• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การจัดการขยะที่เหลือจากธุรกิจรับซื้อของเก่าย่านเสือใหญ่อุทิศ กรุงเทพมหานคร

by วลัลนา วัฒนาเหมกร

Title:

การจัดการขยะที่เหลือจากธุรกิจรับซื้อของเก่าย่านเสือใหญ่อุทิศ กรุงเทพมหานคร

Other title(s):

Management of waste residues from recycling business in Suea Yai Uthit Area, Bangkok

Author(s):

วลัลนา วัฒนาเหมกร

Advisor:

วิสาขา ภู่จินดา

Degree name:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การจัดการสิ่งแวดล้อม

Degree department:

คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2017

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการขยะที่เหลือจากธุรกิจรับซื้อของเก่าย่าน เสือใหญ่อุทิศ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการขยะที่เหลือจากธุรกิจรับซื้อของเก่าย่านเสือใหญ่อุทิศ 3) เสนอแนวทางการจัดการขยะที่เหลือจากธุรกิจรับซื้อของเก่าย่านเสือใหญ่อุทิศ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสารและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์และสังเกตผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยผู้วิจัยได้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจรับซื้อของเก่า จำนวน 8 คน 2) ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 4 คน 3) ผู้นำชุมชนและประชาชนที่อาศัยอยู่ย่านเสือใหญ่อุทิศ จำนวน 10 คน เพื่อจับกลุ่มประเด็นปัญหา วิเคราะห์เนื้อหาสาระ วิเคราะห์ปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในโดยหลักการ SWOT Analysis และการวิเคราะห์ TOWS Matrix เพื่อเสนอแนวทางการจัดการขยะที่เหลือจากธุรกิจรับซื้อของเก่าย่านเสือใหญ่อุทิศ กรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจรับซื้อของเก่าย่านเสือใหญ่อุทิศ มีการจัดการขยะ ที่เหลือจากธุรกิจรับซื้อของเก่าโดยแบ่งออกตามลักษณะการประกอบอาชีพได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มร้านรับซื้อของเก่าและซาเล้ง มีการจัดการขยะที่เหลือจากการคัดแยกโดยการเก็บขนมูลฝอยและนำไปกำจัดตามหลักสุขาภิบาลโดยกรุงเทพมหานครเป็นผู้รับผิดชอบ 2) รถเร่ มีการจัดการขยะที่เหลือจากการคัดแยกโดยการลักลอบทิ้งตามพื้นที่รกร้างในย่านเสือใหญ่อุทิศ การลักลอบเผาในพื้นที่โล่งแจ้งและการว่าจ้างขนไปกำจัดนอกพื้นที่ ด้านปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการขยะที่เหลือจากธุรกิจรับซื้อของเก่า ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจในการคัดแยกและการจัดการขยะ ความร่วมมือและการสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การสนับสนุนทางการเงิน และมาตรการทางกฎหมาย เช่น กฎหมายการรีไซเคิล กฎหมายควบคุมผู้ประกอบธุรกิจรับซื้อของเก่า เป็นต้น เป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำมาใช้เป็นแนวทางการจัดการขยะที่เหลือจากธุรกิจรับซื้อของเก่าย่านเสือใหญ่อุทิศ แนวทางการจัดการขยะที่เหลือจากธุรกิจรับซื้อของเก่าย่านเสือใหญ่อุทิศ กรุงเทพมหานคร อาทิเช่น ออกมาตรการทางกฎหมายเพื่อบังคับใช้ พ.ร.บ.การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์... จัดระเบียบผู้ประกอบอาชีพธุรกิจรับซื้อของเก่าโดยการสนับสนุนการจัดตั้งชุมชนเสือใหญ่อุทิศเป็นชุมชนผู้ค้าของเก่าที่ถูกต้องตามกฎหมาย และออกมาตรการหรือกฎหมายกำกับดูแลผู้ประกอบอาชีพธุรกิจรับซื้อของเก่า อันจะก่อให้เกิดการจัดการขยะที่เหลือจากธุรกิจรับซื้อของเก่าให้อยู่คู่กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
The study aimed to 1) study the management of solid waste residues from solid waste separation business in Suea Yai Uthit Area 2) investigate factors affecting solid waste separation business in Suea Yai Uthit Area 3) suggest guidelines for managing solid waste residues. This study is a qualitative research. Data collection was conducted by studying not only related literature reviews but also interviewing and observating three groups of key informants as follows 1) solid waste recycling business entrepreneurs (8 entrepreneurs) 2) policy makers and practitioners (4 people) 3) residents in the area study of Suea Yai Uthit (10 people). The obtained data then were analysed by using SWOT and TOWS matrix so as to propose guidelines for managing solid waste residues. The results showed that the solid waste separation entrepreneurs, i.e. buying solid waste/antique shop and Saleng have an appropriate solid waste management while peddles have disposed solid waste residues themselves by hiring trucks to throw solid waste in wilderness area and sometimes burn them. Factors affecting the solid waste residues include knowledge and understanding on solid waste separation, collaboration and support from related units, financial support and legal measures. Eventually, this study provides guidelines for managing solid waste residues 1) to enact for waste acts for Waste from Electrical and Electronic Equipments (WEEE) 2) to set up a group of entrepreneurs and to endorse measures to be in line with the laws to monitor the entrepreneurs.

Description:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560

Subject(s):

การจัดการขยะ

Keyword(s):

e-Thesis
ขยะที่เหลือจากธุรกิจรับซื้อของเก่า
ธุรกิจรับซื้อของเก่า

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

127 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3793
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b201148e.pdf ( 3,208.22 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSEDA: Theses [91]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×