แบบจำลองวิเคราะห์ถดถอยเชิงพื้นที่เพื่อพยากรณ์ผลการเลือกตั้งของไทย
by รัชนีพร จันทร์สา
Title: | แบบจำลองวิเคราะห์ถดถอยเชิงพื้นที่เพื่อพยากรณ์ผลการเลือกตั้งของไทย |
Other title(s): | Spatial regression model predicting Thailand election results |
Author(s): | รัชนีพร จันทร์สา |
Advisor: | อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | สถิติประยุกต์ |
Degree department: | คณะสถิติประยุกต์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2017 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2017.76 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษานี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต แบบบัญชีรายชื่อ และพฤติกรรมการใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ในการเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2554 ตัวแปรที่ใช้ศึกษา ได้แก่ ประชากร เศรษฐกิจและสังคม ภูมิศาสตร์ และพฤติกรรมการเลือกตั้งในอดีต เพื่อพัฒนาตัวแบบสำหรับการทำนายผลการเลือกตั้ง โดยเปรียบเทียบตัวแบบ 3 วิธีคือ วิธีกำลังสองน้อยที่สุด (OLS) วิธี Spatial lag model และ วิธี Spatial error model และพิจารณา ค่า R2 สูงสุด ค่า AIC และ BIC ต่ำสุด ผลการศึกษาพบว่า ตัวแบบที่เหมาะสมที่สุดคือ Spatial error model ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับผลการเลือกตั้งสูงคือตัวแปรภูมิภาคที่อยู่อาศัย และพฤติกรรมการเลือกตั้งในอดีต ซึ่งมีผลอย่างมากต่อการพยากรณ์ผลการเลือกตั้งในปี 2554 ในส่วนของพฤติกรรมการใช้สิทธิ์เลือกตั้งนั้น รายได้ และการใช้ประโยชน์ที่ดิน (พื้นที่เมือง และพื้นที่เกษตรกรรม) เป็นตัวแปรพยากรณ์ได้ดี
การศึกษาความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ (Spatial Autocorrelation) ของผลการเลือกตั้งใช้สถิติ Moran’s I และ Local Indicators of Spatial Association (LISA) พบว่าผลการเลือกตั้งมีรูปแบบการกระจายเชิงพื้นที่แบบเกาะกลุ่มโดยเฉพาะสองพรรคการเมืองใหญ่ ที่มีการเกาะกลุ่มของผลการเลือกตั้งตามภูมิภาคอย่างชัดเจนทั้งการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อ โดยพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีแนวโน้มสนับสนุนพรรคเพื่อไทย และภาคใต้มีแนวโน้มสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ยกเว้นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผลการเลือกตั้งของพรรคการเมืองขนาดกลางเช่นพรรคภูมิใจไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา มีการเกาะกลุ่มในพื้นที่ขนาดเล็กเท่านั้น โดยพบการเกาะกลุ่มของเขตเลือกตั้งที่สนับสนุนพรรคภูมิใจไทยอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและเขตเลือกตั้งที่สนับสนุนพรรคชาติไทยพัฒนาอยู่บริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี และนครปฐม
การศึกษานี้มีหน่วยวิเคราะห์เป็นเขตเลือกตั้งไม่ได้วิเคราะห์ระดับบุคคล และตัวแปรจิตวิทยาไม่ได้ถูกใช้ศึกษาด้วย การวิจัยในอนาคตหากมีการพิจารณาตัวแปรจิตวิทยาการเมือง เช่น ความนิยมความชื่นชอบในตัวนักการเมือง การเบื่อหน่ายการเลือกตั้ง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองกับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง และความเป็นคนในท้องถิ่นของนักการเมือง อาจจะทำให้การพยากรณ์ผลการเลือกตั้งแม่นยำมากขึ้น |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สถิติประยุกต์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560 |
Subject(s): | การเลือกตั้ง
พฤติกรรมการเลือกตั้ง |
Keyword(s): | e-Thesis
การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพื้นที่ วิทยานิพนธ์ได้รับรางวัลประจำปี 2561 วิทยานิพนธ์ได้รับรางวัล วิทยานิพนธ์รางวัลดี |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 230 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3783 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|