• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านอาหารพื้นเมืองจังหวัดน่าน

by หทัยชนก ฉิมบ้านไร่

Title:

แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านอาหารพื้นเมืองจังหวัดน่าน

Other title(s):

Guidelines for tourism promotion through local food of Nan Province

Author(s):

หทัยชนก ฉิมบ้านไร่

Advisor:

รักษ์พงศ์ วงศาโรจน์

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ

Degree department:

คณะการจัดการการท่องเที่ยว

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2014

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพของอาหารพื้นเมืองน่าน ศึกษาความ ต้องการ การรับรู้ พฤติกรรม และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยท่ีมีต่ออาหารพื้นเมืองน่าน และหาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านอาหารพื้นเมืองจังหวัดน่าน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ที่มีประสบการณ์ มีความรู้เกี่ยวกับอาหารพื้นเมืองจังหวัดน่านจำนวน 5 คน กลุ่มสมาคมธุรกิจท่องเที่ยว และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการ ท่องเที่ยวในจังหวัดน่าน จำนวน 7 คน กลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารพื้นเมืองในจังหวัดน่าน จำนวน 14 ร้าน และใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยว จังหวัดน่าน จำนวน 400 คน วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้เทคนิค SWOT Analysis เป็น เครื่องมือในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของการส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่าน อาหารพื้นเมือง เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านอาหารพื้นเมืองจังหวัดน่าน
ผลจากการศึกษาศักยภาพของอาหารพื้นเมืองน่าน พบว่า ส่วนใหญ่มีศักยภาพอยู่ใน ระดับสูง ซึ่งประเภทอาหารจานเดียวมีศักยภาพสูงที่สุด และเมื่อพิจารณารายด้าน จะพบว่า ด้านการ ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นมีศักยภาพสูงที่สุดนอกจากนี้ผลการศึกษา พบว่า นักท่องเที่ยวต้องการบริโภค อาหารพื้นเมืองหลังจากการเดินทางมาท่องเที่ยว และในระหว่างท่องเที่ยวที่จังหวัดน่านอยู่ในระดับ มากที่สุด นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่รู้จักรายการอาหารพื้นเมืองในแต่ละประเภท โดยชอบอาหาร พื้นเมืองประเภทจานเดียว เช่น ขนมจีนน้ำเงี้ยว ข้าวซอย มากที่สุด ส่วนการศึกษาความพึงพอใจของ นักท่องเที่ยวที่มีต่ออาหารพื้นเมืองน่านพบว่านักท่องเที่ยวพึงพอใจในด้านอัตลักษณ์ของอาหาร พื้นเมืองมากที่ีสุด
และจากผลการศึกษาผู้วิจัยได้เสนอแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยว ถึงความเป็นไปได้ และแนวทางที่จะช่วยผลักดันให้เกิดการส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านอาหารพื้นเมืองจังหวัดน่าน โดย แบ่งออกเป็น 6 ด้าน คือ ด้านอัตลักษณ์ของอาหารพื้นเมือง ด้านคุณภาพของอาหารพื้นเมือง ด้าน ราคาด้านการบริการ ด้านลักษณะของร้านอาหารพื้นเมือง และด้านการประชาสัมพันธ์และ การตลาด

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557

Subject(s):

อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- ไทย -- น่าน
การส่งเสริมการท่องเที่ยว

Keyword(s):

อาหารพื้นเมือง

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

181 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3874
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b189680.pdf ( 2,463.75 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSTM: Theses [129]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×