• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับคำนิยามและกฎหมายที่มีผลต่อการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

by สุรศักดิ์ มีบัว

Title:

ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับคำนิยามและกฎหมายที่มีผลต่อการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

Other title(s):

Legal problem relating to definitions and legislations affecting promotion of small and medium-sized enterprises (SMEs)

Author(s):

สุรศักดิ์ มีบัว

Advisor:

วริยา ล้ำเลิศ

Degree name:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2015

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วิทยานิพนธ์เรื่อง “ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับคำนิยามและกฎหมายที่มีผลต่อการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)” ผู้เขียนได้ทาการศึกษาการกำหนดคำนิยาม การแบ่ง ขนาดของวิสาหกิจ หลักเกณฑ์หรือองค์ประกอบ และบทบัญญัติกฎหมายที่มีผลต่อการส่งเสริม SMEs ของไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายของเกาหลีใต้ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ จากการศึกษา พบว่าในปัจจุบันคำนิยาม SMEs ของประเทศไทยตามพระราชบัญญัติส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2543 ยังมีปัญหาทางกฎหมายหลายประการ ได้แก่ การแบ่ง ขนาดของวิสาหกิจซึ่งไม่มีการแยกคำนิยามวิสาหกิจขนาดจิ๋ว (Micro Enterprises) ออกมาโดยเฉพาะ จากคำนิยามวิสาหกิจขนาดย่อม (Small Enterprises) ทำให้คำนิยามทั้งสองส่วนซ้ำซ้อนกัน ส่งผลให้ เกิดความไม่เสมอภาค เนื่องจากทำให้ผู้ประกอบการ SMEs และผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดจิ๋ว (Micro Enterprises) สามารถขอรับการส่งเสริมได้ในสัดส่วนเดียวกัน ทั้งๆ ที่การประกอบวิสาหกิจ ขนาดจิ๋ว (Micro Enterprises) นั้นมีข้อจำกัดในการดาเนินกิจการมากมาย การกาหนดหลักเกณฑ์ ของ SMEs ที่ยึดจำนวนการจ้างงานและมูลค่าสินทรัพย์ถาวรในทุกประเภทกิจการทำให้ไม่มีความ เหมาะสมและไม่สามารถสะท้อนความเป็น SMEs ได้อย่างเพียงพอ และคำนิยาม SMEs ที่กาหนด จำนวนการจ้างงานไว้ถึง 200 คน และกาหนดจำนวนมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไว้ถึง 200 ล้านบาท เป็น การกำหนดขอบเขตกว้างหรือสูงมากเกินไป ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าไม่ใช่การประกอบ SMEs แต่เป็นการ ประกอบธุรกิจของกลุ่มทุนหรือกลุ่มธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ซึ่งสามารถที่จะบริหารจัดการ และดูแลธุรกิจ ของตนได้เองอยู่แล้ว เนื่องจากมีศักยภาพสูงโดยภาครัฐไม่จำต้องให้ความช่วยเหลือแต่อย่างใด นอกจากนี้ บทบัญญัติกฎหมายที่มีผลต่อการส่งเสริม SMEs พบว่าไม่สามารถให้การช่วยเหลือวิสาหกิจ ดังกล่าวได้ตามวัตถุประสงค์ เนื่องจากยังไม่มีความละเอียดและครอบคลุมในทุกด้านอีกทั้งยังไม่มี เอกภาพมากนัก เพราะจะมีลักษณะที่กระจัดกระจายและสอดแทรกในกฎหมายอื่น ทำให้อาจเกิด ความสับสนและยากต่อการนำไปปฏิบัติ ทั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่าประการแรก ควรบัญญัติคำนิยามคำว่าวิสาหกิจขนาดจิ๋ว (Micro Enterprises) ออกมาโดยเฉพาะเพื่อความสะดวกในการจัดทำนโยบายและจัดตั้งสานักงานที่มีหน้าที่ โดยตรงในการช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดจิ๋ว (Micro Enterprises) ให้มีความครอบคลุมทุกด้าน ซึ่งคำ นิยามวิสาหกิจขนาดจิ๋ว (Micro Enterprises) เห็นว่าควรมีลักษณะดังนี้ “การประกอบวิสาหกิจใดๆ ซึ่งมีจำนวนการจ้างงานในประเภทกิจการผลิตไม่เกิน 10 คน หรือมีจำนวนการจ้างงานในประเภทกิจการค้าส่ง การค้าปลีก และกิจการให้บริการจำนวนไม่เกิน 5 คน ทั้งนี้ไม่ว่าการประกอบวิสาหกิจ ดังกล่าวจะมีการจดทะเบียนการค้าไว้หรือไม่” ประการที่สอง สาหรับหลักเกณฑ์ของ SMEs นั้นเห็น ว่ากิจการประเภทผลิตสินค้ายังคงใช้จำนวนการจ้างงานหรือจำนวนมูลค่าสินทรัพย์ถาวรเป็นตัวชี้วัด เหมือนเดิม แต่กิจการประเภทค้าส่ง ค้าปลีก และกิจการให้บริการควรยึดจำนวนการจ้างงาน และ รายได้ที่เกิดขึ้นมาแทนหลักเกณฑ์มูลค่าสินทรัพย์ถาวร เพราะกิจการดังกล่าวมีลักษณะเป็นการค้า การให้บริการซึ่งแสวงหาผลกาไรเป็นสำคัญ และไม่ใช่ประเภทอุตสาหกรรมหนักซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ ผลิตวัตถุดิบหรือวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก ประการที่สาม ควรลดจำนวนการจ้าง งานและมูลค่าสินทรัพย์ถาวรลงมาเพื่อให้มีความเหมาะสมตามสัดส่วนของวิสาหกิจ และประการ สุดท้าย ควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติกฎหมายที่มีผลต่อการส่งเสริม SMEs ของประเทศไทยให้มีความ ละเอียดและครอบคลุมในทุกด้านตั้งแต่การเริ่มต้นประกอบวิสากิจจนกระทั่งส่งเสริมให้ SMEs ก้าวสู่ ระดับสากลหรือระดับนานาชาติต่อไป ดังนั้น หากมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายตามที่ผู้เขียนได้เสนอไปก็จะส่งผลทำให้มาตรการใน การช่วยเหลือในทางปฏิบัติสามารถตอบสนองวิสาหกิจที่ประสบปัญหาและต้องการความช่วยเหลือได้ อย่างแท้จริง อีกทั้งเป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อม พ.ศ.2543 ที่ต้องการส่งเสริมโดยการกาหนดนโยบายตลอดจนมาตรการด้านสิทธิประโยชน์ต่างๆ แก่ผู้ประกอบการรายย่อยหรือที่มีขนาดเล็กๆ และมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อระบบเศรษฐกิจของ ประเทศให้สามารถแข่งขันกับกลุ่มทุนหรือกลุ่มธุรกิจที่ขนาดใหญ่ได้ ทำให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจ ขนาดจิ๋ว (Micro Enterprises) พัฒนาวิสาหกิจของตนให้มีความเข้มแข็ง เจริญเติบโตเป็นหน่วยธุรกิจ ที่มีขนาดใหญ่ และสามารถสร้างเม็ดเงินตลอดจนมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยต่อไป

Description:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

Subject(s):

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
SMEs

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

217 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3961
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b190065.pdf ( 2,366.77 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [163]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×