การแสวงหาข้อมูล ความไม่แน่นอน พฤติกรรมสอดส่องและความหึงหวงของผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก
by ชริตา ปรมะธนวัฒน์
ชื่อเรื่อง: | การแสวงหาข้อมูล ความไม่แน่นอน พฤติกรรมสอดส่องและความหึงหวงของผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Information seeking, uncertainty, the intrusion and the facebook user's jealousy |
ผู้แต่ง: | ชริตา ปรมะธนวัฒน์ |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | พรพรรณ ประจักษ์เนตร |
ชื่อปริญญา: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างและทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการแสวงหาข้อมูล ความไม่แน่นอน พฤติกรรมสอดส่องเฟซบุ๊ก และความหึงหวง เพื่อหาตัวแปรที่มีประสิทธิภาพในการพยากรณ์หรือทำนายการเกิดความหึงหวงของผู้ใช้งานเฟซบุ๊กที่มีประสบการณ์ด้านความสัมพันธ์แบบคู่รัก งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้การแจกแบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ชายและหญิง อายุ 25 - 34 ปี ที่มีการใช้งานเฟซบุ๊กและกำลังอยู่ในความสัมพันธ์แบบคู่รักและศึกษาดูใจกัน ทั้งที่สมรสและยังไม่ได้สมรส จำนวน 400 คน
โดยพบผลวิจัยดังนี้ (1) เพศหญิงมีพฤติกรรมสอดส่องและมีความหึงหวงบนเฟซบุ๊กมากกว่าเพศชาย (2) ผู้ที่อายุ 26 ปี มีความหึงหวงมากกว่าผู้ที่อายุ 34 ปี (3) ผู้ที่มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี โท และเอกมีพฤติกรรมสอดส่องเฟซบุ๊กของคนรักบ่อยกว่าคนในระดับการศึกษาอื่น (4) นักเรียนนักศึกษาและเจ้าของกิจการเป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมสอดส่องและมีความหึงหวงบนเฟซบุ๊กมากกว่าคนในอาชีพอื่น (5) ผู้ที่มีสถานะความสัมพันธ์โสดเป็นกลุ่มที่มีความไม่แน่นอนในความสัมพันธ์มากกว่ากลุ่มอื่นและนิยมใช้กลยุทธ์การแสวงหาข้อมูลเชิงรับ (6) ผู้ที่มีการตั้งสถานะความสัมพันธ์มีแฟนแล้วบนเฟซบุ๊กเป็นกลุ่มที่มีความหึงหวงบนเฟซบุ๊กมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ และยังเป็นกลุ่มที่ใช้กลยุทธ์ในการแสวงในหาข้อมูลทั้งเชิงรับ เชิงรุกและโต้ตอบมากที่สุดอีกด้วย
นอกจากนี้ผลวิจัยยังพบว่าการแสวงหาข้อมูล ความไม่แน่นอน พฤติกรรมการสอดส่องเฟซบุ๊ก และความหึงหวง มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผลลัพธ์ของการทดสอบสมมติฐานชี้ว่า (1) การแสวงหาข้อมูล (2) พฤติกรรมการสอดส่องเฟซบุ๊ก (3) ความไม่แน่นอนเป็นปัจจัยที่มีประสิทธิภาพในการพยากรณ์ความหึงหวงที่เกิดขึ้นบนเฟซบุ๊ก
โดยข้อมูลที่ปรากฏบนเฟซบุ๊กที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความหึงหวงในระดับมาก ได้แก่ การลงภาพกับแฟนเก่า การบล็อกหรือการจากัดไม่ให้คนรักเข้าถึงบัญชีเฟซบุ๊ก การเพิ่มคนรักเก่าเป็นเพื่อน และการลงภาพการโอบไหล่กับเพศตรงข้ามบนเฟซบุ๊ก |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | Arts and Humanities |
คำสำคัญ: | การแสวงหาข้อมูล
ความไม่แน่นอน เฟซบุ๊ค e-Thesis |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 137 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
ผู้ครอบครองสิทธิ์: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3780 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู b199694e.pdf ( 2,731.99 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
|