• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

LoginRegister

แนวทางการจัดการการตลาดการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการในอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

by กฤษณา ธนวัฒนาภรณ์

Title:

แนวทางการจัดการการตลาดการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการในอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

Other title(s):

Tourism marketing management guidelines through participation of local entrepreneurs : Khanom District, Nakhon Si Thammarat

Author(s):

กฤษณา ธนวัฒนาภรณ์

Advisor:

สุดสันต์ สุทธิพิศาล

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ

Degree department:

คณะการจัดการการท่องเที่ยว

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2015

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการท่องเที่ยวที่คาดหวังของ ผู้ประกอบการในอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นและความ คาดหวังด้านทางการจัดการการตลาดการท่องเที่ยวของผู้ประกอบการในอำเภอขนอม จังหวัด นครศรีธรรมราช และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการการตลาดการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของ ผู้ประกอบการในอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช วิธีการศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก การศึกษารูปแบบการท่องเที่ยวที่คาดหวังของผู้ประกอบการ โดยศึกษาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจาก ผู้เชี่ยวชาญ และการประชุมเชิงปฏิบัติการ ส่วนที่สอง การสำรวจภาคสนามโดยใช้แบบสอบถาม ความคิดเห็นและความคาดหวังด้านทางการจัดการการตลาดการท่องเที่ยวของผู้ประกอบการใน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช และอภิปรายกลุ่มย่อย สรุปได้ดังนี้
ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจจากผู้ประกอบการ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจ ร้านอาหารและสินค้าที่ระลึก และรองลงมาเป็นธุรกิจที่พัก ผู้ประกอบการมีคาดหวังต่อการจัดการ การตลาดสูงที่สุดในด้านราคา ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการขาย และด้านช่องทางการจัด จำหน่าย ตามลำดับ
ผลการศึกษาพบว่า อำเภอขนอมเลือกนำเสนอการท่องเที่ยวแบบละเมียด เป็นรูปแบบการ ท่องเที่ยวที่เรียบง่าย ผสมผสานระหว่างทรัพยากรธรรมชาติและวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ทรัพยากร ทางการท่องเที่ยวที่ต้องการนำเสนอต่อนักท่องเที่ยว คือ โลมาสีชมพู ความเงียบสงบ การทำประมง พื้นบ้าน และอาหารทะเล ตามลำดับ นักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย คือ ชาวยุโรปที่มาพำนักระยะยาวและ มีการใช้จ่ายสูง
นอกจากนี้ผลการศึกษาพบว่า ขนอมควรมีการจัดการการตลาดการท่องเที่ยวโดยให้แต่ละ ภาคธุรกิจเลือกนำเสนอจุดเด่นของอำเภอขนอมอย่างเป็นเอกภาพ คือ ที่พักจะตกแต่งห้องพักด้วย สัญลักษณ์โลมาสีชมพู ร้านอาหารจะมีแกงพริกกระดูกหมูใส่เม็ดมะม่วงหิมพานต์เป็นอาหาร แนะนำ บริษัทนำเที่ยวจะมีโปรแกรมท่องเที่ยววิถีชาวประมงชมโลมาสีชมพูเป็นเส้นทางการ ท่องเที่ยวแนะนำ เป็นต้น

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

Subject(s):

การท่องเที่ยว -- แง่เศรษฐกิจ
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
การท่องเที่ยว -- การตลาด -- ไทย -- นครศรีธรรมราช -- ขนอม
การส่งเสริมการตลาด

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

144 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3870
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
b189624.pdf ( 1,904.89 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSTM: Theses [69]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×