การศึกษาทักษะในการประเมินข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือของเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 12 ถึง 17 ปี ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
by ณัฐิกา ชุณห์สุทธิวัฒน์
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาทักษะในการประเมินข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือของเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 12 ถึง 17 ปี ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The study of the skills to evaluate reliable online information of youth between 12-17 in Bangkok and vicinities |
ผู้แต่ง: | ณัฐิกา ชุณห์สุทธิวัฒน์ |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | นิธินันท์ ธรรมากรนนท์ |
ชื่อปริญญา: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะสถิติประยุกต์ |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของการประเมินข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือของเยาวชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (2) เพื่อวิเคราะห์ทักษะในการประเมินข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือของเยาวชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 411 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Linear Regression) และสหสัมพันธ์ (Pearson Correlation) ผลการวิจัย พบว่า (1) เยาวชนที่มีอายุระหว่าง 12 ถึง 17 ปี ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ไม่ผ่านการประเมินแบบสอบถามเกี่ยวกับองค์ ประกอบที่ใช้ในการประเมินข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ (CRAAP Test) โดยรวม พบว่า คะแนนอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าช่วงคะแนนในเกณฑ์มาตรฐาน (2) เยาวชนผ่านการประเมินฯ เพียง 3 องค์ประกอบจากทั้งหมด 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านความทันสมัยของข้อมูล 2) ด้านความสัมพันธ์กันของข้อมูล และ 3) ด้านบุคคล/ แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ซึ่งคะแนนเฉลี่ยของทั้ง 3 ด้านนี้จัดอยู่ในเกณฑ์ ดี ส่วนอีก 2 ด้าน ที่จัดอยู่ในเกณฑ์คะแนนปานกลาง คือ 4) ด้านวัตถุประสงค์ของข้อมูล และ 5) ด้านความถูกต้องของข้อมูล (3) ความถี่ในการใช้อินเทอร์เน็ต ระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต และประสบการณ์เกี่ยวกับการกระทำหรือเหตุการณ์บนอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อ มีผลต่อทักษะในการประเมินข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ (CRAAP Test) ในด้านความทันสมัยของข้อมูล (4) ความถี่ในการใช้อินเทอร์เน็ต ระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต และประสบการณ์เกี่ยวกับการกระทำหรือเหตุการณ์บนอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อ มีผลต่อทักษะในการประเมินข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ (CRAAP Test) ในด้าน
ความสัมพันธ์กันของข้อมูล (5) เพศ และระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต มีผลต่อทักษะในการประเมินข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ (CRAAP Test) ในด้านบุคคล/ แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ (6) ระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต การได้รับการอบรมเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ต และประสบการณ์เกี่ยวกับการกระทำหรือเหตุการณ์บนอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อ มีผลต่อทักษะในการประเมินข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ (CRAAP Test) ในด้านความถูกต้องของข้อมูล (7) เพศ มีผลต่อทักษะในการประเมินข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ (CRAAP Test) ในด้านวัตถุประสงค์ของข้อมูล และ (8) การอาศัยอยู่กับผู้ปกครอง ความถี่ในการใช้อินเทอร์เน็ต การได้รับการอบรมเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ต และประสบการณ์เกี่ยวกับการกระทำหรือเหตุการณ์บนอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อมีผลต่อทักษะในการประเมินข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ (CRAAP Test) โดยรวม |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | เยาวชน |
คำสำคัญ: | e-Thesis
การใช้งานอินเทอร์เน็ต |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 222 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3797 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|