การจัดการทรัพยากรร่วม: ศึกษากรณีป่าชุมชนในอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ
by พัชรินทร์ โชคศิริ
Title: | การจัดการทรัพยากรร่วม: ศึกษากรณีป่าชุมชนในอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ |
Other title(s): | Management of common-pool resources : case studies of community forests in Thepsathit District Chaiyaphum Province |
Author(s): | พัชรินทร์ โชคศิริ |
Advisor: | สมศักดิ์ สามัคคีธรรม |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การบริหารการพัฒนาสังคม |
Degree department: | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2017 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาวิจัยเรื่อง “การจัดการทรัพยากรร่วม ศึกษากรณีป่าชุมชนในอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ” โดยมีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการจัดการทรัพยากรร่วมของการจัดการป่าชุมชน ศึกษาการประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดการทรัพยากรร่วมของ Elinor Ostrom ในการบริหารจัดการป่าชุมชนที่มีประสิทธิผลอย่างยั่งยืน ศึกษาถึงความสอดคล้องและความแตกต่างในการจัดการป่าชุมชนของแต่ละโครงการป่าชุมชน และเพื่อค้นหาแนวทางการพัฒนาระบบการจัดการป่าชุมชน อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นการศึกษาใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการศึกษาข้อมูลผ่านเอกสาร การสังเกตการณ์ แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึก จึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเชื่อมโยงข้อเท็จจริงเข้ากับกรอบแนวคิดทฤษฎี พิจารณาถึงความน่าจะเป็นอย่างสมเหตุสมผลของสถานการณ์ เพื่อเปรียบเทียบระหว่างแนวคิดทฤษฎีกับมูลเหตุข้อเท็จจริงในประการทั้งปวง โดยคัดเลือกโครงการป่าชุมชนที่ประสบความสำเร็จ 2 แห่ง คือ โครงการป่าชุมชนบ้านวังช้างและโครงการป่าชุมชนบ้านโคกอนุ ตำบลนายางกลัก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ โดยเน้นวิเคราะห์กรณีศึกษาในเชิงลึก เพื่อให้ได้มาซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินการบริหารจัดการโครงการป่าชุมชน อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ พร้อมทั้งการพิจารณาถึงความสอดคล้องกับแนวคิดการจัดการทรัพยากรร่วมของ Ostrom
จากการศึกษา พบว่า ป่าชุมชนทั้ง 2 แห่ง มีความสอดคล้องกับทฤษฎีของ Ostrom 5 ประการ และไม่สอดคล้อง 3 ประการ นอกจากนี้ยังพบว่ามีปัญหาและอุปสรรคในการจัดการป่าชุมชนที่คล้ายคลึงกัน เนื่องด้วยมีอาณาเขต/พื้นที่ติดต่อกัน ตั้งอยู่บนลักษณะภูมิประเทศเดียวกันและมีทรัพยากรทางธรรมชาติเฉกเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะปัญหาจากการควบคุมจากรัฐ สำหรับการค้นหาแนวทางการพัฒนาระบบการจัดการป่าชุมชน อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ กล่าวได้ว่า ทฤษฎีการจัดการป่าชุมชนของ Ostrom มีความเหมาะสมเด่นชัดอย่างยิ่งที่จะนำมาเป็นแนวทางปฏิบัติในการจัดการป่าชุมชนทั้ง 2 แห่ง โดยเฉพาะแนวทางการจัดการป่าชุมชนโดยการเชื่อมโยงกับระบบที่ใหญ่กว่าด้วยภาคีเครือข่าย เพื่อหลีกเลี่ยงการจัดการป่าชุมชนอย่างโดดเดี่ยว โดยปราศจากแรงสนับสนุนจากเครือข่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับข้อค้นพบอันนอกเหนือจากกรอบทฤษฎีของ Ostrom ได้แก่ โครงการพุทธอุทยานและภาวะผู้นำ ซึ่งผู้นำจะมีบทบาทสำคัญในการเป็นตัวขับเคลื่อน กระตุ้นชาวบ้านให้พร้อมใจกันและเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาป่าชุมชน สร้างกลไกที่มีความยุติธรรมกับผู้ที่มีสิทธิ์ในทรัพยากรป่า พร้อมสร้างความรู้สึกรักและรู้สึกเป็นเจ้าของทรัพยากรอันทรงคุณค่านั้นๆ รวมถึงการจัดการป่าชุมชนจะต้องสอดคล้องกับกติป่าชุมชนเช่นเดียวกัน |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560 |
Keyword(s): | e-Thesis
การจัดการทรัพยากรร่วม ทรัพยากรร่วม ป่าชุมชน |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 209 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3800 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|