• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ
  • GSDE: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ
  • GSDE: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

วิเคราะห์นโยบายประชานิยมโดยใช้อิทธิพลของสินค้าฟรีที่มีต่อพฤติกรรมผู้บริโภค

by อดิศักดิ์ อดุลธรรมวิทย์

ชื่อเรื่อง:

วิเคราะห์นโยบายประชานิยมโดยใช้อิทธิพลของสินค้าฟรีที่มีต่อพฤติกรรมผู้บริโภค

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

Zero-price effect and consumer behavior : A reflection on the populist policies

ผู้แต่ง:

อดิศักดิ์ อดุลธรรมวิทย์

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

ทองใหญ่ อัยยะวรากูล

ชื่อปริญญา:

เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

สาขาวิชา:

เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ

คณะ/หน่วยงาน:

คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2560

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

งานวิจัยชิ้นนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาอุปสงค์ของสินค้าฟรีและพฤติกรรมการบริโภคสินค้าฟรีภายใต้บริบทของบรรทัดฐานทางสังคม ในส่วนแรกจะเป็นการศึกษาอุปสงค์ของสินค้าฟรีโดยใช้การวิจัยเชิงทดลองจากกลุ่มตัวอย่าง 200 คน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มโดยการตั้งราคาสินค้า 4 รูปแบบ สินค้าที่ใช้ทดลองคือช็อคโกแลต 2 ยี่ห้อ ซึ่งผู้บริโภคจะต้องตัดสินใจเลือกซื้อช็อคโกแลตยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งเพียงยี่ห้อเดียว โดยผู้วิจัยจะทดลองลดราคาช็อคโกแลตทั้ง 2 ยี่ห้อลงอย่างละเท่าๆกัน ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งช็อคโกแลตยี่ห้อหนึ่งมีราคาเป็นศูนย์และสังเกตการเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์ของสินค้าทั้งสองยี่ห้อ ผลการทดลองพบว่าสัดส่วนอุปสงค์ของสินค้าทั้งสองยี่ห้อจะไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเมื่อระดับราคาของสินค้าทั้งสองยี่ห้อมากกว่าศูนย์ แต่เมื่อได้ลดราคาสินค้ายี่ห้อหนึ่งเป็นศูนย์แล้ว อุปสงค์ของสินค้าฟรีจะมากกว่าอุปสงค์ของสินค้าอีกยี่ห้อหนึ่งที่ไม่ฟรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ถัดมาในส่วนของการศึกษาเกี่ยวกับบรรทัดฐานทางสังคม จะใช้การวิจัยเชิงทดลองจากกลุ่มตัวอย่าง 90 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีผู้สังเกต (พื้นที่เปิด) และไม่มีผู้สังเกต (พื้นที่ปิด) ผลการทดลองพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างค่าเฉลี่ยของทั้งสองกลุ่ม ผู้เข้าร่วมการทดลองในกลุ่มแรก (มีผู้สังเกต) จะหยิบสินค้าในปริมาณที่น้อยกว่า เนื่องจากอยู่ต่อหน้าผู้อื่นจึงต้องแสดงตนตามบรรทัดฐานของสังคมไทยคือ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ที่จะแบ่งปันสินค้าให้ผู้เข้าร่วมทดลองรายอื่นๆ ขณะที่กลุ่มที่ไม่มีผู้สังเกตสามารถหยิบสินค้าได้มากตามต้องการ 
This paper is made for learning consumer’s behavior in context of free good and social norm. First for free good, I carry out a field experiment that sell 2 chocolates in 4 conditions of price. 200 Participants can choose only 1 of 2 chocolates and the price is decreasing through the condition. In condition 4, one of chocolate is free and the other still requires some of money. The study suggests when the price is zero, demand of the free good is significantly increasing comparing with when it has price suggesting existing of zero price effect. The latter for social norm, the experiment is conducted for 90 participants divided into 2 groups. Participants can take chocolate as many as they want but the first group must pick in public while the latter group is out of sight. Not surprisingly, the first group takes the chocolate significantly less than the second group because they confront many people, then, they must keep their image that they are a kind person (take a few free goods for other persons will have more free goods) while the second group only themselves know how much they take.

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560

หัวเรื่องมาตรฐาน:

พฤติกรรมผู้บริโภค

คำสำคัญ:

e-Thesis
สินค้าฟรี
การลดราคาสินค้า
การเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์
บรรทัดฐานทางสังคม

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

63 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3785
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • b199710e.pdf ( 2,112.98 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSDE: Theses [65]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×