วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม : ศึกษากรณีโครงการสำรวจพัฒนาและผลิตปิโตรเลียมบนบกของไทย
Files
Publisher
Issued Date
2015
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
170 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b189994
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
มาริสา เกิดอยู่ (2015). วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม : ศึกษากรณีโครงการสำรวจพัฒนาและผลิตปิโตรเลียมบนบกของไทย. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3954.
Title
วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม : ศึกษากรณีโครงการสำรวจพัฒนาและผลิตปิโตรเลียมบนบกของไทย
Alternative Title(s)
An analysis of the laws relating to public participation in environmental impact assessment, case studies of petroleum exploration and production onshore in Thailand
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวความคิดและทฤษฎีการมีส่วนร่วม ของประชาชน โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธรัฐมาเลเซีย วิเคราะห์เปรียบเทียบกับประเทศไทย ศึกษาปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 และเพื่อเสนอแนะและหาแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมและปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับโครงการสำรวจพัฒนาและผลิตปิโตรเลียมบนบกของไทย ที่เหมาะสม เป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับมิติของไทย
ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนยังขาดการมีส่วนร่วมแต่ขั้นตอนการให้ข้อมูลแก่ประชาชน (Inform) การร่วมกันปรึกษาหารือ (Consult) การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (Involve) การมีส่วนร่วมกันในการแก้ปัญหา (Collaborate) และการพัฒนาข้อตกลงร่วมกัน (Empower) โดยรัฐมองว่าเป็นแนวทางที่มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับสังคมส่วนรวม รัฐจึงได้ทำการตัดสินใจดำเนินโครงการเพื่อให้เป็นไปตามแผนและนโยบายตามที่รัฐกาหนดไว้ ทำให้ระดับของการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนวความคิดทฤษฎีเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมของประชาชนที่จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพและเคารพต่อหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation) และหลักประชาธิปไตย (Democracy) ที่แท้จริง กฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้ที่อาจได้รับผลกระทบเข้ามามีส่วนร่วมในขั้นตอนที่มีผลต่อการตัดสินใจ (Decision-Making) ของหน่วยงานผู้มีอำนาจตามกฎหมายและเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้ที่อาจได้รับผลกระทบเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในทุกระดับโดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจส่งผลต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของประชาชนโดยเคารพต่อหลักการตรวจสอบ (Accountability) และหลักความโปร่งใส
ผู้เขียนจึงขอเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา ดังนี้ ประการที่หนึ่ง ควรจะมีกฎหมายหรือระเบียบระบุให้มีการพัฒนาขีดความสามารถของประชาชน หรือระบุให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบต้องให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนทางเทคนิค (Technic) ประการที่สอง รัฐควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการและมีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบตั้งแต่ขั้นตอนก่อนการดำเนินโครงการ ขณะดำเนินโครงการและหลังสิ้นสุดการดำเนินโครงการ ประการที่สาม ในกรณีที่มีการคืนพื้นที่แปลงสำรวจ รัฐควรเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียได้รับทราบแผนงานและประมาณการค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งมีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบโดยเฉพาะเกี่ยวกับคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่อาจส่งผลกระทบต่อประชาชน ประการที่สี่ ในกรณีที่มีการเวนคืนเพื่อใช้ในกิจการปิโตรเลียม ควรมีการกำนดกลไกทางกฎหมายเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอันเกี่ยวข้องกับการวางแผนด้านพลังงาน ประการที่ห้า ควรมีกฎหมายหรือระเบียบระบุให้ประชาชนมีสิทธิในการขอตรวจดูรายงานรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้ เนื่องจากข้อมูลที่ได้จากการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนนั้นอาจมีข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558