• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม : ศึกษากรณีโครงการสำรวจพัฒนาและผลิตปิโตรเลียมบนบกของไทย

by มาริสา เกิดอยู่

ชื่อเรื่อง:

วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม : ศึกษากรณีโครงการสำรวจพัฒนาและผลิตปิโตรเลียมบนบกของไทย

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

An analysis of the laws relating to public participation in environmental impact assessment, case studies of petroleum exploration and production onshore in Thailand

ผู้แต่ง:

มาริสา เกิดอยู่

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

ปุ่น วิชชุไตรภพ

ชื่อปริญญา:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

คณะ/หน่วยงาน:

คณะนิติศาสตร์

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2558

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

การศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวความคิดและทฤษฎีการมีส่วนร่วม ของประชาชน โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธรัฐมาเลเซีย วิเคราะห์เปรียบเทียบกับประเทศไทย ศึกษาปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 และเพื่อเสนอแนะและหาแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมและปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับโครงการสำรวจพัฒนาและผลิตปิโตรเลียมบนบกของไทย ที่เหมาะสม เป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับมิติของไทย ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนยังขาดการมีส่วนร่วมแต่ขั้นตอนการให้ข้อมูลแก่ประชาชน (Inform) การร่วมกันปรึกษาหารือ (Consult) การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (Involve) การมีส่วนร่วมกันในการแก้ปัญหา (Collaborate) และการพัฒนาข้อตกลงร่วมกัน (Empower) โดยรัฐมองว่าเป็นแนวทางที่มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับสังคมส่วนรวม รัฐจึงได้ทำการตัดสินใจดำเนินโครงการเพื่อให้เป็นไปตามแผนและนโยบายตามที่รัฐกาหนดไว้ ทำให้ระดับของการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนวความคิดทฤษฎีเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมของประชาชนที่จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพและเคารพต่อหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation) และหลักประชาธิปไตย (Democracy) ที่แท้จริง กฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้ที่อาจได้รับผลกระทบเข้ามามีส่วนร่วมในขั้นตอนที่มีผลต่อการตัดสินใจ (Decision-Making) ของหน่วยงานผู้มีอำนาจตามกฎหมายและเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้ที่อาจได้รับผลกระทบเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในทุกระดับโดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจส่งผลต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของประชาชนโดยเคารพต่อหลักการตรวจสอบ (Accountability) และหลักความโปร่งใส ผู้เขียนจึงขอเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา ดังนี้ ประการที่หนึ่ง ควรจะมีกฎหมายหรือระเบียบระบุให้มีการพัฒนาขีดความสามารถของประชาชน หรือระบุให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบต้องให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนทางเทคนิค (Technic) ประการที่สอง รัฐควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการและมีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบตั้งแต่ขั้นตอนก่อนการดำเนินโครงการ ขณะดำเนินโครงการและหลังสิ้นสุดการดำเนินโครงการ ประการที่สาม ในกรณีที่มีการคืนพื้นที่แปลงสำรวจ รัฐควรเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียได้รับทราบแผนงานและประมาณการค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งมีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบโดยเฉพาะเกี่ยวกับคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่อาจส่งผลกระทบต่อประชาชน ประการที่สี่ ในกรณีที่มีการเวนคืนเพื่อใช้ในกิจการปิโตรเลียม ควรมีการกำนดกลไกทางกฎหมายเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอันเกี่ยวข้องกับการวางแผนด้านพลังงาน ประการที่ห้า ควรมีกฎหมายหรือระเบียบระบุให้ประชาชนมีสิทธิในการขอตรวจดูรายงานรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้ เนื่องจากข้อมูลที่ได้จากการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนนั้นอาจมีข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

หัวเรื่องมาตรฐาน:

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
การมีส่วนร่วมของประชาชน
ปิโตรเลียม

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

170 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3954
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • b189994.pdf ( 2,301.35 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [187]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×