เปรียบเทียบความยุติธรรมตะวันตกกับพระพุทธศาสนาเถรวาทและกฎหมายไทย
Files
Publisher
Issued Date
2015
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
192 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b189992
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
พระคทาวุธ คเวสกธมโม (เพ็งที) (2015). เปรียบเทียบความยุติธรรมตะวันตกกับพระพุทธศาสนาเถรวาทและกฎหมายไทย. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3952.
Title
เปรียบเทียบความยุติธรรมตะวันตกกับพระพุทธศาสนาเถรวาทและกฎหมายไทย
Alternative Title(s)
Comparison of justice among the western, Theravada and Thai laws
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมา ความหมาย และรูปแบบของความ
ยุติธรรม 2) ศึกษาแนวคิดความยุติธรรมตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท 3) ศึกษาเปรียบเทียบความ
ยุติธรรมของตะวันตกกับพระพุทธศาสนาและกฎหมายไทย
ผลการศึกษาพบว่าแนวคิดความยุติธรรมตะวันตกในสมัยโบราณได้ยึดติดอยู่กับพระเจ้าแต่ใน
เวลาต่อมาความยุติธรรมก็คือกฎหมายเพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการผดุงความยุติธรรมของสังคมร่วม
กันแต่ในปัจจุบันนี้สังคมตะวันตกได้ยึดถือความยุติธรรมตามสำนักกฎหมายบ้านเมือง โดยอยู่ภายใต้
เงื่อนไขของหลักความยุติธรรม (หลักกฎหมายทั่วไป) และความยุติธรรมได้แปรสภาพมาเป็นกฎหมาย
โดยให้ความสำคัญและได้คำนึงถึงคุณค่าในเรื่องของการวางกฎเกณฑ์ลงมาสู่สังคมได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้
การที่มีแนวคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมโดยให้ยึดถือตามกฎหมายที่ออกมาจากรัฏฐาธิปัตย์เป็นสิ่งที่ยุติ
ธรรมที่สุด แต่ด้วยเหตุนี้ก็ส่งผลให้รัฏฐาธิปัตย์เกิดช่องโหว่ในการใช้อำนาจตามอำเภอใจได้ สำหรับ
ความยุติธรรมตามแนวคิดของพระพุทธศาสนาเถรวาทไม่มีการแบ่งชนชั้นวรรณะ ทุกคนมีความเสมอ
ภาคเท่าเทียมกันในการเข้าถึงความจริงสูงสุดคือ “พระนิพพาน” ความยุติธรรมจึงเป็นหน ทางที่ทำให้
มนุษย์เข้าถึงความจริงสูงสุดของพระพุทธศาสนา สิ่งสำคัญต้องให้มีพื้นที่ สิทธิ เสรีภาพ และความ
เสมอภาค เพราะเป็นพื้นที่ของความยุติธรรมการจะทำให้มีพื้นที่ตรงนี้เกิดขึ้นได้ก็ด้วยการส่งเสริมให้
มนุษย์มุ่งทำแต่กรรมดีร่วมกันเพราะกฎแห่งกรรมยุติธรรมและเที่ยงแท้เสมอ โดยยึดตามหลักของ
พรหมวิหาร 4 และอคติ 4 จึงจะทำให้เกิดความยุติธรรม (อวิโรธนะ) ได้อย่างแท้จริง
ทั้งนี้ ความเหมือนกันระหว่างความยุติธรรมของตะวันตกกับพระพุทธศาสนาคือ มีสมมติ
สัจจะที่นำมาใช้เป็นหลักความยุติธรรมเหมือนกัน และหลักสมมติสัจจะของตะวันตกก็จะมีสิ่งที่คอย
ควบคุมคือหลักความยุติธรรม (หลักกฎหมายทั่วไป) หลักสมมติสัจจะต้องสอดคล้องกับหลักความ
ยุติธรรม เฉกเช่นเดียวกันกับสมมติสัจจะในพระพุทธศาสนาก็มีหลักปรมัตถสัจจะที่คอยควบคุมเช่นกัน
คือหลักสมมติสัจจะต้องสอดคล้องกับกฎธรรมชาติ (หลักปรมัตถสัจจะ) แต่ในความเหมือนก็มีความ
แตกต่างกล่าวคือ หลักความยุติธรรม (หลักกฎหมายทั่วไป) ของตะวันตกมีขอบเขตเพียงแค่ทำให้
มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมร่วมกันอย่างสมดุลและมีความยุติธรรม แต่กฎธรรมชาติ (หลักปรมัตถสัจจะ) ของพระพุทธศาสนาไม่ได้มุ่งหวังแค่เพียงให้มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสมดุลมีความ
ยุติธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นหนทางที่ทำให้มนุษย์ได้เข้าถึงความจริงอันสูงสุดของชีวิตคือพระนิพพาน
อนึ่ง ในสังคมไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยถึงกรุงรัตนโกสินทร์ก่อนที่จะมีการปฏิรูปกฎหมาย
หลักความยุติธรรมได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์พระธรรมศาสตร์และหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็น
อย่างมาก ถือได้ว่าเป็นยุคธรรมะนิยมเพราะโครงสร้างของสังคมตั้งแต่ผู้ปกครอง กฎหมาย หลักความ
ยุติธรรม วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของคนในสังคมล้วนมีความสอดคล้องกลมกลืนเดินไปใน
ทิศทางเดียวกันหมด คือมีธรรมเป็นแก่นสาร จึงส่งผลให้สังคมมีความสามัคคีปรองดอง เป็นสังคมที่
ช่วยเหลือเกื้อกูล มีน้ำใจ ไมตรี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ตระหนักในบาปบุญคุณโทษจึงทำให้สังคมเกิดความ
ยุติธรรมเป็นอย่างยิ่ง แต่เมื่อได้เข้าสู่ยุคปฏิรูปกฎหมาย หลักความยุติธรรมของไทยจากเดิมที่ยึดมั่นใน
ธรรมเป็นสารัตถะก็ได้ถูกแทนที่ด้วยหลักความยุติธรรมของตะวันตก ซึ่งกฎหมายที่เป็นหลักของความ
ยุติธรรมเปรียบเสมือนเป็นตัวสะท้อนของวัฒนธรรม ประเพณีในส่วนของค่านิยม เมื่อสังคมไทยนำ
แนวคิดของตะวันตกมาใช้จึงส่งผลทำให้คนในสังคมไทยเกิดความขัดแย้งกันระหว่างวัฒนธรรมตะวัน
ตกกับวัฒนธรรมไทย กฎหมายหรือหลักความยุติธรรมของตะวันตกที่นำมาใช้จึงไม่สอดคล้องกับบริบท
ของสังคมไทย และปัญหายุ่งเหยิงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยปัจจุบันนี้ ตลอดถึงคนในสังคมไม่มีความ
สามัคคี สาเหตุส่วนหนึ่งก็มาจากการที่เรารับเอาหลักความยุติธรรมของตะวันตกมาใช้ในสังคมไทย
นั้นเอง
อย่างไรก็ตามในการศึกษาครั้งนี้ผู้เขียนเห็นว่า หลักความยุติธรรมของตะวันตก หลักความ
ยุติธรรมตามแนวคิดพระพุทธศาสนาเถรวาท หลักความยุติธรรมในกฎหมายไทย จะมีจุดร่วมที่เหมือน
กันเรียกว่า “หลักความบริสุทธิ์ สำคัญกว่าความยุติธรรม” กล่าวคือ ความบริสุทธิ์ของมนุษย์สำคัญ
กว่าความยุติธรรม ถ้ามนุษย์ไม่มีความบริสุทธิ์ ความยุติธรรมก็ไม่เกิดมนุษย์เป็นผู้บริสุทธิ์ได้ต้อง
ประกอบไปด้วยคุณธรรม 4 ประการคือ หิริโอตตัปปธรรม สุกกธรรม สันติธรรม และสัปปุริสธรรม
เมื่อบุคคลใดพร้อมด้วยคุณธรรมทั้ง 4 ประการถือว่าเป็นบุคคลที่ประเสริฐในหมู่มนุษย์ เป็นมนุสสเทโว
มนุษย์ผู้เปรียบประดุจเหมือนเทวดาและตัวแปรสำคัญที่จะเป็นเครื่องมือสร้างความยุติธรรมหรือเป็น
ตัวเชื่อมกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ในสังคมให้เกิดดุลยภาพ และทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่าง
สันติสุขก็คือ “กฎหมาย” ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่าต้องให้กฎหมายเป็นหนึ่งเดียวกับความยุติธรรม
กฎหมายต้องสอดคล้องกับบริบทของสังคม และกฎหมายต้องเป็นไปเพื่อไม่ให้คนทำชั่ว มุ่งหวังให้คน
ทำดี ส่งเสริมให้คนได้มีการพัฒนาจิตใจและปัญญา ซึ่งจะเป็นหนทางที่จะธำรงความยุติธรรมให้อยู่คู่
กับสังคมได้ตลอดไป
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558