• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Dissertations
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Dissertations
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

LoginRegister

กฎหมายรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันของกลุ่มคนที่มีเพศวิถีแบบรักเพศเดียวกัน

by ณัฐวุฒิ ชัยสายัณห์

Title:

กฎหมายรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันของกลุ่มคนที่มีเพศวิถีแบบรักเพศเดียวกัน

Other title(s):

Same-sex certificated

Author(s):

ณัฐวุฒิ ชัยสายัณห์

Advisor:

ปิยะนุช โปตะวณิช

Degree name:

นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree level:

Doctoral

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2015

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

รัฐออกกฎหมายรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันให้แก่มนุษย์โดยนำเอาพฤติกรรมทาง เพศมาเป็นหลักการสำคัญ ซึ่งรัฐคำนึงถึงแต่เพียงเรื่องเพศสัมพันธ์ที่สืบพันธุ์ได้ และใช้แนวคิดดังกล่าว เป็นองค์ประกอบหลักในการออกกฎหมายรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันให้แก่ประชากร รัฐ ไม่ได้ยึดหลักการและแนวคิดในการรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันของมนุษย์โดยคำนึงถึง พฤติกรรมที่เกิดจากความรัก ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับมนุษย์ที่มีเพศสรีระที่ต่างกัน หรือมนุษย์ที่มีเพศ สรีระเดียวกัน การรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันของมนุษย์จึงจำเป็นต้องเกิดขึ้นกับทุกรูปแบบ ของความรัก เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นสิทธิโดยธรรมชาติ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐจะต้องให้การรับรอง ไม่ใช่รัฐให้สิทธิในการจดทะเบียนสมรสกันได้และเฉพาะรปู แบบความรกั ในรปู แบบน้เี พียงรูปแบบเดียว เท่านั้น หากแต่ความเป็นจริงนั้นรัฐต้องออกกฎหมายรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันให้แก่กลุ่ม คนที่มีเพศวิถีแบบรักเพศเดียวกันด้วยเช่นกัน รัฐไม่ได้นำแนวคิดที่มาจากทฤษฎีรูปแบบของการสมรส มาเป็นส่วนประกอบในการพิจารณาการออกกฎหมาย รัฐไม่เข้าใจว่ารูปแบบการสมรสตามเงื่อนไข ของธรรมชาตินั้นเป็นรูปแบบการสมรสที่แท้จริงในตัวอยู่แล้ว เพราะเป็นกฎของธรรมชาติ เป็นเรื่อง ระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์และมีวัตถุประสงค์เพื่อการสืบทอดเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ เพศจึงเป็น สาระสำคัญของการสมรสเฉพาะในรูปแบบนี้เท่านั้น ซึ่งมีความแตกต่างจากรูปแบบการสมรสตาม เงื่อนไขของรัฐ ที่เป็นเรื่องที่รัฐสามารถกำหนดเงื่อนไขในการรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ให้แก่มนุษย์ ขึ้นมาเองในรูปแบบของกฎหมาย โดยรัฐมีวัตถุประสงค์เพื่อรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันให้แก่ ประชาชนในรัฐ อันเป็นการได้มาซึ่งสิทธิประโยชน์ในฐานะคนที่รักกันและประสงค์จะใช้ชีวิตร่วมกัน และเป็นวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ให้แก่ประชากรตามความประสงค์ของรัฐอย่าง แท้จริง เพศจึงไม่ใช่สาระสำคัญของการสมรสในรูปแบบนี้ ถ้าหากรัฐมีแนวคิดในลักษณะเช่นนี้แล้ว รัฐ ก็จะออกกฎหมายรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันให้แก่ประชากรในรัฐ โดยคำนึงพฤติกรรมการ แสดงออกซึ่งความรัก ที่ไม่ได้นำเรื่องเพศสรีระมาเป็นองค์ประกอบหลักในการพิจารณา ทำให้เกิดเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมความรัก