มาตรการทางกฎหมายเพื่อจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย
Publisher
Issued Date
2015
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
309 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b190072
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
พนารัตน์ มาศฉมาดล (2015). มาตรการทางกฎหมายเพื่อจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3971.
Title
มาตรการทางกฎหมายเพื่อจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย
Alternative Title(s)
Legal measures for the waste electrical and electronic equipment (WEEE) management in Thailand
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายของประเทศไทย และ
มาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศ ตลอดจนแนวคิด ทฤษฎีในการบริหารจัดการซากผลิตภัณฑ์
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และสภาพการจัดการขยะในปัจจุบันของประเทศไทย เพื่อนำข้อมูล
เหล่านั้นมาวิเคราะห์เพื่อสร้างต้นแบบของกฎหมายไทยที่ใช้ในเพื่อบริหารจัดการซากผลิตภัณฑ์
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นการเฉพาะ ตลอดจนการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่มีอยู่แล้วให้
สอดคล้องกับการบริหารจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
วิธีการศึกษาในครั้งนี้ เป็นการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ (Documentary Research) โดย
การศึกษาทฤษฎี แนวคิดต่าง ๆ ตลอดจนงานวิจัย และกฎหมายที่ใช้ในการจัดการซากผลิตภัณฑ์
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำมากำหนดกรอบแนวคิดหรือรูปแบบทางกฎหมายที่ใช้ในการ
จัดการกับปัญหาซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ผลการศึกษาพบว่า ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นขยะที่มีความ
แตกต่างจากขยะประเภทอื่น เนื่องจากสารประกอบของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นอาจมีสารอันตรายบาง
ชนิด เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม ดังนั้น การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
เหล่านี้จึงจำเป็นต้องดำเนินการตามหลักวิชาการและจำเป็นต้องมีบทบัญญัติทางกฎหมายที่ให้อำนาจ
ในการบริหารจัดการ ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเพื่อการดำเนินการกับซากผลิตภัณฑ์
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยตรง ดังนั้น จากการศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายทั้งในทาง
ระหว่างประเทศ และ มาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศ มักจะนำแนวความคิดในทาง
เศรษฐศาสตร์เข้ามาประยุกต์เพื่อใช้ในการจัดการทางสิ่งแวดล้อม โดยการสร้างมาตรการภายใต้หลักผู้
ก่อมลพิษควรเป็นมีส่วนร่วมในการจัดการทางสิ่งแวดล้อม (Polluter Pays Principle: PPP) ต่อมาได้
พัฒนามาเป็นหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility: EPR)
ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายประกอบกับหลักการจัดการทางสิ่งแวดล้อมแล้วพบว่า
ต้นแบบ/รูปแบบของกฎหมายในการบริหารจัดการกับซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ประกอบด้วย 1. การกำหนดประเภทของผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 2. การกำหนด
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการบริหารจัดการขยะ 3. การกำหนดหน้าที่อื่น ๆ โดยคำนึงจากวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 4. การกำหนดหน่วยงานหลักในภาครัฐที่ทาหน้าที่
รับผิดชอบดูแลการบริหารจัดการดังกล่าว เพราะปัญหาการบริหารจัดการดังกล่าวถือเป็นปัญหา
สาธารณะที่ภาครัฐต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ
ข้อเสนอแนะจากการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
แบ่งออกเป็น 5 มาตรการ คือ มาตรการที่ 1 การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในระยะสั้น ในระหว่างที่
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเพื่อบริหารจัดการกับซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็น
การเฉพาะ มาตรการที่ 2 การสร้างมาตรการทางกฎหมายเฉพาะเพื่อจัดการกับซากผลิตภัณฑ์
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการแก้ไขปัญหาในระยะยาว มาตรการที่ 3 มาตรการทาง
กฎหมายเพื่อส่งเสริมการดำเนินการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มาตรการ
ที่ 4 การลดหย่อนอัตราค่าธรรมเนียมสาหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมาตรการ
สุดท้าย คือ การสร้างฐานข้อมูลสนับสนุนการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
Table of contents
Description
ดุษฎีนิพนธ์ (น.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558