dc.contributor.advisor | นิธินันท์ ธรรมากรนนท์ | th |
dc.contributor.author | ณัฐิกา ชุณห์สุทธิวัฒน์ | th |
dc.date.accessioned | 2018-07-19T03:47:56Z | |
dc.date.available | 2018-07-19T03:47:56Z | |
dc.date.issued | 2017 | th |
dc.identifier.other | b201146 | th |
dc.identifier.uri | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3797 | th |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560 | th |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของการประเมินข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือของเยาวชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (2) เพื่อวิเคราะห์ทักษะในการประเมินข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือของเยาวชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 411 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Linear Regression) และสหสัมพันธ์ (Pearson Correlation) ผลการวิจัย พบว่า (1) เยาวชนที่มีอายุระหว่าง 12 ถึง 17 ปี ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ไม่ผ่านการประเมินแบบสอบถามเกี่ยวกับองค์ ประกอบที่ใช้ในการประเมินข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ (CRAAP Test) โดยรวม พบว่า คะแนนอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าช่วงคะแนนในเกณฑ์มาตรฐาน (2) เยาวชนผ่านการประเมินฯ เพียง 3 องค์ประกอบจากทั้งหมด 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านความทันสมัยของข้อมูล 2) ด้านความสัมพันธ์กันของข้อมูล และ 3) ด้านบุคคล/ แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ซึ่งคะแนนเฉลี่ยของทั้ง 3 ด้านนี้จัดอยู่ในเกณฑ์ ดี ส่วนอีก 2 ด้าน ที่จัดอยู่ในเกณฑ์คะแนนปานกลาง คือ 4) ด้านวัตถุประสงค์ของข้อมูล และ 5) ด้านความถูกต้องของข้อมูล (3) ความถี่ในการใช้อินเทอร์เน็ต ระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต และประสบการณ์เกี่ยวกับการกระทำหรือเหตุการณ์บนอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อ มีผลต่อทักษะในการประเมินข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ (CRAAP Test) ในด้านความทันสมัยของข้อมูล (4) ความถี่ในการใช้อินเทอร์เน็ต ระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต และประสบการณ์เกี่ยวกับการกระทำหรือเหตุการณ์บนอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อ มีผลต่อทักษะในการประเมินข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ (CRAAP Test) ในด้าน
ความสัมพันธ์กันของข้อมูล (5) เพศ และระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต มีผลต่อทักษะในการประเมินข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ (CRAAP Test) ในด้านบุคคล/ แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ (6) ระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต การได้รับการอบรมเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ต และประสบการณ์เกี่ยวกับการกระทำหรือเหตุการณ์บนอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อ มีผลต่อทักษะในการประเมินข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ (CRAAP Test) ในด้านความถูกต้องของข้อมูล (7) เพศ มีผลต่อทักษะในการประเมินข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ (CRAAP Test) ในด้านวัตถุประสงค์ของข้อมูล และ (8) การอาศัยอยู่กับผู้ปกครอง ความถี่ในการใช้อินเทอร์เน็ต การได้รับการอบรมเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ต และประสบการณ์เกี่ยวกับการกระทำหรือเหตุการณ์บนอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อมีผลต่อทักษะในการประเมินข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ (CRAAP Test) โดยรวม | th |
dc.description.abstract | The purposes of this research were (1) to analyze components of reliable online information evaluation which youth in Bangkok and its vicinity acquired; and (2) to analyze the youth’s skill in evaluating reliable online information. The group sample was 400 people. A questionnaire was used to collect the data. The result showed that (1) Youth between 12-17 in Bangkok and vicinities did not pass the evaluating reliable online information test (CRAAP Test) (2) By dividing the CRAAP test into 5 components, the youth only acquired 3 components which are 1) Currency 2) Relevance and 3) Authority. (3) Frequency of the Internet usage, duration of the Internet usage and experience from action or event on the Internet which can convince and victimize the Internet user influence on the skills used for CRAAP Test’s component of Currency. (4) Frequency of the Internet usage, duration of the Internet usage and experience from action or event on the Internet which can convince and victimize the Internet user influence on the skills used for CRAAP Test’s component of Relevance. (5) Gender and duration of the Internet usage influence on the skills used for CRAAP Test’s component of Authority (6) duration of the Internet usage, Training on the Internet Usage and experience from action or event on the Internet which can convince and victimize the Internet user influence on the skills used for CRAAP Test’s component of Accuracy. (7) Gender influences on the skills used for CRAAP Test’s component of Purpose (8) Residency, Frequency of the Internet usage, Training on the Internet usage and experience from action or event on the Internet which can convince and victimize the Internet user influence on the skills used for CRAAP Test overall. | th |
dc.description.provenance | Made available in DSpace on 2018-07-19T03:47:56Z (GMT). No. of bitstreams: 2
5620416001.pdf: 10029539 bytes, checksum: da29ca597a77c20632a511352c775b47 (MD5)
license.txt: 115 bytes, checksum: 2047cfd32b272b6ffc853575a013e11b (MD5)
Previous issue date: 5 | th |
dc.format.extent | 222 แผ่น | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.language.iso | tha | th |
dc.publisher | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | th |
dc.subject | e-Thesis | th |
dc.subject | การใช้งานอินเทอร์เน็ต | th |
dc.subject.other | เยาวชน | th |
dc.title | การศึกษาทักษะในการประเมินข้อมูลออนไลน์ที่น่าเชื่อถือของเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 12 ถึง 17 ปี ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล | th |
dc.title.alternative | The study of the skills to evaluate reliable online information of youth between 12-17 in Bangkok and vicinities | th |
dc.type | Text | th |
mods.genre | วิทยานิพนธ์ | th |
mods.physicalLocation | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา | th |
thesis.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | th |
thesis.degree.level | Master's | th |
thesis.degree.discipline | บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ | th |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
thesis.degree.department | คณะสถิติประยุกต์ | th |