ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ของระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบลอยน้ำ กรณีศึกษา สระเก็บน้ำห้วยเกษียร จังหวัดปราจีนบุรี
by ปิยรัฐ กล่ำทอง
Title: | ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ของระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบลอยน้ำ กรณีศึกษา สระเก็บน้ำห้วยเกษียร จังหวัดปราจีนบุรี |
Other title(s): | Environmental, economic and social impacts of solar floating photovoltaic electricity generation : A case study of Huai Kasian reservoir, Prachinburi |
Author(s): | ปิยรัฐ กล่ำทอง |
Advisor: | วิสาขา ภู่จินดา |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2017 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ของระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ กรณีศึกษา สระเก็บน้ำห้วยเกษียร จังหวัดปราจีนบุรีโดยมีกลุ่มเป้าหมายที่ทำการศึกษาคือ ประชาชน และคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ ของตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี การวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมโดยการเก็บข้อมูลภาคสนาม และการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการโดยศึกษาพารามิเตอร์ อุณหภูมิ ความขุ่น ความเป็นกรด – เบส ปริมาณของแข็งละลายทั้งหมด การนำไฟฟ้า ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ(DO) ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ในการย่อยสลายอินทรีย์สารในน้ำ(BOD) ปริมาณไนเตรต และปริมาณคอลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด โดยทำการเก็บตัวอย่างในเดือนธันวาคม 2559 และมีนาคม 2560 และการวิเคราะห์ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ โดยใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์คือ มูลค่าปัจจุบันเงินกำไรสุทธิ (NPV) อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ระยะเวลาคืนทุน และทางสังคมคือผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) และ การวิเคราะห์ SWOT สำหรับการพิจารณาในผลกระทบด้านสังคม
ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิเคราะห์ด้านสิ่งแวดล้อม ได้ค่าเฉลี่ยของการตรวจวัดในเดือนธันวาคม ดังนี้ อุณหภูมิ 27.8 oC ความขุ่น 26.57 เซนติเมตร ความเป็นกรด – เบส 8.06 ปริมาณของแข็งละลายทั้งหมด 14.1 ppm การนำไฟฟ้า 21.31 µS/cm DO 5.03 มิลลิกรัมต่อลิตร BOD 5.77 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณไนเตรต 0.881 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร และปริมาณคอลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด 1449 MPN/100 มิลลิลิตร และค่าเฉลี่ยของการตรวจวัดในเดือนมีนาคม ดังนี้ อุณหภูมิ 30.9 oC ความขุ่น 32.57 เซนติเมตร ความเป็นกรด – เบส 7.32 ปริมาณของแข็งละลายทั้งหมด 8.88 ppm การนำไฟฟ้า 18.51 µS/cm DO 5.55 มิลลิกรัมต่อลิตร BOD 5.74 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณไนเตรต 1.02 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร และปริมาณคอลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด 758.57 MPN/100 มิลลิลิตร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่าการผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบลอยน้ำไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อคุณภาพน้ำในช่วงเดือนธันวาคม 2559 ถึงมีนาคม 2560 การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์จากการคำนวณมูลค่าปัจจุบันเงินกำไรสุทธิ (NPV) มีค่า 149,617.47 บาท, 109,290.89 บาท และ 109,290.89 บาท อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ได้ร้อยละ 21 ระยะเวลาคืนทุนอยู่ที่ 8.51 ปี, 8.99 ปี และ 10.83 ปี และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) มีค่าเป็น 1:1.82, 1:1.62 และ 1:1.45 ที่อัตราคิดลดร้อยละ 8, 10 และ12 ตามลำดับ พบว่าโครงการระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบลอยน้ำมีความคุ้มค่าแก่การลงทุน และผลการวิเคราะห์ทางสังคมโดยใช้การวิเคราะห์ SWOT พบว่าประชาชนเห็นความสำคัญของโครงการ มีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ของชุมชุน สามารถเป็นต้นแบบในการจัดการทรัพยากรน้ำในชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง โดยเน้นการจัดการไปยังสังคมและชุมชนเพื่อให้โครงการผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบลอยน้ำเกิดความยั่งยืน สำหรับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมพบว่าขนาดของโครงการซึ่งมีขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของสระเก็บน้ำจึงเป็นข้อจำกัดซึ่งยังไม่สามารถบ่งชี้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ จึงต้องมีการดูแลโครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อไป |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560 |
Subject(s): | เซลล์แสงอาทิตย์ |
Keyword(s): | e-Thesis
แผงเซลล์แสงอาทิตย์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 179 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3787 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|