และเกิดความเสมอภาคแก่มนุษย์ทุกคนที่จะได้รับการ รับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่โดยชอบด้วยกฎหมายของรัฐอย่างเท่าเทียมกัน แต่หากศึกษาแล้วจะพบว่าลักษณะโดยทั่วไปของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว ที่มีสภาพที่เป็นกฎหมายที่สร้างขึ้นมาเพื่อความเป็นสามีและภริยา และโยงไปสู่ความ เป็นบิดามารดาและบุตรในภายภาคหน้าอันเป็นการเชื่อมโยงตามโครงสร้างทางกายภาพของตัวบท กฎหมาย หากมีการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับนี้ เพื่อให้สิทธิดังกล่าวเกิดขึ้นกับกลุ่ม คนที่มีเพศวิถีแบบรักเพศเดียวกันด้วยแล้วนั้น อาจเป็นการกระทบกระเทือนถึงรูปแบบและลักษณะ อันเป็นเจตนารมณ์ที่แท้จริงของผู้ที่ร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว ดังนั้น หากประเทศไทยต้องการที่จะออกกฎหมายรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันให้แก่คู่รักใน ทุกรูปแบบของความรัก โดยไม่คำนึงถึงเพศสรีระมาเป็นองค์ประกอบนั้น ควรออกกฎหมายแยก ต่างหากอีกฉบับเป็นเอกเทศ โดยกฎหมายที่จะบัญญัติขึ้นใหม่นั้นจะต้องมีลักษณะที่พระราชบัญญัติ บันทึกคู่ชีวิต เพื่อมิให้เป็นการกระทบกระเทือนต่อระบบกฎหมายครอบครัวของไทยที่มีอยู่แต่ก่อน แล้ว และไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงวัฒนธรรมและความเชื่อในเรื่องประเพณีการแต่งงานที่มีมา แต่เดิม การที่รัฐได้ให้การรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันให้แก่กลุ่มคนที่มีเพศวิถีแบบรักเพศ เดียวกันในลักษณะของการออกกฎหมายพิเศษอีกฉบับ แยกต่างหากจากประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวที่เป็นการจดทะเบียนสมรสของคู่รักที่มีเพศสภาพเป็นชายและ หญิง การใช้กฎหมายคนละฉบับเช่นนี้อาจต้องพบกับอุปสรรคในเรื่องของการตีความความหมายของ คำว่าคู่สมรสในบริบทของกฎหมายต่างๆ ว่าจะหมายความรวมถึงกลุ่มคนที่มีเพศวิถีแบบรักเพศ เดียวกันที่ได้รับการรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันด้วยหรือไม่ ซึ่งในประเด็นนี้จะต้องมีการ บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งในกฎหมาย โดยต้องให้คำจำกัดความและใส่นิยามความหมายของคำว่าคู่สมรสที่ อยู่ในบริบทของกฎหมายต่างๆ ว่าจะต้องมีความหมายรวมถึงคู่รักที่มีเพศสรีระเดียวกันที่ได้รับการ รับรองสถานะในทางกฎหมายด้วย จึงจะส่งผลให้การได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากกฎหมายเหล่านั้น คลอบคลุมถึงคู่รักที่มีเพศสรีระเดียวกันที่ได้รับการรับรองสถานะในทางกฎหมาย ประกอบกับสิทธิ และหน้าที่ของความเป็นคู่สมรสหรือความเป็นสามีภริยาที่มีความเกี่ยวพันกันนั้นต้องสามารถนำมา ปรับใช้ร่วมกันได้โดยอนุโลม กับกฎหมายรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันให้แก่กลุ่มคนที่มีเพศวิถี แบบรักเพศเดียวกัน และการนำมาปรับใช้ร่วมกันได้อย่างเหมาะสมนั้นก็จะต้องเกิดขึ้นได้ทั้งในทาง ทฤษฎีและในทางปฏิบัติที่ต้องอยู่ภายใต้เพศสภาพและความเป็นไปได้ในทางสรีระของผู้ที่ใช้กฎหมาย ด้วย

Description:

ดุษฎีนิพนธ์ (น.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

Subject(s):

รักร่วมเพศ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- การสมรส

Resource type:

ดุษฎีนิพนธ์

Extent:

516 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3974
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
b190075.pdf ( 3,273.54 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Dissertations [5]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×