• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

LoginRegister

แนวทางการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ : ศึกษากรณีการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์

by เมธัส ปัณณะเจริญรักษ์

Title:

แนวทางการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ : ศึกษากรณีการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์

Other title(s):

Recommendations for amendment of law related to Narcotics : A case study on the use of cannabis for medical purpose

Author(s):

เมธัส ปัณณะเจริญรักษ์

Degree name:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2015

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวความคิด และวิวัฒนำการเกี่ยวกับการควบคุมสิ่งเสพติดรวมถึงแนวความคิดการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เพื่อแก้ไขมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับกัญชาให้สามารถนำยารักษาโรคภัยไข้เจ็บที่มีสารต่าง ๆ ของกัญชามาใช้ประโยชน์ในประเทศไทยได้ โดยศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับกัญชาในสหรัฐอเมริกาที่ปัจจุบันมี 23 รัฐจากทั้งหมด 50 รัฐแก้ไขให้สามารถนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์ได้ และสาธารณรัฐอุรุกวัยที่มีมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับกัญชาเสมือนสิ่งถูกกฎหมายที่ประชาชนสามารถรวมตัวปลูกเพื่อจำหน่ายได้ รวมถึงศึกษาอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 แก้ไขเพิ่มเติม ค.ศ. 1970 (The Single Convention on Narcotic Drugs, 1961 as Amended by, 1972) บัญญัติข้อยกเว้นให้ภาคีสามารถปลูกกัญชาเพื่อทดลองวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้ จึงเกิดงานวิจัยต่าง ๆ มากมายที่ระบุผลการทดลองว่าสารต่าง ๆ ของกัญชาสามารถนำมาใช้ทางการแพทย์ได้ และมีตัวยารักษาโรคภัยไข้เจ็บที่มีสารต่าง ๆ ของกัญชาหลากหลายยี่ห้อใช้ในประเทศที่แก้ไขมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับกัญชาให้สามารถนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 7 (5) ถือว่ากัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 โดยมาตรา 57 บัญญัติห้ามนำยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 เข้าสู่ร่างกายไม่ว่าโดยวิธีใด และมาตรา 26 มีข้อยกเว้นผู้ผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 โดยรัฐมนตรีสาธารณสุขจะอนุญาตตามความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษเป็นราย ๆ ไป แต่กฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ก็ไม่มีการบัญญัติการขออนุญาตที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันการนำกัญชาไปใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด จึงทำให้ตัวยารักษาโรคภัยไข้เจ็บที่มีสารต่าง ๆ ของกัญชาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่สามารถนำมาใช้ในประเทศไทยได้ และตาราสมุนไพรในอดีตที่มีกัญชาผสมอยู่ไม่สามารถจดสิทธิบัตรตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 ได้ เนื่องจากกัญชาถือเป็นยาเสพติดให้โทษที่ไม่มีข้อยกเว้นให้ประชาชนนำเข้าสู่ร่างกายได้ ดังนั้นเพื่อให้สุขภาพของประชาชนชาวไทยดีกว่าปัจจุบันประกอบกับการหาแนวทางแก้ไขอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งของประชาชาวชาวไทยลดลง และให้สามารถนำตัวยารักษาโรคภัยไข้เจ็บที่มีสารต่าง ๆ ของกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ในประเทศไทยได้ รวมถึงสนับสนุนการปลูกกัญชาเพื่อทดลองทางการแพทย์ จึงเห็นว่าควรแก้ไขมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับกัญชาในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ดังต่อไปนี้ 1) แก้ไขกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 26 เพื่อป้องกันการนำมาใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด โดยแก้ไขให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การกำนดอายุผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับกัญชา หรือการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมขอผู้ที่จะมาทำงานในสถานที่ผลิตกัญชา หรือการกำหนดอายุผู้ที่ทำงานในสถานที่ผลิตกัญชา เป็นต้น 2) แก้ไขมาตรา 57 โดยบัญญัติมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับกัญชาโดยเฉพาะ เพื่อเพิ่มข้อยกเว้นให้ประชาชนสามารถนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์ได้ และเป็นการคุ้มครองตาราสมุนไพรในอดีตที่มีกัญชาผสมอยู่ให้สามารถจดสิทธิบัตร ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 เพื่อป้องกันชาวต่างชาตินำความรู้ที่ชาวไทยได้ค้นคว้ามาไปผลิตเป็นตัวยารักษาโรคภัยไข้เจ็บแล้วขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรก่อนประชาชนชาวไทย 3) ควรกำหนดปริมาณการครอบครองตัวยารักษาโรคภัยไข้เจ็บที่มีสารต่าง ๆ ของกัญชา เพื่อป้องกันบุคคลที่ได้รับอนุญาตนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ หรือแจกจ่ายให้บุคลที่ไม่ได้รับอนุญาต

Description:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

Subject(s):

กัญชา

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

129 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3957
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
b189996.pdf ( 5,189.10 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [98]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×