การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน: ชุมชนท่าพรุ-อ่าวท่าเลน จังหวัดกระบี่
by ธันย์ชนก ช่างเรือ
Title: | การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน: ชุมชนท่าพรุ-อ่าวท่าเลน จังหวัดกระบี่ |
Other title(s): | The usage of communication to create community participation in natural resource management toward sustainable tourism : Tha Phru-Ao Tha Lane Community, Krabi |
Author(s): | ธันย์ชนก ช่างเรือ |
Advisor: | อุษา บิ้กกิ้นส์ |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม |
Degree department: | คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2017 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2017.72 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 2) วิเคราะห์กระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและ 3) ศึกษาผลของการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน:ชุมชนท่าพรุ - อ่าวท่าเลน จังหวัดกระบี่ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Method) 3 วิธีการ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การสนทนากลุ่ม (Focus Group) และการสังเกตการณ์ (Observation) โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 44 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้นำชุมชน ประชาชนในชุมชนและประชาชนภายนอกชุมชน (กลุ่มนักท่องเที่ยว)
ผลการศึกษาพบว่า
1. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนแบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ 1) ช่วงแก้ไขวิกฤติทรัพยากรธรรมชาติ ชุมชนใช้กลยุทธ์ 4 ขั้นตอนคือ (1) ให้ความรู้กับประชาชนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน (2) จัดตั้งกลุ่มเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติจากความต้องการของประชาชน (3) ออกกฎหมายควบคุม โดยผ่านข้อบัญญัติท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (4) มีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นรับผิดชอบ 2) ช่วงทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ชุมชนใช้แนวคิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนควบคู่กับการสร้างรายได้ให้กับประชาชนในชุมชน
2. กระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนพบว่า ชุมชนให้ความสำคัญในทุกองค์ประกอบในการสื่อสารได้แก่ (1) ผู้ส่งสาร คือ ผู้นำชุมชน และกลุ่มแกนนำชุมชนเป็นผู้ส่งสารหลัก (2) เนื้อหาสาร เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน (3) สื่อ/ช่องทาง เน้นการประชุมทั้งแบบเป็นทางการ (การประชุมประชาคมระดับหมู่บ้าน/ตำบล) การประชุมแบบไม่เป็นทางการ (สภากาแฟ) โดยใช้สื่อบุคคลร่วมด้วยเพื่อโน้มน้าวให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (4) ผู้รับสาร ได้แก่ประชาชนในชุมชน โดยคำนึงถึงทักษะ ทัศนคติและระดับความรู้ประชาชนเป็นหลัก ทั้งนี้ลักษณะสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ (1) การมีส่วนร่วมในฐานะผู้รับสาร ได้แก่ การให้ข้อมูลข่าวสารของผู้นำชุมชน (Inform) (2) การมีส่วนร่วมในฐานะผู้ส่งสาร ได้แก่ การรับฟังความคิดเห็นของผู้นำชุมชน (Consult) และการเกี่ยวข้อง (Involve) ในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน (3) การมีส่วนร่วมในฐานะผู้วางแผน ได้แก่ การให้ความร่วมมือ (Collaboration) และ การเสริมอำนาจแก่ประชาชน (Empower)
3. ผลของการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนแบ่งออกเป็น 2 มุมมอง (1) มุมมองจากประชาชนภายในชุมชน คือ ประชาชนในชุมชนเกิดการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชน (2) มุมมองจากประชาชนภายนอกชุมชน (นักท่องเที่ยว) คือ ชุมชนประสบความสำเร็จในการสื่อสารการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวเกิดการรับรู้เนื้อหาสารของชุมชนและเข้าร่วมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนอย่างต่อเนื่อง จนประความสำเร็จด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนครอบคลุม 3 มิติ คือ 1) เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว 2) เกิดการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ของชุมชน และ 3) เกิดความพึงพอใจของกลุ่มนักท่องเที่ยว
กล่าวโดยสรุปได้ว่าการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน:ชุมชนท่าพรุ - อ่าวท่าเลน จังหวัดกระบี่ ประสบความสำเร็จได้จากการเลือกใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการและกลยุทธ์การสื่อสารที่มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาและบริบทชุมชนเป็นสำคัญ ก่อให้เกิดความยั่งยืนด้านการท่องเที่ยวของชุมชนสืบไป |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560 |
Subject(s): | การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
การท่องเที่ยว -- การจัดการ -- ไทย -- กระบี่ การท่องเที่ยวโดยชุมชน |
Keyword(s): | e-Thesis
การสื่อสารชุมชน การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม การสื่อสารการท่องเที่ยว การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ชุมชนเข้มแข็ง วิทยานิพนธ์รางวัลดี วิทยานิพนธ์ได้รับรางวัล วิทยานิพนธ์ได้รับรางวัลประจำปี 2561 |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 295 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3778 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|
Related items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
การยอมรับและปฏิบัติตามกฎป่าชุมชน : ศึกษาเปรียบเทียบชุมชนที่เป็นคณะกรรมการกับชุมชนที่ไม่ได้เป็นคณะกรรมการ : กรณีศึกษาป่าชุมชนโนนใหญ่ กิ่งอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ
จิราวรรณ อยู่เกษม; ฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2474-, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2000) -
คุณภาพสังคมของชุมชนในทัศนะของชาวชุมชน : ศึกษากรณีชุมชนเปี่ยมธรรม เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร
ธันวดี ดอนวิเศษ; สุพรรณี ไชยอำพร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2009) -
ความแปลกแยกของคนในชุมชนแออัดกับการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน : ศึกษากรณีชุมชนวังโสม กรุงเทพมหานคร
สุกัญญา ถมยา; จิระพร บูรณสิน, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1994)
งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาระดับความแปลกแยกของคนในชุมชนแออัด และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ 4 ด้านของความแปลกแยก คือ ความรู้สึกไร้อำนาจ ความรู้สึกไร้ความหมาย ความรู้สึกไร้บรรทัดฐาน ความรู้สึกโดดเดี่ยวทางสังคม รวมทั้งตัวแปรอื่น ๆ คือทัศนคติมุ่งรักษาวัฒนธรรมและภาพลักษณ์ของชุมชน ทัศนคติเกี่ยวกับกิจกรรมในชุมชนที่ผ่านมา บทบาทของคนใกล้ชิดในการเข้าร่วมกิจกรรม และการติดต่อสื่อสารภายในชุมชน กับตัวแปรตามได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรมการรักษาความสะอาดและกิจกรรมการกุศลประจำปี ตลอดจนศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่าง ๆ ของความแปลกแยกกับการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน ...