข่ายหน่วยงานในการจัดตั้งธนาคารขยะเพื่อให้ธนาคารขยะมีอำนาจในการต่อรองที่เข้มแข็งในเรื่องราคาขยะจากสถานรับซื้อขยะรีไซเคิล การจัดตั้งธนาคารขยะโดยให้ อบต.เป็นสถานที่ตั้งธนาคารขยะ การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ควบคู่กับธนาคารขยะ การประชาสัมพันธ์จากเสียงตามสายให้คนในชุมชนได้ทราบข้อมูลข่าวสารถึงประโยชน์ หรือผลตอบแทนที่จะได้รับจากการเข้าร่วมธนาคารขยะมากกว่าจากซาเล้ง การทอดผ้าป่าขยะรีไซเคิลสามัคคีในชุมชน การจัดสรรตารางเวลารับฝากขยะตามหมู่บ้านโดยเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานจะไปรับฝากขยะถึงหมู่บ้าน การประชาสัมพันธ์ด้วยเสียงตามสายถึงปัญหาขยะที่เกิดขึ้นในชุมชน และขอความร่วมมือจากคนในชุมชนทุกคนในการเข้ารวมธนาคารขยะ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560 |
Subject(s): | การกำจัดขยะ -- ไทย -- อ่างทอง
การนำกลับมาใช้ใหม่ -- ไทย -- อ่างทอง ขยะ -- การนำกลับมาใช้ใหม่ |
Keyword(s): | ธนาคารขยะรีไซเคิล
ขยะรีไซเคิล ผู้สูงอายุ การบริหารจัดการธนาคารขยะรีไซเคิลในชุมชน การมีส่วนร่วม e-Thesis |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 183 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Rights holder(s): | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3774 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View b199700e.pdf ( 4,229.26 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
|