แนวทางการพัฒนาองค์การประเภทธุรกิจธนาคารสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษา ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
by พรฑิตา อังกินันทน์
Title: | แนวทางการพัฒนาองค์การประเภทธุรกิจธนาคารสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษา ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) |
Other title(s): | Approach to developing a banking business organization to become a learning organization : A case study of Bangkok Bank Public Company Limited |
Author(s): | พรฑิตา อังกินันทน์ |
Advisor: | วิชัย อุตสาหจิต |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ |
Degree department: | คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2017 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ 2) ศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สู่องค์การแห่งการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ บุคลากรธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จำนวน 379 คน โดยใช้แบบสอบถามการวัดระดับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการศึกษาโดยวิธีการเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้บริหารระดับสูงขององค์การ จำนวน 6 ท่าน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า องค์ประกอบด้านกระบวนการและการดำเนินการการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมสูงที่สุด รองมาคือ องค์ประกอบด้านพฤติกรรมของผู้นำที่กระตุ้นการเรียนรู้ และองค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่สนับสนุนต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วย 6 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ ปัจจัยด้านโครงสร้างองค์การ ปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนทเศ ปัจจัยด้านการพัฒนาบุคคลและทีมงาน ปัจจัยด้านวัฒนธรรมและบรรยากาศองค์การ และปัจจัยด้านการจูงใจ 3) แนวทางในการพัฒนาองค์การสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย 10 แนวทาง คือ 1.สร้างวิสัยทัศน์ร่วม 2.กำหนดกลยุทธ์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของบุคลากร 3.ออกแบบโครงสร้างองค์การแบบราบ 4.พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยในการปฏิบัติงาน 5.พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ 6.สร้างวัฒนธรรมและบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ 7.ให้โอกาสและสนับสนุนให้บุคลากรทุกคนได้พัฒนาตนเอง 8.ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม 9.กระตุ้นและสนับสนุนให้บุคลากรเกิดการเรียนรู้ และ 10.ให้อำนาจในการตัดสินใจ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560 |
Subject(s): | องค์การแห่งการเรียนรู้ |
Keyword(s): | e-Thesis
ธนาคารกรุงเทพ |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 176 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3790 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|