สัญญาประกันภัย : ศึกษากรณีสัญญาประกันภัยอิสรภาพ
by วิชย จันทรเวคิน
Title: | สัญญาประกันภัย : ศึกษากรณีสัญญาประกันภัยอิสรภาพ |
Other title(s): | Insurance contract : Case study of independence insurance contract |
Author(s): | วิชย จันทรเวคิน |
Advisor: | ปิยะนุช โปตะวณิช |
Degree name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree department: | คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2015 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1 . เพื่อศึกษาถึงหลักเกณฑ์ทฤษฎี และหลักกฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันภัย 2. เพื่อศึกษาถึงกฎหมายต่างประเทศและประเทศไทย ที่เกี่ยวข้องกับ สัญญาประกันภัยและสัญญาประกันตัวในคดีอาญา 3. เพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบสัญญา ประกันภัยอิสรภาพกับสัญญาประกันภัยและสัญญาประกันตัว 4. เพื่อเสนอแนะมาตรการทาง กฎหมายที่เหมาะสมสำหรับระบบประกันอิสรภาพ วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาถึงประวัติความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับ สัญญาประกันภัย และสัญญาประกันตัว ตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ ทั้งในระบบ Civil Law อันได้แก่ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และระบบ Common Law อันได้แก่ อังกฤษ โดยศึกษาจากเอกสาร ทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หนังสือ คำบรรยายกฎหมาย บทความ ความคิดเห็นของ นักวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ วารสารที่เกี่ยวข้อง และการเก็บข้อมูลจากการค้นคว้าทาง อินเตอร์เน็ต (Internet) ทั้งนี้ เพื่อให้ทราบเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของทำสัญญา ประกันภัย โดยเฉพาะสัญญาประกันวินาศภัยว่ามีประการใดบ้าง คำว่า "วินาศภัย" รวมความไปถึงการ สูญเสียสิทธิและเสรีภาพในร่างกายจากการใช้อำนาจควบคุม คุมขังของเจ้าพนักงานของรัฐหรือไม่ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการทำสัญญาประกันภัยในต่างประเทศ ไม่มีการทำสัญญาประกันภัยอิสรภาพ ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่จัดให้มีการทำสัญญาประกันภัยในลักษณะนี้ ซึ่งมีเงื่อนไขในการชดใช้ เงินตามสัญญาโดยอาศัยเหตุแห่งการผิดสัญญาประกันตัวของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา ฉะนั้น เมื่อประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่จัดให้มีการทำสัญญาประกันภัยอิสรภาพได้ จึงเป็นการสมควร อย่างยิ่งที่จะทำการทบทวนและศึกษาโดยละเอียดว่า การทำสัญญาประกันภัยอิสรภาพที่ว่านี้ขัดหรือ แย้งกับแนวคิด ทฤษฎี และหลักกฎหมายประกันภัยหรือไม่ แนวทางการปรับใช้บทกฎหมายกับ สัญญาประกันภัยอิสรภาพควรจะเป็นไปในลักษณะใด โดยมีประเด็นที่ทำการวิเคราะห์ดังนี้ 1. สัญญา ประกันภัยอิสรภาพเป็นสัญญาประกันภัยหรือไม่ 2. ความรับผิด ของผู้รับประกันภัยตามสัญญา ประกันภัยอิสรภาพเป็นความรับผิดเช่นเดียวกับความรับผิดตามสัญญาประกันภัยหรือไม่ 3. สัญญา ประกันภัยอิสรภาพเป็นสัญญาทางแพ่งลักษณะใด 4. มาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมสำหรับ ระบบประกันอิสรภาพ จากประเด็นวิเคราะห์ดังกล่าวมา ผู้วิจัยจึงเห็นว่าเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องหาข้อยุติ ให้ได้ว่าสัญญาประกันภัยอิสรภาพ เป็นสัญญาประกันภัยอย่างหนึ่งหรือไม่ และหากไม่ใช่สัญญาประกันภัยจะต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายและพาณิชย์ลักษณะใดมาปรับใช้ เมื่อเกิดข้อ พิพาทขึ้นระหว่างคู่สัญญา ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญา ประกันภัยอิสรภาพต่อไป |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558 |
Subject(s): | ประกันภัย |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 223 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3955 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|