• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบลงทะเบียน

แนวทางการผลิตพลังงานหมุนเวียนเพื่อความยั่งยืนของชุมชนในจังหวัดสุรินทร์

by ดวงกมล อิศรางพร

ชื่อเรื่อง:

แนวทางการผลิตพลังงานหมุนเวียนเพื่อความยั่งยืนของชุมชนในจังหวัดสุรินทร์

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

Guideline of sustainable renewable energy supply for communities in Surin Province

ผู้แต่ง:

ดวงกมล อิศรางพร

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

วิสาขา ภู่จินดา

ชื่อปริญญา:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

สาขาวิชา:

การจัดการสิ่งแวดล้อม

คณะ/หน่วยงาน:

คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2560

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของพลังงานหมุนเวียนที่เหมาะสมต่อความต้องการของชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ และประเมินความเป็นไปได้ในการผลิตพลังงานด้วยพลังงานหมุนเวียนในชุมชน ด้านกายภาพ สังคม การบริหารจัดการ เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม และเสนอแนวทางการผลิตพลังงานจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อความยั่งยืนของชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ การวิจัยนี้ใช้แบบสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์เป็นเครื่องมือในการศึกษา ตามกรอบแนวคิด CIPP-I Model ได้แก่ คำถามเกี่ยวกับนโยบาย (Context) สิ่งที่นำเข้า (Input) คำถามเกี่ยวกับการดำเนินงานเพื่อหาศักยภาพที่เหมาะสมของพื้นที่ (Process) คำถามเกี่ยวกับผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น (Output) และคำถามเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น (Impact) โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาคือ ตัวแทนเจ้าหน้าที่จากสำนักงานพลังงานจังหวัด และประชาชนจากชุมชน ที่มีการเลือกใช้พลังงานทดแทนแตกต่างกัน ได้แก่ ชุมชนเกษตรสมบูรณ์ ชุมชนเทศบาลตำบลนิคมปราสาท มูลนิธิพัฒนาอีสาน โดยผู้วิจัยใช้ CIPP-I Model, SWOT Analysis, Force Field Analysis และ GIS เป็นทฤษฎีในการวิเคราะห์ผลการศึกษา ผลการศึกษาด้านกายภาพพบว่าจังหวัดสุรินทร์มีศักยภาพพลังงานหมุนเวียนแสงอาทิตย์สูงสุดโดยมีค่าความเข้มแสงเฉลี่ยอยู่ที่ 17.0-18.5 เมกะจูล/ตารางเมตร/วัน ในแต่ละปี ซึ่งสามารถเทียบเป็นปริมาณพลังงานได้กว่า 11,000 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ พลังงานลมมีค่าเฉลี่ยความเร็วลมอยู่ที่ 4.07 เมตร/วินาที ในแต่ละปีและพลังงานชีวมวลซึ่งได้จากผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ ใบอ้อย ชานอ้อย ฟางข้าว แกลบ และเหง้ามันสำปะหลัง โดยใบอ้อยสามารถแปลงเป็นปริมาณพลังงานได้สูงสุด 283.02 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ และเหง้าจากมันสำปะหลังแปลงเป็นปริมาณพลังงานได้ต่ำสุดอยู่ที่ 2.0 - 4.7 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ในด้านสังคมและการบริหารจัดการ ประชาชนและผู้นำชุมชนในหมู่บ้านหรือตำบลต่าง ๆ ให้ความร่วมมือ และมีความสนใจในการอบรมจัดกิจกรรมพลังงานหมุนเวียนของทางภาครัฐเป็นอย่างดี และส่วนใหญ่พร้อมที่จะนำพลังงานหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้กับชุมชนตนเอง อีกทั้งในด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนสามารถส่งเสริมการทำเกษตรกรรมในชุมชนซึ่งยังผลให้ประชาชนมีรายได้เพิ่ม และลดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือน รวมถึงสร้างอาชีพให้แก่คนว่างงาน ช่วยเสริมสร้างครอบครัวเข้มแข็งและความสุขภายในชุมชน สำหรับผลการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมพบว่าการใช้พลังงานหมุนเวียนไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ ต่อสิ่งแวดล้อม  อนึ่งเนื่องจากจังหวัดสุรินทร์มีการบริหารงานในรูปแบบไตรภาคี ส่งผลให้เกิดความรวดเร็วในการดำเนินงาน แต่ยังพบอุปสรรคหลักในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน คือ ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจ ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนดำเนินไปอย่างล่าช้า และไม่สมบูรณ์ในบางพื้นที่ ดังนั้นการอบรมให้ความรู้ การจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านพลังงานหมุนเวียน พัฒนาการฝึกทักษะให้แก่ประชาชน การจัดสรรงบประมาณและบุคลากรที่เหมาะสม เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้จังหวัดสุรินทร์มีการใช้พลังงานหมุนเวียนได้อย่างสมบูรณ์ และยั่งยืน  
The purposes of this research were to study potential of renewable energy in Surin Province, to assess possibility of producing energy from renewable energy in physical, economic, social, environment and management aspects, and to purpose guidelines to sustained produce energy from renewable energy for community in Surin province. Interviews and observation were used as research tools based on the CIPP-I Model: Context, Input, Process, Output and Impact. Interviews with officers of  Provincial Energy Office, community leaders and villagers were carried out. A survey of  potential renewable energy in communities in Surin Province was also carried out and GIS was used to find out the potential of renewable energy. This research used CIPP-I Model, SWOT Analysis, Force Field Analysis for data analysis. The results in physical aspect show that the highest potential renewable energy in Surin province is solar energy which the average solar intensity is 17.0-18.5 MJ/m2/day equivalent to 11,000 ktoe, following by wind energy which has an average wind speed of 4.07 m/s. Biomass energy comes third, it is from agriculture products such as sugar cane leave, bagasse, straws, husks and cassava rhizome in which the sugarcane leave can be transformed into energy as much as 283.02 ktoe and the cassava rhizome can be transformed into the lowest energy is 2.0-4.7 ktoe. For the social and management aspects, villagers and community leaders are interested and have participated in renewable energy activities. In economy aspect, renewable energy can support an agricultural sector in the community which help to increase incomes, reduce household expense and also create jobs for unemployed people and there is no negative environmental impact of renewable energy use. Surin province has a tripartite to work for renewable energy production, making the job succeed. But there are obstacles in some areas that villagers don’t have much knowledge on renewable energy and so renewable energy development is not fully effective. Therefore, dissemination of renewable energy knowledge, training and activities in renewable energy technology, budget and staff  manage  are key success factors for the province.

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560

หัวเรื่องมาตรฐาน:

พลังงาน -- วิจัย

คำสำคัญ:

พลังงานหมุนเวียน
e-Thesis

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

137 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ผู้ครอบครองสิทธิ์:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3786
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
b197525e.pdf ( 2,739.33 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSEDA: Theses [37]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×