• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
  • GSCM: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
  • GSCM: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

เครือข่ายการสื่อสารออนไลน์ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันเพื่อการเดินทางในเขตกรุงเทพมหานคร

by ศรัณย์ จันทร์หาญ

Title:

เครือข่ายการสื่อสารออนไลน์ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันเพื่อการเดินทางในเขตกรุงเทพมหานคร

Other title(s):

Online communication network and factors influencing to daily life cycling in Bangkok

Author(s):

ศรัณย์ จันทร์หาญ

Advisor:

พัชนี เชยจรรยา

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม

Degree department:

คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2017

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2017.75

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการสื่อสารเกี่ยวกับการรณรงค์ใช้จักรยานในชีวิตประจำวันผ่านเครือข่ายออนไลน์ รวมถึงการศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิต การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันของผู้ใช้เครือข่ายการสื่อสารออนไลน์เกี่ยวกับการใช้จักรยาน และเพื่อศึกษาตัวแปรพยากรณ์พฤติกรรมการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ด้วยวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) ประกอบด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา การสัมภาษณ์เชิงลึก และการเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม ผลจากการวิเคราะห์เนื้อหาและการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า 1) เครือข่ายการสื่อสารออนไลน์ที่มีการรณรงค์ให้เกิดการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันโดยตรง จะมีการเผยแพร่เนื้อหาและการมีส่วนร่วมของสมาชิกด้วยข่าวสาร เรื่องราว และประสบการณ์เชิงบวก  ต่างจากเครือข่ายการสื่อสารออนไลน์ทีไม่มีการณรงค์โดยตรง  จะมีการเผยแพร่ข่าวสาร เรื่องราว และประสบการณ์เชิงลบ ซึ่งส่งผลให้บุคคลทั่วไปไม่สนใจที่จะหันมาใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน 2) ระดับพฤติกรรมการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมของสมาชิกบนเครือข่ายออนไลน์เกี่ยวกับการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน โดยรวมอยู่ในระดับต่ำ และพบความแตกต่างกันระหว่างเครือข่ายออนไลน์ 2 รูปแบบ คือเว็บไซต์แบบเว็บบอร์ดที่การมีส่วนร่วมส่วนใหญ่เป็นการแสดงความคิดเห็น กับเฟซบุ๊กแฟนเพจที่ส่วนใหญ่เป็นเพียงการแสดงตัวว่ามีการรับรู้ข้อมูลด้วยการกดถูกใจ 3) ลักษณะการเชื่อมโยงและรูปแบบการสื่อสารบนเครือข่ายออนไลน์เกี่ยวกับการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน มีลักษณะการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบบุคคลต่อบุคคล และมีรูปแบบการสื่อสารเครือข่ายแบบกระจายอำนาจแบบทุกช่องทาง แต่ในขณะเดียวกันก็มีรูปแบบการสื่อสารเครือข่ายแบบมีศูนย์กลางแบบวงล้อ โดยมีผู้ดูแลของเครือข่ายทำหน้าที่คัดกรองเนื้อหาที่สามารถปรากฏอยู่บนพื้นที่สาธารณะ ผลการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม พบว่ารูปแบบการดำเนินชีวิตของกลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม สำหรับการเปิดรับข่าวสาร พบว่าสมาชิกนิยมเข้าใช้เฟซบุ๊กมากที่สุด ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร นอกจากนี้ พบว่า การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติ ทัศนคติมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการใช้จักรยาน และรูปแบบการดำเนินชีวิตมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการใช้จักรยานเพื่อการเดินทางในชีวิตประจำวันของกลุ่มรักสุขภาพ  แต่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับกลุ่มตามเทรนด์ตามกระแสและกลุ่มหัวก้าวหน้า  ในส่วนของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน พบว่ามี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ทัศนคติ 2) รูปแบบการดำเนินชีวิตของกลุ่มหัวก้าวหน้า และ 3) รูปแบบการดำเนินชีวิตของกลุ่มตามเทรนด์ตามกระแส
This research aims to study communication in campaigning daily bicycle-using via online network, to examine lifestyle patterns, media exposure, attitude, and bicycle-using behaviors of online users, and to explore predictive factors of daily bicycle using.  Mix-methods research was conducted by content analysis, in depth interview and survey questionnaires. From in depth interview and content analysis, it is found that 1)   online network with direct campaign on daily bicycle-using will disseminate content and members’ participation via  positive information, stories, and experience while that without direct campaign contains negative information, stories, and experience which demotivate people to use bicycle daily   2) The level of participative communication behaviors on daily bicycle-using of online users is low, and differences are found between two kinds of online network : webboard  allowing members to  express their opinions and facebook fanpage  for just pressing “like” on information received 3) Types and patterns of online communication network about daily bicycle-using are person-to person, decentralized, and wheel network with a network administrator responsible for screening content appearing in public sphere. From survey research with questionnaires, 8 patterns of lifestyle are found.  For media exposure, it is found that members use facebook  for information reception the most.  Besides, there is a positive relationship between exposure to information about daily bicycle-using and attitude, between lifestyle patterns and daily bicycle-using behaviors, and between lifestyle pattern of healthy-focus group and daily bicycle-using behaviors.  However, the relationship between trendy and progressive group and daily bicycle-using behaviors is found negative.  In addition, three factors are found to influencing on daily bicycle-using behaviors: attitude, lifestyle pattern of progressive group, and lifestyle pattern of trendy group. 

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560

Subject(s):

จักรยาน -- ไทย
การขี่จักรยาน -- ไทย

Keyword(s):

เครือข่ายการสื่อสารออนไลน์ การเปิดรับข่าวสารออนไลน์ การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม การใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน
ทัศนคติ พฤติกรรม
e-Thesis
Social network
สื่อสังคมออนไลน์
วิทยานิพนธ์รางวัลดี
วิทยานิพนธ์ได้รับรางวัล
วิทยานิพนธ์ได้รับรางวัลประจำปี 2561

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

218 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3795
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b201073e.pdf ( 4,321.79 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSCM: Theses [175]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×