Browsing GSLC: Theses by Author "เตวิช เสวตไอยาราม"
Now showing items 1-3 of 3
-
กลวิธีการแปลคำว่า "ต้อง" เป็นภาษาญี่ปุ่น และ"なければならない" เป็นภาษาไทย
กรรณิกา จิตรโสภา; เตวิช เสวตไอยาราม (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการแปล “ต้อง” และ なければならない ผ่านวรรณกรรมแปลไทย-ญี่ปุ่น จำนวน 5 เรื่องและวรรณกรรมแปลญี่ปุ่น-ไทย จำนวน 5 เรื่อง จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทัศนภาวะหรือมาลา (Modality) (เช่น Nitta, 1991; Masuoka, 2007; พรทิพย์, 2515; ไพทยา, 2540) พบว่า “ต้อง”ประกอบด้วย 4 ความหมาย ได้แก่ (1) หน้าที่และความจำเป็น (2) ความเชื่อแน่และการคาดคะเน (3) การบังคับ ขอร้อง ห้าม แนะนำ ตักเตือน และ (4) ความตั้งใจ ในขณะที่ なければならないประกอบด้วย 5 ความหมาย ได้แก่ (1) หน้าที่และความจำเป็น (2) ความเชื่อแน่และการคาดคะเน (3) การบังคับ ขอร้อง ... -
ความเข้าใจในเนื้อหาภาษาที่สองผ่านสื่อการเรียนรู้มัลติมีเดีย:กรณีศึกษา Redundancy Principle และ Modality Principle ในสื่อมัลติมีเดียภาษาญี่ปุ่น
ณัฐญา ห่านรัตนสกุล; เตวิช เสวตไอยาราม (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพิสูจน์กฎการสร้างสื่อมัลติมีเดีย Redundancy Principle และ Modality Principle ของ Richard E. Mayer ในกรณีที่สื่อมัลติมีเดียนำเสนอเนื้อหาด้วยภาษาญี่ปุ่น และผู้รับชมสื่อเป็นชาวไทยผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่สอง ดำเนินการวิจัยโดยการแบ่งกลุ่มตัวอย่างจำนวน 120 คนออกเป็นกลุ่ม PT กลุ่ม PN และกลุ่ม PNT กลุ่มละ 40 คน โดยแต่ละกลุ่มประกอบด้วยผู้เรียนชาวไทยผู้มีความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นในระดับ N2 และ N3 ตามผลการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น (JLPT) อย่างละ 20 คน กลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มจะได้รับชมสื่อมัลติมีเดียภาษาญี่ปุ่นที่มีเนื้อหาเหมือนกัน ... -
บทบาททางเพศของผู้หญิงในภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ของประเทศญี่ปุ่น: วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์
จิรวัสน์ จันทร์นวล; เตวิช เสวตไอยาราม (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020)
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาบทบาททางเพศของผู้หญิงในตัวบท (Text) ทั้งวัจนภาษา (Verbal Text) และตัวบททางสายตา (Visual Text) ที่ถูกนำเสนอในภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ของประเทศญี่ปุ่นทั้งก่อนและหลังจากที่นายชินโซะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเข้ามาบริหารงาน รวมทั้งเพื่อศึกษาว่าสื่อโฆษณามีแนวทางในการนำเสนอบทบาททางเพศของผู้หญิงอย่างไร ในช่วงที่รัฐบาลได้ประกาศและผลักดันนโยบาย “Womenomics” อันเป็นนโยบายที่แสดงความคาดหวังของภาครัฐต่อผู้หญิงญี่ปุ่นในปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่าก่อนการเข้ามาบริหารงานของนายชินโซะ อาเบะ ปรากฏบทบาททางเพศคือ (1) ผู้หญิงดูแ ...