Browsing GSLC: Theses by Title
Now showing items 26-32 of 32
-
การศึกษา การสื่อสารเพื่อจัดการความขัดแย้ง: วาทกรรม พื้นที่สาธารณะ ประชาธิปไตย กรณีศึกษา รายการเถียงให้รู้เรื่องทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารเพื่อจัดการความขัดแย้ง ที่ เกี่ยวข้องกับวาทกรรม พื้นที่สาธารณะ และประชาธิปไตย ผ่านการนำเสนอจากสื่อมวลชนในรูปแบบ ของรายการโทรทัศน์ กรณีศึกษา รายการเถียงให้รู้เรื่อง ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส งานวิจัยเก็บ ข้อมูลจากยูทูปโดยเลือกเก็บรายการ 5 ตอนที่มียอดชมสูงสุดและเป็นตัวแทนของประเด็นที่รายการนี้ มักจะนำเสนอเป็นหลักสามประเด็นได้แก่ เรื่องการเมือง สังคมและกฎหมาย การวิจัยครั้งนี้เป็นการ วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดำเนินการตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (Critical Discourse ... -
การศึกษาความเข้าใจความแตกต่างของไกโรโงะกับคำประเภทอื่นที่มีความหมายใกล้เคียงกันของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทย
(สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
การวจิยัครั้งนี้มีวตัถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจความแตกต่างของไกไรโงะกับคำ ประเภท อื่นที่มีความหมายใกล้เคียงกัน และศึกษาปัจจัยด้านความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นและปัจจัยด้าน ประสบการณ์การใช้ชีวิตในประเทศญี่ปุ่นว่ามีผลต่อการเลือกใช้ไกไรโงะกับ คำประเภทอื่นที่มี ความหมายใกลเ้คียงกนัของผเู้รียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยหรือไม่อย่างไร โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 2กลุ่มคือ กลุ่ม A เป็นกลุ่มผู้ที่มีผลการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นระดับ N2จำนวน 30คน และกลุ่ม B เป็นกลุ่ม ผู้ที่มีผลการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นระดับ N3จำนวน 34 คน รวม 64คน ซึ่งเป็นกลุ่มตวัอย่างที่สุ่ม มาจากนักศึก ... -
การสื่อสารสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขในกรณีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010);
การศึกษาเรื่อง การสื่อสารสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขกรณีการระบาดของโรค ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 มีวัตถุ ประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการข้อมูลข่าวสารเพื่อการสื่อสาร สุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข และเพื่อศึกษารูปแบบการสื่ อสารสุขภาพการกําหนดประเด็น เนื้อหา วิธีการ ช่องทางการสื่อสาร และกลุ่มเป้าหมาย ของกระทรวงสาธารณสุขในกรณีการ ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม 2009 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกบุคคลผูดําเนินการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจํานวน 10 คน และการศึกษาเอกสาร (Documentary Analysis) ... -
ความเข้าใจในเนื้อหาภาษาที่สองผ่านสื่อการเรียนรู้มัลติมีเดีย:กรณีศึกษา Redundancy Principle และ Modality Principle ในสื่อมัลติมีเดียภาษาญี่ปุ่น
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพิสูจน์กฎการสร้างสื่อมัลติมีเดีย Redundancy Principle และ Modality Principle ของ Richard E. Mayer ในกรณีที่สื่อมัลติมีเดียนำเสนอเนื้อหาด้วยภาษาญี่ปุ่น และผู้รับชมสื่อเป็นชาวไทยผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่สอง ดำเนินการวิจัยโดยการแบ่งกลุ่มตัวอย่างจำนวน 120 คนออกเป็นกลุ่ม PT กลุ่ม PN และกลุ่ม PNT กลุ่มละ 40 คน โดยแต่ละกลุ่มประกอบด้วยผู้เรียนชาวไทยผู้มีความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นในระดับ N2 และ N3 ตามผลการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น (JLPT) อย่างละ 20 คน กลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มจะได้รับชมสื่อมัลติมีเดียภาษาญี่ปุ่นที่มีเนื้อหาเหมือนกัน ... -
ทฤษฎีพื้นฐานและสถานภาพการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมในวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ของประเทศไทย (2541-2555)
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013);
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทฤษฎีพื้นฐานจากแนวทางการศึกษาและอธิบายสถานภาพการศึกษาการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ในงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาของประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้ได้นำบทความเรื่อง “การสร้างแบบจำลองการสื่อสารระหว่างบุคคลจากการวิเคราะห์ด้วยมุมมองทางทฤษฎีพื้นฐาน” (Stamp, 1999) มาเป็นต้นแบบในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ วิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาด้านการสื่อสาร CSR ที่จัดทำขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2541-2555 จำนวน 94 ฉบับ งานวิจัยฉบับนีมี้คำถามนำวิจัย 2 ประเด็น ได้แก่ 1) ในช่วงปี พ.ศ. 2541-2555 มีการศึกษาการสื่อสารคว ... -
บทบาททางเพศของผู้หญิงในภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ของประเทศญี่ปุ่น: วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020);
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาบทบาททางเพศของผู้หญิงในตัวบท (Text) ทั้งวัจนภาษา (Verbal Text) และตัวบททางสายตา (Visual Text) ที่ถูกนำเสนอในภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ของประเทศญี่ปุ่นทั้งก่อนและหลังจากที่นายชินโซะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเข้ามาบริหารงาน รวมทั้งเพื่อศึกษาว่าสื่อโฆษณามีแนวทางในการนำเสนอบทบาททางเพศของผู้หญิงอย่างไร ในช่วงที่รัฐบาลได้ประกาศและผลักดันนโยบาย “Womenomics” อันเป็นนโยบายที่แสดงความคาดหวังของภาครัฐต่อผู้หญิงญี่ปุ่นในปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่าก่อนการเข้ามาบริหารงานของนายชินโซะ อาเบะ ปรากฏบทบาททางเพศคือ (1) ผู้หญิงดูแ ... -
เนื้อสารของโฆษณาสื่อสิ่งพิมพ์ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้สูงอายุ และความหมายของ "สุขภาพ"
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013);
การวิจัยนี้มีคำถามนำวิจัย 2 ประเด็นดังนี้ 1) เนื้อสารในโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้สูงอายุมีการโน้มน้าวใจอย่างไร (ตามทฤษฎีการคิดขยายรายละเอียด (Elaborate Likelihood Model) และ 2) การให้ความหมายของคำว่าสุขภาพในโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้สูงอายุนั้นเป็นอย่างไร และเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประเภทการวิจัยชั้นสำรวจ (Exploratory Research) โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้1) การวิเคราะห์ตัวบท (Text Analysis) ประกอบด้วยเนื้อสารโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้สูงอายุในสื่อสิ่งพิมพ์จำนวน 30 ชิ้น และ 2) ...